cmxseed สังคมราตรี

หมวดหมู่ทั่วไป => สัพเพเหระ => หัวข้อที่ตั้งโดย: generacity1 เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015, 10:47:37

ชื่อ: ฮือฮา นักวิจัย ม.มหาสารคามค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก
โดย: generacity1 เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2015, 10:47:37
นักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคามและทีมวิจัยจากส่วนงานที่เกี่ยวข้องสุดเจ๋ง จัดแถลงการณ์ค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ของโลกกว่า 52 ชนิด และ 1 สกุล หลังทุ่มวิจัยกว่า 7 ปีระหว่าง พ.ศ. 2551-57 พบทั้งแมลงริ้นดำ ไรน้ำ ขิงชนิดใหม่ ไลเคนส์

9 ม.ค. 58 ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการจัดแถลงข่าวการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก โดยมีนายปัญญา ถนอมรอด นายกสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และรองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต รักษาราชการแทนอธิการบดี (http://www.northbkk.ac.th/administrator.php)มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมด้วยทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประกอบด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ประมวล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับ ผศ.ดร.อุบล ตังควานิช มหาวิทยาลัยขอนแก่น ค้นพบแมลงริ้นดำชนิดใหม่ของโลก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุคนธ์ทิพย์ เศวตนลินทล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบไรน้ำกลุ่มออสตราคอดชนิดใหม่ของโลก 4 ชนิด, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ ร่วมกับอาจารย์ ดร.ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ จากภาควิชาชีววิทยา คณะ (http://www.northbkk.ac.th/ba)วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบหอยทากบกสปีชีส์ใหม่ของโลกคือ หอยทากภูพานเปลือกร่อง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพล แสนสุข สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มหาวิทยาลัย (http://www.northbkk.ac.th)มหาสารคาม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร แสนสุข ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบพืชวงศ์ขิงชนิดใหม่ของโลก, ดร.วรรณชัย ชาแท่น ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบชนิดพืชใหม่ของโลก เถากระไดลิง หรือเสี้ยวภูลังกา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญเรือน บุตรสาทร พาป้อง ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ค้นพบไลเคนส์ชนิดใหม่ของโลกจำนวน 44 ชนิด

ทั้งนี้ นักวิจัยดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากทั้งภายในมหาวิทยาลัย และทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสภาวิจัย (http://www.northbkk.ac.th/research)แห่งชาติ โดยได้ทุนการศึกษาวิจัยเป็นเวลา 7 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2551-2557 จนค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกกว่า 52 ชนิด และ 1 สกุลดังกล่าว

ด้าน รศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า ทรัพยากรชีวภาพเป็นสมบัติที่ล้ำค่าของประเทศไทย การศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นการศึกษาวิจัยระดับพื้นฐานที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ด้านต่างๆ ของทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ ในอนาคต เช่น การพัฒนาสิ่งมีชีวิตเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการเกษตร การสกัดสารสำคัญเพื่อประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ อาหาร

รวมถึงการประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจัดงานแถลงข่าวในครั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานและสังคมภายนอกได้รับทราบถึงความสำเร็จของนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่สามารถค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างยิ่งต่อไปในอนาคต

(http://mpics.manager.co.th/pics/Images/558000001652101.JPEG)