(http://www.disthai.com/images/content/original-1494570364741.png)ถิ่นกำเนิดกระชายดำ กระชายดำ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบเจอได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมี
การปลูกกระชายดำมากในจังหวัดเลย ตาก กาญจนบุรี และจังหวัดอื่นๆ ทางภาคเหนือ
ลักษณะทั่วไปกระชายดำ กระชายดำ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีมีเหง้าอยู่ใต้ดินโดยในแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้
- เหง้ากระชายดำ นั้นมีรูปร่างเป็นรูปทรงกลม เป็นปุ่มป่นเรียงต่อกัน และมักมีขนาดเท่าๆ กัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาบเข้ม และอาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในชองเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และมีรสขมเล็กน้อย โดยกระชายดำที่ดีนั้นจะต้องมีสีม่วงเข้มถึงสีดำ
- ใบกระชายดำ มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นเป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร และขนาดประมาณ 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิว ในเป็นร่องคลื่นตลอดใบตามแนวของเส้นใบ ใบมีสีเขียวสด ส่วนขนาดโคนก้านใบมีรูปร่างเป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ บริเวณก้านใบมีสีแดงตลอดความยาวของก้าน ส่วนกลางก้านเป็นร่องลึก
- ดอกกระชายดำ ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกมีความยาวป ระมาณ 5 – 6 เซนติเมตร กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3 - 3.2 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็นแฉก เกสรตัวผู้เป็นหมัน มีสีขาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาด มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10 -13 มิลลิเมตร บริเวณกลีบปลายมีสีม่วง
การศึกษาการะชายดำทางพิษวิทยา
การศึกษาค้นคว้าพิษเรื้อรังระยะเวลา 6 เดือน ของผงกระชายดำในหนูขาว ในขนาด 20 , 200 , 1000 และ 2000 มก/กก./วัน เทียบกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำ พบว่า หนูที่ได้รับกระชายดำทุกกลุ่มมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อาการและสุขภาพไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมหนูที่ได้รับกระชายดำขนาด 2000 มก/กก. มีน้ำหนักสัมพันธ์ของตับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ อาจเนื่องจากมีน้ำหนักตัวที่ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และมีเม็ดเลือดขาวอิโอสิฟิสที่ได้รับกระชายดำ 2000 มก./กก. มีระดับซีรั่มโซเดียมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญแต่ยังอยู่ในช่วงค่าปกติ ผลการตรวจอวัยวะทางจุลพยาธิวิทยานั้นพบเจอการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าเกิดความเป็นพิษของกระชายดำ (ทรงพล ชีวะพัฒน์, ณุฉัตรา จันทร์สุวาณิชย์, ปราณี ชวลิตธำรง และคณะ.2547)
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : ลักษณะของกระชายดำ (http://www.disthai.com/16484907/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B3)
Tags : สมุนไพรกระชายดำ,การขยายพันธุ์กระชายดำ
ความรู้เกี่ยวกับกระชายดำมากมายและถิ่นกำเนิดวิธีการปลุกกระชายดำ(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%B311.jpg)