(http://www.disthai.com/images/content/original-1492676601617.jpg)ถิ่นกำเนิดส้มเเขก ส้มแขกมีถิ่นกำเนิดใน อินเดีย ศรีลังกา และสามารถพบได้ทั่วไปในป่าประเภทร้อนชื่น ในประเทศไทยก็เป็นพืชพื้นบ้านดั้งเดิมของไทย พบมากทางภาคใต้ โดยเฉพาะ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ลงไปถึงสิงคโปร์ ส่วนที่เรียกกันทั่วไปว่า ส้มแขก เป็นเพราะอาหารอินเดียและมาเลเซียหลายชนิด เช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น จะใช้ส้มแขกประกอบอาหารแทนมะชามเปียก ก็เลยเรียกติดปากกันว่าส้มแขก ที่จริงส้มแขกสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่คงเป็นเพราะทางภาคใต้รู้จักที่จะนำส้มแขกมาประกอบอาหารกันมาก ก็เลยปลูกกันมากกว่าที่อื่น
ส้มแขกมีอยู่ 2 ชนิด คือ- ชนิดที่ 1 พบมากในประเทศไทย คือ Garcinia atroviridis Griff. Ex T. Anderson
- ชนิดที่ 2 พบมากในอินเดีย คือ Garcinia cambogia
ลักษณะทั่วไปของส้มเเขก
- ต้นส้มแขก ลักษณะของต้นส้มแขก เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มกว้างสูงประมาณ 5 – 14 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง ลักษณะของเปลือกต้น หากเป็นต้นอ่อนจะมีสีเขียว หากแก่แล้วจะมีสีน้ำตาลอมดำ เมื่อลำต้นเป็นแผลจะมียางสีเหลืองออกมา
- ใบส้มแขก เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ ใบใหญ่ผิวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขอบในเรียบ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 – 5 เซนติเมตร โดยใบแห้งจะมีสีน้ำตาล
- ดอกส้มแขก ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกมีสีเขียว มีเกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวแทงออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอก
- ผลส้มแขก ลักษณะของผลส้มแขก เป็นผลเดี่ยวคล้ายฟักทองขนาดเล็ก ผิวเรียบสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่ มีขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล มีประมาณ 8 – 10 ร่อง ที่ขั้วมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้น ๆ ละ 4 กลีบ เนื้อแข็ง มีรสเปรี้ยวจัด ในผลมีเมล็ดแข็ง 2 – 3 เมล็ด ผลส้มแขกมีรสเปรี้ยวนิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มเนื้อ ต้มปลา เพื่อให้มีรสเปรี้ยว หรือใช้ทำน้ำแกงขนมจีน ทำเป็นเครื่องลดความอ้วน โดยการรับประทานส้มแขกในระยะแรกอาจจะทำให้รู้สึกหิวบ่อยมากขึ้น เนื่องจากไปเร่งระบบการเผาผลาญอาหาร โดยร่างกายจะค่อย ๆ ปรับตัวไปเอง ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 – 2 อาทิตย์ ระหว่างนี้ก็ให้ดื่มน้ำมากๆ หากรับประทานไปนาน ๆ ก็จะช่วยลดความอยากอาหารทำให้รู้สึกไม่หิวได้ และเมื่อหยุดรับประทานส้มแขกร่างกายจึงไม่กลับมาอ้วนอีกแน่นอน และที่สำคัญก็คือไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างแน่นอน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประเมินผลและพบว่า ไม่มีการเปลี่ยนหน้าที่ของตับและไต รวมไปถึงระดับน้ำตาลในเลือดและความดันเลือดก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นกัน
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : ลูกส้มเเขก (http://www.disthai.com/16488242/%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B8%81)