(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/content/original-1494507722445.jpg)ถิ่นกำเนิด เถาวัลย์เปรียงเป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นของประเทศไทย พบได้ทุกภาคของประเทศไทย พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นเองตามชายป่าและที่โล่งทั่วไป เป็นพรรณไม้ที่มีมากที่สุดในประเทศไทยและใช้กันทุกจังหวัด
ลักษณะทั่วไป เถาวัลย์เปรียงเป็นไม้เถาขนาดใหญ่ เถามักจะบิดเนื้อไม้สีมีวงเข้ม ซึ่งมี 2 ประเภท คือชนิดแดง (เนื้อสีแดงวงสีแดงเข้ม) และชนิดขาว (เนื้อออกสีนํ้าตาลอ่อนๆ วงสีนํ้าตาลไหม้)
- ต้นเถาวัลย์เปรียง จัดเป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ อาจเลื้อยไปได้ไกลถึง 20 เมตร มีกิ่งเหนียวและทนทาน กิ่งแตกเถายืดยาวอย่างรวดเร็ว เถามักเลื้อยพาดพันตามต้นไม้ใหญ่ เถาแก่มีเนื้อไม้แข็ง เปลือกเถาเรียบและเหนียว เป็นสีน้ำตาลเข้มอมสีดำหรือแดง เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้เป็นสีออกน้ำตาลอ่อน ๆ มีวงเป็นสีน้ำตาลไหม้ คล้ายกับเถาต้นแดง (เนื้อไม้มีรสเฝื่อนและเอียน) ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
- ใบเถาวัลย์เปรียง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อย 4-8 ใบ ชนิดของใบย่อยเป็นรูปรี ปลายใบเป็นรูปหอก โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.25 ซม. และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบเรียบ
- ดอกเถาวัลย์ (http://www.disthai.com/)[/url]เปรียง[/i] ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ช่อดอกเป็นสีขาวห้อยลง ดอกเป็นสีขาวอมสีม่วงอ่อนคล้ายกับดอกถั่ว กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีขนาดไม่เท่ากัน สวนกลีบเลี้ยงดอกมี ซม. เป็นรูปถ้วย สีม่วงแดง
- ผลเถาวัลย์เปรียง ออกผลเป็นฝักแบน โคนฝักและปลายฝักมน ฝักเมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 1-4 เมล็ด
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบดินเหนียวไม่ชอบดินทราย ชอบสภาพชื้นแต่ไม่แฉะ
การปลูกและการดูแลรักษา
- ใช้เมล็ดแก่ที่มีสีนํ้าตาล (เมล็ดแก่ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์) แกะเปลือกนอกของเมล็ดออก นำ ไป เพาะปลูกในถุงชำ ถุงละ 2-3 เมล็ด รดนํ้าให้ชุ่ม
- เมื่อตัดต้นสูงประมาณ 1 คืบ นำ ลง ขยายพันธุ์ในหลุมที่เตรียมไว้ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ถ้าหากไม่เพาะลงถุงจะ ขยายพันธุ์ตรงจุดที่ต้องการเลยก็ได้ พร้อมทำ ซุ้มบริเวณที่ ขยายพันธุ์ เถาวัลย์เปรียงได้เลื้อยเกาะด้วย
การเก็บเกี่ยว
- เริ่มเก็บเกี่ยวได้ เมื่ออายุ 3-5 ปี
- เลือกเถาแก่ซึ่งจะมีสีเทา และมีจุดคล้ายเกล็ดสีขาวๆ เถามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ขึ้นไป
- ตัดให้เหลือเถาไว้ 1-2 ศอก เพื่อให้แตกขึ้นใหม่ ตัดได้ประมาณ 2 ปีต่อครั้ง
- นำ เถามาสับเป็นแว่นๆ หนาประมาณ 1 ซม. ตากแดด 3-5 วัน หรืออบให้แห้ง
องค์ประกอบทางเคมี ที่พบในเถาและรากเถาวัลย์เปรียง ได้แก่ chandalone, etunaagarone, nalanin, lonchocarpenin, osajin, robustic acid, scandenin, scandione, , scandinone, waragalone, wighteone
สารกลุ่ม isoflavone glycoside ได้แก่ eturunagarone, 4,4'-di-O-methylscandenin, lupinisol A, 5,7,4'-trihydroxy-6,8-diprenylisoflavone, 5,7,4'-trihydroxy-6,3'-diprenylisoflavone, erysenegalensein E, derrisisoflavone A-F, scandinone, lupiniisoflavone G, lupalbigenin, derrisscandenoside A-E, 7,8-dihydroxy-4'-methoxy isoflavone, 8-hydroxy-4',7-dimethoxy isoflavone-8-O-b-glucopyranoside, 7-hydroxy-4',8-dimethoxy isoflavone-7-O-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-beta-glucopyranoside, diadzein-7-O-[α-rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, formononetin-7-O-α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside, derrisscanosides A-B, genistein-7-O-[α- rhamnopyranosyl-(1,6)]-beta-glucopyranoside
สารกลุ่มคูมาริน ได้แก่ 3-aryl-4-hydroxycoumarins สารกลุ่มสเตียรอยด์ได้แก่ lupeol, taraxerol, b-sitosterol สารอื่นๆ เช่น 4-hydroxy-3-methoxy benzoic acid, 4-hydroxy-3,5-dimethoxy benzoic acid
สรรพคุณ
ตามตำราไทยว่าทำให้เส้นเอ็นอ่อนลง แก้เส้นเอ็นพิการ และแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ซึ่งชาวบ้านนำมาใช้เป็นยา รักษา ลดอาการปวดเมื่อยร่างกายมานานแล้ว
ตำรายาพื้นบ้าน: ใช้เถา ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้หวัด ใช้เถาคั่วไฟให้หอมชงน้ำกินแก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้เมื่อยขบในร่างกาย แก้กระษัยเหน็บชา ต้ม ทานถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย แก้เส้นเอ็นขอด ถ่ายเสมหะ ไม่ถ่ายอุจจาระ เหมาะที่จะใช้ในโรคบิด ไอ หวัด ใช้ในเด็กได้ดี แก้ปวด แก้ไข้ ทำให้เส้นเอ็นอ่อนลง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ บางตำรากล่าวว่าทำให้มีกำลังดีแข็งแรงสู้ไม่ถอย
- เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในสูตรยาอบสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมจากสูตรยาอบสมุนไพรหลัก เมื่อต้องการอบเพื่อ รักษาอาการปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว เป็นต้น
- เถามีรสเฝื่อนเอียน ใช้ต้ม กินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะไม่ปกติ แก้ปัสสาวะกระปริบกะปรอย ส่วนรากมีรสเฝื่อนเอียนมี คุณสมบัติเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน (เถา,ราก)และยังมีข้อมูลระบุว่าการใช้สมุนไพร อย่างนี้จะทำให้ปัสสาวะได้บ่อยกว่าปกติ จึงอาจเป็น สรรพคุณต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโตด้วย
- คนโบราณจะ ชอบใช้เถาของเถาวัลย์เปรียงเพื่อเป็นยา เยียวยาอาการตกขาวของสตรี (อาการตกขาว ชนิดที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีอาการคัน ไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียว) (เถา)
- เถามี คุณสมบัติในการบีบมดลูก (เถา)
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/content/original-1494507722445.jpg)