(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/content/original-1492671107597.jpg)
"แปะก๊วย" หากรู้จักใช้มีคุณอนันต์
แปะก๊วย ในเชิงสมุนไพร เป็นที่ยอมรับจากวงการแพทย์ทั่วโลกแล้วว่า มีสรรพคุณมากมาย ในการใช้รักษาและบำบัดอาการต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งใบของแปะก๊วยนั้นพบสาระสำคัญที่ช่วยป้องกันและรักษาโรคต่างๆ เช่น สารกลุ่ม flavonoids มีฤทธิ์ต้านการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมะเร็ง และช่วยชะลอวัยและโรคที่เกิดจาการเสื่อมของวัย สาร biloalides ป้องกันโรคความจำเสื่อม สมองฝ่อ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดี และสารกลุ่ม ginkgolides ป้องกันโรคความจำเสื่อม เพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่สมอง และปลายประสาทต่างๆ ป้องกันอาการหลงลืมในผู้สูงวัยหรืออัลไซเมอร์ ในปี 1994 มีการทดลองให้แปะก๊วยกับผู้ป่วยอัลไซเมอร์พบว่า มีความจำและมีสมาธิดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ส่วนเมล็ดแปะก๊วย ที่เรานำมาทำอาหารต่างๆ ทั้งของคาวและหวานนั้นก็มีสรรพคุณทางยาอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยในเมล็ดของแปะก๊วยแล้ว ปรากฏว่า มีสรรพคุณดังนี้ ลดระดับคลอเรสตอรอล พบว่าไขมันในเมล็ดแปะก๊วยมีฤทธิ์ลดระดับคลอเรสตอรอลในตับได้ ป้องกันมะเร็ง ในเมล็ดของแปะก๊วยมีการสะสมของสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มาก แม้จะโดนความร้อน สารเหล่านี้ก็ยังคงอยู่มากหากเทียบกับสมุนไพรชนิดอื่น เช่น ขมิ้น ดีปลี ฯลฯ นอกจากนี้เมล็ดแปะก๊วยยังมีวิตามินและแร่ธาตุหลายตัวในปริมาณที่สูง และยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำอีกด้วย (แต่ถ้าบริโภคในปริมาณมากอาจมีผลข้างเคียงได้) ส่วนสารสกัดของแปะก๊วย ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดในสมองดีขึ้น บรรเทาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยการช่วยให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะเพศได้ดีขึ้น มีรายงานจากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า เมื่อรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย ติดต่อกัน 6 เดือน จะช่วยให้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศดีขึ้นถึง 50 % บรรเทาอาการของโรคพากินสัน สารสกัดของใบแปะก๊วยนั้นเข้าไปเพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง ทำให้มีการผลิตฮอร์โมนโดปามีนอย่างเพียงพอ ที่จะนำส่วนไปยังอวัยวะต่างๆ จึงทำให้การสั่น ในโรคทากินสันนั้นลดลง แต่ใช่ว่าแปะก๊วยจะมีแต่ประโยชน์เท่านั้น มีข้อควรระวังในการใช้อยู่เหมือนกันกล่าวคือ ผู้ที่ใช้ยา Warfarin, Aspirin, Ibruprofen และสารป้องกันการเกิดลิ่มเลือดไม่ควรรับประทานแปะก๊วย เพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแตกได้ง่าย รวมถึงผู้ป่วยโรคความดันสูงและความดันต่ำ ก็ไม่ควรใช้แปะก๊วย รวมถึงผู้ที่ต้องได้รับการผ่าตัดควรหลีกเลียงการบริโภคสารสกัดแปะก๊วยก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเลือดแข็งตัวช้า
ดังนั้นหากรู้จักใช้แปะก๊วยก็เป็นสมุนไพรที่มีคุณอนันต์ แต่ในบทความหน้าเราจะมาพูดถึง โทษมหันต์หากเลือกใช้ไม่ดี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : เเปะก๊วย (http://www.disthai.com/16484913/%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A2)
Tags : สมุนไพรเเปะก๊วย
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A22.jpg)
แปะก๊วย จำไว้ให้ดี
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A22.jpg)
แปะก๊วย อัพเดท
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A22.jpg)
แปะก๊วยหรือกองโก๊ะ อันเดียวกันนะ จำไว้ให้ดี
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A22.jpg)
แปะก๊วย อัพเดท
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A22.jpg)
แปะก๊วย อัพเดท
(https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A22.jpg)
แปะก๊วย อัพเดท