ช๊อค!! แอปเปิ้ลจดสิทธิบัตร Multi-touch สำเร็จ!!
(http://tech.mthai.com/wp-content/uploads/2011/06/LCD_Multi_Touch_Screen_Display_System_Multitouch.jpg)
หลังจากเฝ้าดำเนินการเพื่อให้ได้ สิทธิบัตร ระบบ Multi-touch มาเนิ่นนาน ประวัติศาสตร์เทคโนโลยี
และสารพัดค่ายผู้ผลิต ต้องจดจำไปจนวันตายว่า ระบบ "Multi-touch" เป็นเทคโนโลยีของแอปเปิ้ล
ตามประกาศอย่างเป็นทางการของ USPTO (United States Patent and Trademark Office)
ซึ่ง ณ จุดนี้ สมาร์ทโฟนระบบทัชสกรีนแทบทุกเครื่องต้องมี Multi-touch เป็นฟีเจอร์ เบสิกพิ้นฐาน
และคำถามที่ผู้ผลิตทั่วโลกกำลังวิตก ก็คือ แอปเปิ้ลจะเปิดฉากฟ้องละเมิดสิทธิบัตรไหม? เมื่อไหร่?
(http://tech.mthai.com/wp-content/uploads/2011/06/3233710827_34294f21b1.jpg)
แอปเปิ้ลต้องสูญเงินไปหลายเพื่อ จ่ายค่าสิทธิบัตรเทคโนโลยี ให้กับโนเกีย ซึ่งวันนี้ิอาจเป็นจุดเริ่มต้นการประกาศเอาคืน
หรือหากมองอีกมุมหนึ่งจะเป็นการเตือน ผู้ผลิตรายอื่นให้ปรับเปลี่ยนระบบมัลติทัช ฟีเจอร์หลัก ในสมาร์ทโฟนของตัวเอง
ในที่นี้ไม่ใช่การรื้อมัลติทัช ออกแบบหมดยวง เนื่องจากสิทธิบัตรตัวที่แอปเปิ้ลได้มานี้เป็น U.S. 7,966,578
(http://tech.mthai.com/wp-content/uploads/2011/06/pocketguitar.jpg)
ซึ่งมีความหมายในทางปฎิบัติการใช้งาน Multi-touch ไม่ครอบคลุมทั้งหมด กล่าวคือ เมื่อครั้ง iPhone รุ่นแรก
พามัลติทัชมาสู่สายตาชาวโลก ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาจะหมายความถึง ความสามาถในการสัมผัสหน้าจอเพื่อย่อหรือขยายรูปภาพ
ด้วยการใช้งานสองนิ้ว, การหมุนภาพด้วยปลายนิ้ว รวมทั้ง การ ใช้นิ้วมือลากไปมา
(http://tech.mthai.com/wp-content/uploads/2011/06/6-22-2011applepatent.jpg)
โดยหากยึดตามสิทธิบัตรจะ ได้แก่ การใช้ 1 นิ้วสำหรับเลื่อนทั้งหน้า และใช้ 2 นิ้วได้ เมื่ออุปกรณ์ตรวจพบเนื้อหาในเฟรมบนหน้านั้น
ที่สามารถแปลงไปใช้ Multi-touch โดยไม่กระทบกับเนื้อหาอื่นบนหน้าเว็บ นั่นคือคุณสามารถใช้นิ้ว 2 นิ้ว เพื่อ pinch-to-zoom
สำหรับ Google Maps บนเว็บได้ (เช่น บน Safari) ดูที่วิดีโอข้างล่างประกอบ
http://www.youtube.com/v/lxGpoc5HRYc?version=3&hl=th_TH
ในเมื่อใช้เทคนิคมัลติทัชไม่ได้เหมือนเคย ต้องมาดูว่าค่ายอื่นจะแก้เกมเปลี่ยนการทัชไปเป็นแบบไหน
แล้วหากไม่ให้ใช้คำว่า Multi-touch แล้วจะให้ใช้คำว่าอะไร Many-touch , Everything-touch,
Jobs – touch หรืออย่างไร? ต้องคอยดูกันต่อไป เอวัง!!
cradit : Mthai
อ่านแล้วก็ยังงงๆ อยู่นิดๆ
ของแบบนี้จดสิทธิบัตรกันได้ด้วยเหรอ ?
สรุปว่าจดถึงวิธีการ interface ว่างั้นเถอะครับ ..
ส่วนใครจะใช้กี่นิ้วจิ้มมันก็ไม่เกี่ยวกัน