cmxseed สังคมราตรี

หมวดหมู่ทั่วไป => ลี้ลับ ประวัติศาสตร์ ตำนานโลก => CMXSEED ธรรมะ => หัวข้อที่ตั้งโดย: GOWA เมื่อ 22 สิงหาคม 2008, 09:37:11

ชื่อ: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: GOWA เมื่อ 22 สิงหาคม 2008, 09:37:11
ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ เป็นหนังสือทางพุทธศาสนาเล่มนึงที่เปิดให้ Download e-Book ฟรี
เนื้อหาว่าด้วยเรื่องคนที่ไม่รู้จักกัน 2 คน เกิดในเวลาที่ต่างกันถึง 2000 กว่าปี และถือว่าเป็นยอดคนในศาสตร์ 2 แขนง
ถึงแม้ว่าศาสตร์ 2 แขนงนี้จะต่างกันโดยสิ้นเชิง แต่คนทั้ง 2 กลับมีความคิดและค้นหาในสิ่งเดียวกัน
สิ่งนั้นเรียกว่า "ความจริง" แต่ต่างกันที่คนนึงค้นพบและเข้าสู่นิพาน อีกคนยิ่งค้นพบกลับยิ่งมีคำถามมากขึ้น
ผมขอเอาบทความหนึ่งในหนังสือเล่มนี้มาให้ทุกคนได้อ่านกันก็แล้วกัน


ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่อันทำให้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กลายเป็นอัจฉริยะบุคคลที่่ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ของโลกเกิดขึ้นเมื่อหนึ่งร้อยปีก่อนในปี ค.ศ. 1905 เมื่อผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์พร้อมกันถึง ๕ ชิ้น และชิ้นหนึ่งคือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพจำเพาะอันมีูสมการ e = mc2 ที่สร้างคุณอย่างอเนกอนันต์พอ ๆ กับการสร้างโทษอย่างมหันต์

ก่อนหน้าทฤษฎีสัมพัทธภาพ
              ดิฉันซาบซึ้งในบุญคุณของอัลเบร์ต ไอน์สไตน์ ที่ได้ตั้งคำถามที่สำคัญมากที่สุดแทนมนุษยชาติ นั่นคือ อะไรคือจุดคงที่อันเป็นอนันตยะที่สมบูรณ์ของจักรวาล What is the absolute ruling point in nature?
              ดิฉันไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์และไม่ค่อยเข้าใจรายละเอียดของทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ซับซ้อนมากนัก ซึ่งที่จริงแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเข้าใจ ดังที่นักข่าวมักขอร้องให้ไอน์สไตน์สรุปสั้น ๆ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้คืออะไีร ทำไมจึงสำคัญต่อมนุษยชาติมาก ไอน์สไตน์มักรู้สึกลำบากใจเพราะนี่เป็นความรู้ที่เขาปลุกปล้ำอยู่ถึง ๑๕ ปี แล้วจะให้มาสรุปให้คนฟังอย่างสั้น ๆ ได้อย่างไร ไอน์สไตน์จึงเฉตอบนักข่าวด้วยเรื่องที่ขบขันว่า
              ?คุณลองเอามือวางเหนือเตาร้อน ๆ สักหนึ่งนาทีสิ คุณจะรู้สึกว่ามันนานเหมือนหนึ่งชั่วโมง แต่หากคุณไปนั่งอยู่ใกล้หญิงสาวสวยสักหนึ่งชั่วโมง คุณจะรู้สึกว่ามันนานเหมือนเพียงนาทีเดียว นั่นแหละคือทฤษฎีสัมพัทธภาพของผมแหละ?
              เรื่องการสรุปความคิดหลัก ๆ นี่แหละ เป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการรู้รายละเีอียด เพราะเป็นเรื่องของการสร้างกรอบ หรือ โครงสร้างของความคิด ฉะนั้น สิ่งที่ดิฉันจะสรุปอันเกี่ยวเนื่องกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์จึงเป็นความรู้ที่ย้อนกลับไปในชั่วโมงวิทยาศาสตร์สมัยที่ยังเรียนชั้นมัธยม เพราะคุณครูย่อมหยิบยื่นแต่ความคิดหลัก ๆ ที่พูดอย่างสรุปย่อ ๆ  เท่านั้น และดิฉันยังดึงความคิดแบบสรุปเหล่านี้ออกมาจากหนังสือสารานุกรมของเยาวชนรวมทั้งการดูสารคดีต่าง ๆ ด้วย บวกกับความรู้ในเรื่องพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ดิฉันจึงสามารถต่อยอดแจกแจงความคิดเหล่านี้ออกมาได้

ทำไมไอน์สไตน์จึงอยากหาจุดคงที่
               เพื่อความชัดเจนมากขึ้น ขอให้เข้าใจว่า ?จุดคงที่? กับ ?จุดปกติ? มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งดิฉันจะใช้ทดแทนกันตั้งแต่บัดนี้เพื่อให้เหมาะสมกับข้อเปรียบเทียบ
              สิ่งที่ดิฉันให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ  ทำไมไอน์สไตน์จึงต้องการหาจุดคงที่อันถาวรของจักรวาลตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่ออะไร สิ่งที่ดิฉันทำความเข้าใจได้คือ ถ้าหากไอน์สไสตน์สามารถหาจุดปกติของจักรวาลที่อยู่อย่างคงทนถาวร มีค่าสมบูรณ์ ไม่เปลี่ยนแปลงได้แล้ว เขาจะสามารถใช้จุดปกตินั้นเป็นมาตรฐานการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ และย่อมทำให้ผลของการวัดอะไรต่าง ๆ คงที่ ปกติ ได้ผลเหมือนกันหมด absolute value ไม่ว่าจะวัดจากจุดไหนของจักรวาล
              อย่างไรก็ตาม ไอน์สไตน์ไม่สามารถหาจุดคงที่อันถาวรของจักรวาลได้ เพราะว่า สิ่งต่าง ๆ ที่แม้ดูนิ่ง ๆ บนโลก ไม่เคลื่อนไหวก็ตาม แต่ที่จริงแล้ว มันไม่ได้อยู่นิ่งจริง เพราะโลกกำลังหมุนอยู่ เมื่อดูในวงกว้างออกไปจากนอกโลก ก็พบว่าระบบสุริยะจักรวาลก็กำลังเคลื่อนอยู่ แกแลกซี่ของเราและอื่น ๆ ก็กำลังเคลื่อนอยู่ ตลอดจนถึงจักรวาลทั้งหมดก็กำลังเคลื่อนไปอย่างไม่หยุดยั้ง จึงทำให้ไอน์สไตน์สรุปว่าไม่มีจุดนิ่งหรือจุดปกติที่สามารถให้คุณค่าที่เที่ยงแท้ถาวรอย่างแท้จริงในจักรวาล เพราะทุกอย่างเคลื่อนที่อย่างไม่หยุดยั้ง

สัมพันกับอนิจจังและนิพพาน
              ความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพนี้เปรียบเหมือนกับการพบสี่แยกหลักที่สามารถเดินเลี้ยวต่อไปได้อีกมากมายหลายทางทีเดียว ในขณะที่ไอน์สไตน์เลี้ยวไปสู่แยกที่เน้นความรู้ทางด้านฟิสิกส์เพียงอย่างเดียวจนก่อให้เกิดการสร้างระเบิดนิวเคลียร์ พลังงานปรมณูและเทคโนโลยี่อื่น ๆ อีกมากมายนั้น ดิฉันจะพยายามพาคุณเลี้ยวไปสู่แยกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขทุกข์ของชีวิตของเราโดยตรง ความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นเรื่องครอบจักรวาล ครอบคลุมทุกเรื่องของชีวิต  เพราะความคิดทั้งหมดเหล่านี้สัมพันกับเรื่องอนิจจังและพระนิพพานของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเรื่องครอบจักรวาลเช่นกัน จึงเป็นสิ่งที่ดิฉันพยายามจะโยงให้คุณในหนังสือเล่มนี้ 

เมื่อไม่รู้จุดคงที่ของจักรวาล
              เมื่อไอน์สไตน์สรุปว่าไม่มีจุดคงที่ในจักรวาล ย่อมหมายความว่า การวัดอะไรต่าง ๆ จะต้องสมมุติจุดคงที่ขึ้นมาก่อน และวัดสิ่งต่าง ๆ จากจุดสมมุตินั้น ซึ่งผลที่ได้จะมีค่าสัมพัทธ์กับจุดปกติที่ถูกสมมุติขึ้น เพื่อให้คุณเข้าใจชัดเจนมากขึ้น ดิฉันจะเรียกแทนจุดคงที่นี้ว่า ?พรมแดนสุดท้าย the final frontier? (บทที่ ๔) เพื่อให้สอดคล้องกับการยกตัวอย่างที่จะวัดความใกล้ไกลของสถานที่
              เมื่อคุณไม่รู้จุดคงที่หรือจุดปกติของจักรวาล ก็ความหมายว่าคุณไม่รู้ขอบเขตที่เป็นพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลที่สามารถใช้เป็นเสาหลักมาตรฐานเพื่อวัดความใกล้ไกลของทุกสถานที่ในจักรวาลนั่นเอง เช่น หากคุณต้องการทราบว่า เชียงใหม่อยู่ไกลแค่ไหน คุณจะถามลอย ๆ ไม่ได้ คุณต้องกำหนดลงไปให้แน่ชัดก่อนว่าคุณต้องการวัดความใกล้ไกลของเมืองเชียงใหม่จากจุดไหนเสียก่อน จึงจะพูดกันรู้เรื่อง ไม่เช่นนั้น เถียงกันตาย
               หากคุณเอากรุงเทพเป็นหลัก นั่นคืือ สมมุติให้กรุงเทพเป็นพรมแดนสุดท้าย เชียงใหม่ก็จะอยู่ไกลจากกรุงเทพ ๖๐๐ กิโลเมตร หากคุณเอาสงขลาเป็นหลัก  เชียงใหม่ก็จะอยู่ห่างจากสงขลา ๑๖๐๐ กิโลเมตร หากสมมุติให้กรุงลอนดอนเป็นหลักหรือเป็นพรมแดนสุดท้าย เชียงใหม่ก็จะอยู่ห่างจากลอนดอนถึง ๖๐๐๐ กิโลเมตร เป็นต้น ฉะนั้น คุณจะเห็นว่า ๖๐๐, ๑๖๐๐, ๖๐๐๐ กิโลเมตรคือค่าสัมพัทธ์อันเป็นผลของการสมมุติจุดนิ่งหรือจุดพรมแดนสุดท้ายขึ้นมาเพื่อวัดความใกล้ไกลของสถานที่ ฉะนั้น การตัดสินว่าใครอยู่ใกล้หรือไกลเชียงใหม่จึงขึ้นอยู่ที่ว่า คุณอยู่จุดไหน คนอยู่ลอนดอนก็ต้องเห็นว่าเชียงใหม่ไกลมาก ใครอยู่สงขลาก็ย่อมเห็นเชียงใหม่ไกลกว่าคนอยู่กรุงเทพ ใครอยู่ลำปางก็ย่อมเห็นว่าเชียงใหม่อยู่ใกล้นิดเดียว  นี่คือ การพูดอย่างสัมพัทธ์ relatively speaking อันเป็นผลของทฤษฎีสัมพัทธภาพ

เมื่อรู้จุดคงที่
              แต่ถ้าคุณรู้จุดคงที่ จุดนิ่ง หรือจุดปกติของจักรวาล หรือ รู้แน่ชัดว่าพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลอยู่ตรงไหนแล้วละก็ ทีนี้ ไม่ว่าคุณจะอยู่ซอก ซอย ไหนของจักรวาลก็ตาม คุณก็สามารถวัดจากจุดที่คุณอยู่และไปจรดที่เสาหลักสุดท้ายหรือพรมแดนสุดท้าย หรือ จุดปกติของจักรวาล  ทุกคนจะสามารถทำได้เหมือนกันหมดเพราะรู้เสาหลักสุดท้ายของจักรวาลแล้ว  ฉะนั้น ไม่ว่าใครจะอยู่ ณ จุดไหนของจักรวาล ก็สามารถวัดจากจุดที่ตนเองอยู่และไปจรดที่เสาหลักอันเป็นพรมแดนสุดท้ายของจักรวาล  การวัดนั้นก็จะเป็นมาตรฐานสากลของจักรวาล ได้ค่าคงที่เหมือนกันหมด ฉะนั้น  คนอยู่กรุงเทพ เชียงใหม่ สงขลา ลอนดอน หากจะวัดความใกล้ไกล ก็ต้องวัดไปที่เสาหลักสุดท้ายของจักรวาลก่อน ซึ่งอาจจะได้ค่าตามลำดับเช่นนี้คือ ๑.๕ ล้านปีแสง ๑.๕๒ ล้านปีแสง ๑.๕๔ ล้านปีแสง ๒ ล้านปีแสง เป็นต้น นี่เป็นการสมมุติว่าหากเรารู้จุดคงที่หรือจุดปกติของจักรวาล ทุกคนจะรู้แน่ชัดว่า ใครอยู่ใกล้หรือไกลจากจุดคงที่หรือพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลมากน้อยแค่ไหน นี่คือ การพูดอย่างแน่นอน absolutely speaking เพราะรู้จุดเที่ยงแท้แน่นอนของจักรวาล นี่คือเหตุผลที่ไอน์สไตน์อยากหาจุดคงที่ของจักรวาล เพื่อจะได้ใช้เป็นมาตรฐานหลักของจักรวาล แต่อย่างที่พูดแล้วว่า ความรู้ของไอน์สไตน์เน้นไปที่เรื่องฟิสิกส์เพียงถ่ายเดียวเท่านั้น

แต่สัมพัทธภาพครอบคลุมทุกเรื่อง
              การวัดน้ำหนักของวัตถุสิ่งของก็เช่นกัน น้ำหนักตัวของคนบนโลกมีค่าสัมพัทธ์กับแรงโน้มถ่วงของโลก พูดให้งงเล่นก็คือ ทุกครั้งที่คุณชั่งน้ำหนักตัวเอง ที่จริงแล้ว คุณกำลังชั่งแรงถ่วงของโลกที่กดลงบนตัวคุณ หากไปชั่งน้ำหนักบนโลกพระจันทร์ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงน้อยกว่าโลก น้ำหนักที่กดลงตัวคุณบนโลกพระจันทร์จะน้อยกว่าแรงที่กดบนโลก จึงทำให้น้ำหนักตัวของคุณน้อยกว่าน้ำหนักตัวที่ชั่งบนโลก การจะตัดสินว่าใครอ้วน ใครผอม สวย ขี้เหร่ เหล่านี้ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าเราเอาใครและอะไรเป็นมาตรฐานของการวัด เราต้องสมมุติค่าปกติขึ้นมาก่อน เช่น คนแขกชอบให้ผู้หญิงของเขามีเนื้อมีหนังมีพุงย้อยอันเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวย ซึ่งเขาเรียกหุ่นเช่นนี้ว่าสวย แต่ในสายตาของหญิงชาวตะวันตกที่ชอบหุ่นเพรียว ๆ นั้นจะเห็นหญิงแขกอ้วน ในขณะที่หญิงแขกจะเห็นหญิงชาวตะวันตกผอมเกินไป ความรวย ความจน ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเอาใครและอะไรเป็นมาตรฐานของการวัด กรรมกรที่หาเช้ากินค่ำก็จะเห็นทุกคนรวยกว่าตนหมดนอกจากขอทานเท่านั้น (ขอทานบางคนอาจจะรวยกว่ากรรมกรก็เป็นได้) คนมีเงินเก็บจำนวนแสนก็จะเห็นคนมีเงินล้านรวยกว่าตน ส่วนคนรวยที่มีทรัพย์สินสิบล้าน ก็จะเห็นคนที่มีน้อยกว่านั้นจนกว่าตนเองหมด แต่เมื่อนำตนเองไปเปรียบเทียบกับคนมีทรัพย์สินร้อยล้าน พันล้าน ก็ยังคิดว่าตัวเองจนอยู่  ถ้าเปรียบเทียบกับคนที่มีทรัพย์สินหลายหมื่นล้าน ก็คงคิดว่าตนเองยังจนมากอยู่ เป็นต้น
              เพราะไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งสมบูรณ์ คงที่ และปติ อันจะใช้เป็นมาตรฐานของการวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงต้องวัดกันอย่างเปรียบเทียบ หรือ สัมพัทธ์กันเช่นนี้ จึงก่อให้เกิดคำวลีภาษาอังกฤษว่า relatively speaking หรือ พูดอย่างสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นวลีที่ใช้กันบ่อยมากในชีวิตประจำวัน เพราะต้องพูดให้รู้เรื่องก่อนว่าเอาอะไรเป็นหลัก มิเช่นนั้น เถียงกันตาย แต่ถ้าหากเรารู้จุดคงที่ของจักรวาล วิถีชีวิตของเราจะต้องเปลี่ยนไปเป็นอีกลักษณะหนึ่ง   


ไอน์สไตน์กับทฤษฎีเอกภาพ
              หลังจากการค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพแล้ว ไอน์สไตน์ก็ยังได้ค้นพบเรื่องกลศาสตร์ควอนตัม Quantum Mechanic ซึ่งความคิดหลักของทฤษฎีนี้คือ ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้เกิดขึ้นและมีการทำงานเหมือนการโยนลูกเต๋า ผลของมันย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความอาจจะเป็นไปได้ probability เท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไอน์สไตน์ยอมรับไม่ได้ เพราะค่าของความอาจจะเป็นไปได้เปรียบเหมือนกับการยืนอยู่บนท่าน้ำที่โคลงเคลง เอนเอียง หากใช้ภาษาของชาวพุทธแล้ว การค้นพบกลศาสตร์ควอนตัมก็คือ การค้นพบเรื่องอนิจจังนั่นเอง สิ่งที่ไอน์สไตน์ต้องการนั้น เปรียบเทียบได้กับความหนักแน่นของพื้นดิน หรือ สิ่งหนึ่งที่ให้ค่าอันคงที่ ปกติ ถาวร ซึ่งเขาคิดว่าคณิตศาสตร์เท่านั้นที่สามารถหยิบยื่นสิ่งที่เที่ยงแท้ แน่นอน ให้กับเขาได้ ฉะนั้น แม้ไอน์สไตน์เป็นผู้ค้นพบเรื่องกลศาสตร์ควอนตัมอันเป็นความรู้ที่ได้รับการต่อยอดพัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นหัวใจของการพัฒนาเทคโนโลยี่ในปัจจุบันก็ตาม ไอน์สไตน์กลับไม่ได้ให้เยื่อใย ไม่สนใจ แถมดูหมิ่นความรู้ที่เขาได้ค้นพบเอง หรือ ถ้าพูดใหม่ด้วยภาษาของชาวพุทธว่า ไอน์สไตน์ยอมรับความเป็นอนิจจังของทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้ จึงขวนขวายหาสิ่งที่เป็นนิจจัง หรือ ความเที่ยงแท้ ถาวร
              สิ่งที่รั้งไอน์สไตน์ไว้คือ ความเป็นนักการศาสนาของเขา ความเชื่อในพระเจ้า และนิสัยส่วนตัวที่จำเป็นต้องรู้และเข้าใจสิ่งต่าง ๆ อย่างแน่ชัด ถึงแก่น และสามารถแปรความเข้าใจนั้น ๆ ออกมาเป็นสูตรสำเร็จทางคณิตศาสตร์ที่แน่นอน ซึ่งคณิตศาสตร์เป็นวิธีการเดียวที่ไอน์สไตน์สามารถเข้าใจและเข้าถึงได้ หลังจากที่ประธานาธิบดีคนแรกของอิสราเอลเสียชีวิต ไอน์สไตน์ได้ถูกเสนอชื่อให้เป็นประธานาธิบดีของชาวยิวคนต่อไป เพราะความเป็นนักฟิสิกส์ที่ได้รับรางวัลโนเบลและเป็นผู้รักสันติภาพมาก จึงได้มีส่วนช่วยเหลือชาวยิวจนก่อให้เกิดประเทศอิสราเอลขึ้นมาในปี 1948 แต่ไอน์สไตน์ปฏิเสธตำแหน่งผู้นำประเทศโดยให้เหตุผลว่า
               ?การเมืองอยู่ได้เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น แต่สมการทางคณิตศาสตร์สามารถอยู่ได้อย่างชั่วนิรันดร?
              อย่างไรก็ตาม ความรัก ความคลั่งไคล้ และบูชาในพระเจ้ากับคณิตศาสตร์ไปพร้อม ๆ กันนี่เอง ได้กลายเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ในหัวสมองหรือจิตใจของอัจฉริยะบุคคลผู้นี้อีก นับตั้งแต่ต้นปี 1920 เป็นต้นไป ไอน์สไตน์ได้เข้าสู่ยุคของการคิดค้นหาทฤษฎีเอกภาพ The Unified Theory หรือ ทฤษฎีสรรพสิ่ง The Theory of Everything

  พระเจ้าไม่เล่นลูกเต๋า
              ไอน์สไตน์เชื่อมั่นเหลือเกินว่า ความเถรตรงของคณิตศาสตร์เท่านั้นที่สามารถอธิบายและให้คำตอบแก่ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลได้ จะสามารถรวมความรู้ทั้งหมดของจักรวาลเข้าเป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึงการอธิบายว่าพระเจ้าสร้างจักรวาลนี้ได้อย่างไร ดังที่ไอน์สไตน์พูดว่า
              ?ข้าพเจ้าต้องการรู้ว่าพระเจ้าสร้างโลกนี้อย่างไร ข้าพเจ้าไม่ได้สนใจปรากฏการณ์นั้นนี้ว่ามันเป็นของธาตุนั้นหรือธาตุนี้ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น ข้าพเจ้าต้องการรู้ความคิดของพระเจ้าต่างหาก?
ทฤษฎีเอกภาพนี้จึงเปรียบเหมือนการหาสมการทางคณิตศาสตร์ที่สามารถอ่านจิตใจของพระเจ้าและงานศิลปะการสร้างโลกและมนุษย์ของพระเจ้านั่นเอง ซึ่งเป็นความคิดที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยานมากในเดือนเมษายน 1955 ไอน์สไตน์ล้มป่วยและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลปรินซ์ตัน รัฐนิวเจอซี่ อันเป็นเมืองที่เขาอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต ไอน์สไตน์ก็ยังไม่ลดละที่จะคิดค้นสูตรทางคณิตศาสตร์ที่เขาหาอยู่ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา เขามักมีกระดาษ ดินสอ อยู่กับตัวและขีดเขียนตัวเลข เครื่องหมาย และสมการทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ อยู่เสมอ ซึ่งพยาบาลคนหนึ่งที่ดูแลเขาอยู่ได้หามาให้ จึงมีโอกาสได้เห็นพูดคุยสนทนากับไอน์สไตน์ จึงรู้ว่าไอน์สไตน์ยังคงพยายามอ่านหัวสมองของพระเจ้าอยู่ พยาบาลรู้สึกเห็นใจ อยากให้ไอน์สไตน์พักผ่อนอย่างเต็มที่ วันหนึ่งพยาบาลจึงพูดกับไอน์สไตน์อย่างอ่อนโยนและเป็นห่วงเป็นใยว่า

              บางที พระเจ้าท่านอาจจะไม่อยากให้เราอ่านจิตใจของท่านก็ได้นะ
              Maybe God doesn?t want us to know his mind.

ทั้ง ๆ ที่ยังเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่ ไอน์สไตน์พูดสวนกลับทันทีอย่างดื้อรั้นพร้อมกับสั่นศรีษะไปมาว่า

              พระเจ้าไม่เล่นลูกเต๋าหรอก คุณพยาบาล!
              God doesn?t play dice, nurse!

ซึ่งเป็นการพูดพาดพิงอย่างดูหมิ่นถึงเรื่องกลศาสตร์ควอนตัมที่มีผล ?อาจจะเป็นไปได้? หรือ อนิจจังนั่นเอง   
              ประวัติศาสตร์จึงได้จารึกเหตุการณ์ในช่วง ๓๐ ปีสุดท้ายของไอน์สไตน์ในฐานะบุคคลที่ล้มเหลว จมปรักอยู่ในโลกของวิทยาศาสตร์ที่ล้าหลัง โดดเดี่ยวเดียวดาย เพราะภายในแวดวงนักวิทยาศาสตร์ชาวฟิสิกส์ด้วยกันแล้ว ต่างรู้ว่าทฤษฎีเอกภาพนี้เป็นเรื่องเพ้อฝันของไอน์สไตน์เท่านั้นเอง ไม่มีทางจะเป็นความจริงได้เลย การแสวงหาของไอน์สไตน์ไร้ผลอย่างสิ้นเชิง อัจฉริยะบุคคลผู้นี้จึงได้จากโลกนี้ไปในวันที่ ๑๘ เมษายน ๑๙๕๕ ในขณะที่ในมือยังกำแผ่นกระดาษที่ขีดเขียนสมการทางคณิตศาสตร์อยู่ โดยที่ยังไม่ได้พบคำตอบที่เขาต้องการหาแต่อย่างใด
              ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายมาก หากไอน์สไตน์สามารถอ่านความคิดของพระเจ้าได้แล้ว เขาอาจจะสามารถตอบคำถามมากมายที่ยาวเป็นหางว่าวที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ?ทำไม? เช่น ทำไมพระเจ้าจึงปล่อยให้ฮิตเลอร์และทหารนาซีฆ่าชาวยิวอย่างล้างเผ่าพันธุ์เช่นนั้น ทำไมพระเจ้าจึงไม่ยุติสงครามที่สร้างความทุกข์อย่างมหันต์ให้กับมนุษย์ี่ที่พระเจ้าสร้างและรักมากดังคำโฆษณา ทำไมพระเจ้าจึงไม่ช่วยผู้กรีดร้องขอความช่วยเหลือจากท่านเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤตเช่น เด็กหญิงที่กำลังถูกข่มขืน ถูกฆ่า หรือ กำลังหนีภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม และทำไมพระเจ้าจึงสร้างโลกและสังคมมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำต่ำสูงและอยุติธรรมเช่นนี้ ฯลฯ

ไอน์สไตน์ยอมรับพระพุทธศาสนา
              ถึงแม้ไอน์สไตน์ได้จากโลกนี้ไปโดยไม่พบคำตอบที่เขาต้องการก็ตาม เขาได้ทิ้งคำพูดที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติซึ่งดิฉันรู้สึกซาบซึ้งมาก ในบั้นปลายชีวิตของเขา ไอน์สไตน์เริ่มสงสัยแล้วว่า ศาสนาพุทธอาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขาอยากค้นพบก็เป็นได้ ในปี ๑๙๕๔ หนึ่งปีก่อนเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของไอน์สไตน์ชื่อเรื่องว่า ?The Human Side? ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ได้พูดทิ้งไว้นิดหน่อยว่า
               ศาสนาในอนาคตจะเป็นศาสนาที่เนื่องกับจักรวาล ควรอยู่เหนือพระเจ้าส่วนตัว หลีกเลี่ยงลัทธิกฏเกณฑ์ที่ไร้ข้อพิสูจน์ ควรครอบคลุมทั้งเรื่องธรรมชาติและจิตวิญญาณ ควรตั้งอยู่บนรากฐานของศาสนาที่เกิดจากประสบการณ์ของทุกสิ่งที่สร้างเอกภาพอันมีความหมาย ซึ่งพระพุทธศาสนาดูเหมือนจะมีสิ่งเหล่านี้อยู่ ศาสนาพุทธน่าจะเป็นศาสนาที่สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของยุคสมัยได้
              ไอน์สไตน์พูดถูกเผ๋งทีเดียว ทฤษฎีเอกภาพหรือทฤษฎีสรรพสิ่งที่เขาต้องการค้นหานั้น ที่จริงพระพุทธเจ้าได้ตอบให้เบ็ดเสร็จแล้วก่อนหน้านั้นถึง ๒๕๐๐ ปีเศษ

ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
              ในความเห็นของดิฉัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจุดคงที่อันแน่นอนของจักรวาลหรือเรื่องการอ่านความคิดของพระเจ้านั้น ที่จริง เป็นเรื่องเดียวกัน พูดง่าย ๆ คือ อัจฉริยะบุคคลของโลกผู้นี้ต้องการหาสิ่ง ๆ หนึ่งที่พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็น อสังขตธรรม ซึ่งมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ แน่นอน คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิจจัง เป็นอันติมะ คือไม่มีสิ่งอื่นใดที่สามารถไปเหนือสิ่งนี้ได้อีกแล้ว สิ่งนี้เป็นพรมแดนสุดท้ายของจักรวาลแล้ว ซึ่งมีสิ่งเดียวในจักรวาลนี้เท่านั้น  คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับที่สุดแห่งทุกข์ นั่นเอง
              พระพุทธเจ้าได้บรรยายลักษณะพระนิพพานอันเป็นจุดปกติของจักรวาลเช่นนี้คือ
?ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในอายตนะนั้น ไม่ใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกหน้า ไม่ใช่พระจันทร์ ไม่ใช่พระอาทิตย์ ไม่ใช่การมา ไม่ใช่การไป ไม่ใช่การตั้งอยู่ ไม่ใช่การจุติ ไม่ใช่การเกิดขึ้น ไม่ใช่เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ความเป็นไป ไม่ใช่อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นคือ ที่สุดแห่งทุกข์?
              พระนิิพพานนี่แหละคือกรอบหลักการที่กว้างขวาง มีคุณลักษณะสมบูรณ์ พึ่งพาได้ ไม่มีความโคลงเคลงเหมือนกลศาสตร์ควอนตัมที่ไอน์สไตน์หมิ่นประมาทและยอมรับไม่ได้  จึงสามารถครอบคลุมเรื่องทุกเรื่องของจักรวาลและสามารถใช้เป็นพื้นฐานของทุกทฤษฎีได้ คุณลักษณะเช่นนี้แหละคือ ทฤษฎีเอกภาพที่ไอน์สไตน์ได้ทุ่มเทชีวิตหามันอยู่ถึงสามสิบปี
              ฉะนั้นมนุษยชาติต้องยอมรับว่ามีปรากฏการณ์หนึ่งในธรรมชาติ อันเป็นที่สิ้นสุดของทุก ๆ สิ่งในจักรวาล ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ค้นพบแล้วในคืนที่ท่านตรัสรู้เมื่อ ๒๕๙๓ ปีก่อน นับจากคืนนั้นเป็นต้นมา ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาย่อมมีผู้รู้ตามพระพุทธเจ้าเสมอมา ที่สามารถออกมาประกาศย้ำต่อมวลมนุษย์ว่ามีสัจธรรมอันสูงสุดหรือจุดปกติในจักรวาลอย่างแน่นอน ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันจินตนาการแต่อย่างใด ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนายืนหยัดอยู่ได้ถึงทุกวันนี้
              สัจธรรมอันสูงสุดหรือพระนิพพานนี้แหละคือ สิ่งที่ไอน์สไตน์ต้องการหาในช่วงชีวิตแห่งการเป็นนักคิดของเขาโดยผ่านวิธีการและกลไกทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิธีการเข้าถึงสัจธรรมที่ผิดพลาด เพราะสัจธรรมนี้จะต้องเข้าถึงด้วยวิธีการของ ปัญญา ศีล สมาธิ เท่านั้น หรือ จะพูดให้รัดกุมคือ ต้องใช้วิธีการปฏิบัติสติปัฏฐานสี่หรือวิปัสสนาเท่านั้นจึงจะเข้าถึงสภาวะที่เป็นอันติมะนี้ได้

ที่นี่ เดี๋ยวนี้
              หลังจากกรณีเหตุการณ์พิสดารทางใจของดิฉันในเดือนตุลาคมในปี ๒๕๔๐ นั้นดิฉันมีความมั่นใจเหลือเกินว่า จุดนิ่งในจักรวาลและทฤษฎีเอกภาพที่ไอน์สไตน์เฝ้าหาอยู่นั้นได้ซ่อนอยู่ในการสังเกตการณ์ของข้อเปรียบเทียบที่ไอน์สไตน์พูดถึงรถไฟสองขบวนที่วิ่งด้วยความเร็วพร้อมกันนั่นเอง                   ที่นี่ เดี๋ยวนี้ คือ คำตอบที่อัจฉริยะบุคคลต้องการหาอยู่แต่ล้มเหลว ทั้ง ๆ ที่ไอน์สไตน์ก็เห็นอยู่ แต่เขาไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อเปรียบเทียบนั้นสามารถอธิบายสภาวะสัจธรรมอันสูงสุดของจักรวาลได้ 
              ที่นี่ เดี๋ยวนี้ คือ จุดคงที่ของจักรวาลที่สามารถใช้เป็นมาตรการพื้นฐานวัดสิ่งต่าง ๆ ได้ ในบทที่สามของหนังสือเล่มนี้ ดิฉันได้พูดอธิบายเรื่องที่นี่ เดี๋ยวนี้ ในฐานะที่เป็นสัจธรรมอันสูงสุด ที่มีความเรียบง่ายและปกติธรรมดา การเข้าถึงที่นี่ เดี๋ยวนี้ เ็ป็นเรื่องของการฝึกทักษะทางใจเหมือนการสามารถยืนบนแผ่นกระดานโต้คลื่น และสามารถฝึกทักษะที่จะโต้คลื่นลูกเล็กและลูกใหญ่ได้โดยไม่ล้ม

สัจธรรมอยู่แค่ปลายจมูกของคนทุกคน
              เหมือนการมองข้ามคำตอบของปัญหาเชาวน์นั่นเอง เพราะหัวสมองของเขามัวคิดวุ่นอยู่กับการหาคำตอบให้กับจักรวาลที่เปรียบเหมือนการหาคำตอบให้กับคำถามปริศนาของฝรั่งที่ว่า
              What is it that has two in a week and one in a year?
              อะไรเอ่ยที่มีสองอยู่ในหนึ่งอาทิตย์และมีเพียงหนึ่งในหนึ่งปี                                     
นี่เป็นปัญหาเชาวน์ ซึ่งเป็นเรื่องตื้นที่ไม่ต้องคิดลึกเพื่อหาคำตอบ เพราะคำตอบของปัญหาเชาวน์มักอยู่เบื้องหน้าของเราแล้ว คำตอบของปริศนานี้จึงไม่ต้องไปคิดไกล และคิดลึก แต่ต้องไปดูที่คำว่า week กับ year แทน ก็จะได้คำตอบที่ง่าย ๆ คือ ตัวอักษร e นั่นเอง ซึ่งเป็นคำตอบที่อยู่เบื้องหน้าแล้ว
              การหาคำตอบให้กับทฤษฎีเอกภาพหรือการเข้าถึงสัจธรรมอันสูงสุดก็เหมือนการหาคำตอบให้กับปัญหาเชาวน์ซึ่งไม่ต้องอาศัยพลังสมองเพียงถ่ายเดียวเท่านั้น ปัจจัยที่สำคัญคือ จะต้องมีผู้รู้ที่ตรัสรู้ด้วยตนเองมาชี้แนะให้เสียก่อนซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ท่านแรก ผู้รู้เหล่านี้แหละจึงจะสามารถชี้บอกได้ว่าสัจธรรมในขั้นอันติมะของจักรวาลเป็นเรื่องพื้น ๆ ธรรมดา ๆ และง่าย ๆ ที่อยู่แค่ปลายจมูกของคนทุกคนแล้ว เหมือนคำตอบของปัญหาเชาวน์ที่ไม่จำเป็นต้องคิดมากแต่อย่างใด เพราะความที่มีลักษณะเป็นหญ้าปากคอกนี้เอง จึงทำให้พระนิพพานหรือการหาจุดปกติของชีวิตกลายเป็นเรื่องยากที่สุดในเหล่าปัญญาชนทั้งหลายที่ถนัดการคิดมากและคิดลึก เปรียบเสมือนการเดินเข้าไปในท่อความคิดอันมีทางตันเป็นที่สุด

เอาความจริงสัมพัทธ์เป็นที่พึ่ง
              คุณจะเห็นได้ชัดเจนว่า การไม่รู้สัจธรรมในฐานะที่เป็นค่าคงที่หรือปกตินี้ ก็เปรียบเหมือนการยืนอยู่ท่ามกลางทุ่งกว้างที่ไม่มีวันตัดสินได้ว่า เรากำลังยืนอยู่ตรงกลาง ชิดซ้าย ชิดขวา ใกล้บน ใกล้ล่าง หรือ เฉียงไปทางไหน นี่คือ สภาวะของการไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร และเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้จิตใจของมนุษย์สับสนวุ่นวายและทุกข์มาก เมื่อหาจุดคงที่หรือปกติไม่พบ จึงจำเป็นต้องหาที่พึ่งในความเป็นอนิจจัง คือต้องยอมรับความจริงในระดับสมมุติที่ฝรั่งเรียก conventional truth หรือ ความจริงที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไข conditional truth หรือ ความจริงสัมพัทธ์ relative truth ซึ่งเป็นความคิดหลักของทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ไอน์สไตน์เน้นแต่เรื่องทางฟิสิกส์เท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว ความคิดหลัก ๆ ของทฤษฎีสัมพัทธภาพเป็นเรื่องที่ครอบคลุมถึงเรื่องจิตใจและชีวิตทั้งหมดที่เนื่องกับจักรวาลที่เราอยู่ ซึ่งดิฉันจะอธิบายให้คุณเห็นชัดเจนในบทที่ห้าและหกของหนังสือเล่มนี้                                       
              การยอมรับทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพ ก็คือ การยอมรับความจริงในระดับสมมุติหรือสัมพัทธ์ จึงได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งภาษาคือ การพูดตัดสินเรื่องต่าง ๆ อย่างเปรียบเทียบ relatively speaking ซึ่งเป็นวลีภาษาอังกฤษที่ใช้กันบ่อยมากในระหว่างการพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน เพราะทุกคนล้วนพูดจากกรอบความคิดที่แตกต่างและหลากหลายของตนเองอันเนื่องจากไม่มีเสาหลักที่มั่นคงเพราะไม่รู้สัจธรรมอันสูงสุด การพูดคุยในทุกเรื่องของชีวิตจึงหละหลวม โคลงเคลง บางครั้งก็ไร้แก่นสารอย่างสิ้นเชิง เหมือนยืนบนท่าน้ำฉันใดก็ฉันนั้น   

ศีลธรรมสัมพัทธ์
              สิ่งที่เสียหายมากกว่านั้นคือ ทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพมีอิทธิพลต่อวิธีการคิดของคนรุ่นใหม่จนก่อให้เกิดศีลธรรมแบบสัมพัทธ์ขึ้นมา เพราะไม่รู้สัจธรรมอันสูงสุด จึงไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ต่างจากสิ่งชั่วที่สุดอย่างไร คนจึงมักคิดว่า ไม่มีระบบศีลธรรมที่สมบูรณ์ในตัวมันเอง There is no moral absolute. ฉะนั้น คนเราจึงตัดสินการกระทำว่าดีหรือชั่วในลักษณะของการเปรียบเทียบแบบสัมพัทธ์ เช่น นักขโมยเล็กขโมยน้อยจะคิดเปรียบเทียบตนเองว่าดีกว่าโจรปล้นธนาคารซึ่งคิดว่าตนเองยังดีกว่าอาชญากรที่ข่มขืนหญิงและฆ่าคนเป็นครั้งแรกซึ่งคิดว่าตนเองยังดีกว่าอาชญากรที่ฆ่าคนหลายคนแล้ว คนสูบบุหรี่จะคิดว่าตนเองดีกว่าคนกินเหล้าด้วยสูบบุหรี่ด้วยซึ่งคิดว่าตนเองย่อมดีกว่าคนติดยาเสพติด การคิดอย่างเปรียบเทียบเช่นนี้ย่อมเปรียบไปได้เรื่อย ๆ ในทั้งสองทางคือ ทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ต่อเมื่อรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดเท่านั้น จึงจะมีมาตรฐานการวัดที่ถูกต้องอย่างแท้จริง สัจธรรมอันสูงสุดจึงจำเป็นต้องอยู่เหนือทั้งความชั่วและความดีทั้งหลาย จึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ที่พึ่งพาได้

ยุคของคนตาบอดจูงคนตาบอด
              เมื่อผู้นำรัฐเป็นคนตาบอดทางใจเสียเองแล้ว ผลเสียหายยิ่งร้ายแรงมากขึ้นและมีผลกระทบต่อคนหมู่มากอย่างน่าใจหาย เช่น รัฐบาลอังกฤษได้ออกกฎหมายอนุญาตให้ผับต่าง ๆ เปิดขายสุราได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้คนดื่มสุรามากขึ้นโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น นอกจากนั้น ยังยกเลิกกฎหมาย ไม่จัดกัญชาว่าเป็นยาเสพติดที่ร้ายแรงอีกต่อไป   ใครต่อใครจึงสามารถสูบกัญชาได้เหมือนสูบบุหรี่ ไม่ถูกจับมาลงโทษเหมือนสมัยก่อน  กฎหมายที่โง่เขลาเบาปัญญาเหล่านี้จึงกลายเป็นมาตรฐานสมมุติที่คนนำมาเปรียบเทียบความดีเลวของตนเอง และกลับกลายเป็นกฎหมายที่สร้างปัญหาสังคมอย่างไม่จบไม่สิ้น เป็นการช่วยส่งเสริมทำลายสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจของประชาชนของตนเองแทนที่จะช่วยปกป้องในฐานะผู้ปกครองที่ดี ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลแทนที่จะนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ หรือใช้ในสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ  นั้นกลับต้องมาทุ่มเทเพื่อแก้ปัญหาปลายเหตุที่รัฐบาลเป็นคนสร้างขึ้นมาเสียเอง
              ความอ่อนแอของสถาบันศาสนาทั่วโลกก็เป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้สังคมปั่นป่วนมากขึ้น เพราะไม่มีผู้นำทางจิตใจที่สามารถแสดงออกซึ่งภูิมิปัญญาทางธรรมอย่างแท้จริง จึงไม่สามารถยับยั้งกฎหมายที่เป็นโทษต่อสังคม สังคมจึงขาดทิศทางของชีวิตที่ถูกต้อง เกิดสภาวะที่ฝรั่งเรียกว่า massive misdirection of life เป็นยุคของคนตาบอดจูงคนตาบอดอย่างแท้จริง
              การนำคนหมู่มากไปสู่เป้าหมายปลายทางของชีวิตอันคือสัจธรรมอันสูงสุดนั้นควรเป็นหน้าที่ของผู้นำทางศาสนาที่ทำร่วมกับผู้นำทางการเมือง โดยที่ผู้รู้จริงต้องเป็นที่ปรึกษาให้นักการเมือง แต่เมื่อผู้นำทางศาสนาไม่มีความรู้เรื่องสัจธรรมอันสูงสุดแล้ว จึงไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้นักการเมืองได้ การนำสังคมจึงตกเป็นหน้าที่ของนักการเมืองและสื่อมวลชนซึ่งล้วนแต่มีตาใจที่มืดบอดและอดไม่ได้ที่จะทำตามอำนาจของกิเลสทั้งสิ้น แถมผู้นำศาสนาบางลัทธิกลับไปสอนให้คนเกลียดชังซึ่งกันและกัน ถึงขนาดสอนให้พลีชีพตนเองเพื่อฆ่าคนหมู่มากที่ไม่เห็นด้วยต่อลัทธิของตนเพื่อการได้ไปสวรรค์อยู่กับพระเจ้า อันเป็นการกระทำของคนมืดบอดอย่างสนิท เพิ่มปัญหาที่หนักหน่วงให้สังคมโลกโดยไม่จำเป็น
             
รุ่งอรุณของยุคมิคสัญญี
              ศีลธรรมสัมพัทธ์จึงกลายเป็นสาเหตุใหญ่ที่ก่อให้เกิดความล้มเหลวทางศีลธรรมของทั่วโลก เพราะคนยุคนี้มักถนัดที่จะหาคนที่เลวกว่าตนเองมาเปรียบเทียบด้วยเสมอ เพื่อจะได้รู้สึกว่าตนเองก็ยังมีส่วนดีอยู่ รวมทั้งค่านิยมต่าง ๆ ที่ทำให้ศีลธรรมย่อหย่อนเช่น ?ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป? การบูชาคนที่มีเงิน มีอำนาจและมีชื่อเสียง การทำผิดศีลธรรมของคนมั่งมีและมีชื่อเสียงกลับกลายเป็นเรื่องยอมรับของสังคมโดยเฉพาะการผิดศีลข้อสาม  คนไม่น้อยของยุคนี้อาจจะร่ำรวยและมีชื่อเสียงขึ้นมาได้เพราะการกระทำที่ทุจริตหรือทำมิจฉาอาชีพของตนเอง เช่น ขายมนุษย์ ขายอาวุธ ขายสิ่งเสพติดทั้งหลาย การให้เกียรติและบูชาคนผิดศีลธรรมเพียงเพราะเขาร่ำรวยจึงไม่ต่างจากการเอาหนังสือศีลธรรมมาเหยียบเล่น ทำให้เรื่องผิดศีลธรรมกลายเป็นเรื่องปกติของสังคมมากขึ้น เพราะไม่มีสิ่งดีที่สุดมาใช้เป็นมาตรฐานของการวัด
              จากการช่วยเหลือของฮอลลีวู๊ดที่ผลิตภาพยนตร์ที่เน้นการใช้ความรุนแรง ทำเรื่องการทำร้ายร่างกาย ฆ่ากัน ยิงกัน ให้เป็นเรื่องเท่ห์ เก๋ พร้อมกับเกมส์คอมพิวเตอร์ที่ส่วนมากเน้นแต่การทำร้ายซึ่งกันและกัน เด็ก ๆ จึงเห็นการกระทำผิดศีลธรรมเป็นเรื่องปกติ ธรรมดาไป  พฤติกรรมที่ไม่เอื้ออำนวยให้เข้าใจชีวิตอย่างถูกต้องเหล่านี้จะทำให้ศีลธรรมกลายเป็นเรื่องอดีตของมนุษย์ไปในที่สุด การใช้ชีวิตอย่างไร้ศีลธรรมจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์ไปในอนาคต ซึ่งเป็นการปูทางไปสู่ยุคมิคสัญญี คือ ยุคที่มนุษย์สามารถฆ่ากันด้วยความเข้าใจผิดว่ามนุษย์เป็นผักปลา อันเป็นกลไกหรือธรรมชาติธรรมดาของสังสารวัฏ นี่จึงเป็นยุคที่ปัจเจกบุคคลต้องรีบเอาตัวเองให้รอดโดยรีบทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ที่ดิฉันนำเสนอในหนังสือเล่มนี้

จุดนิ่งของจักรวาลสามารถยุติศีลธรรมสัมพัทธ์
              จะยุติสภาวะที่สับสนและยุ่งเหยิงของสังคมได้ก็ต้องหยุดคิดเรื่องศีลธรรมอย่างสัมพัทธ์หรือเปรียบเทียบ จะทำเช่นนั้นได้ จำเป็นต้องรู้เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการมีศีลธรรมจรรยาเสียก่อน คนจะต้องรู้ว่าทำไมนักการศาสนาหรือนักบุญทุกท่านที่ผ่านมาในโลกจะต้องสอนคนให้ทำแต่ความดีและมีศีลธรรมเสมอ เหตุผลหลักมีข้อเดียวคือ มันเป็นปัจจัยสำคัญช่วยให้ผู้รักษาศีลเข้าถึงสัจธรรมอันสูงสุด หรือ เข้าถึงพระเจ้า หรือ พระนิพพาน นั่นเอง   
               จุดนิ่งหรือจุดปกติของจักรวาลอันคงที่ถาวรเท่านั้นที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานการวัดทุกสิ่งในจักรวาลได้ ผลที่ได้ก็จะมีค่าคงที่ สมบูรณ์ แน่นอน ไม่ขึ้นอยู่กับการตีความที่ออกจากกรอบความคิดที่แตกต่างหลากหลายเหมือนการใส่แว่นต่างสีของปัจเจกบุีคคลอีกต่อไป จะเป็นการพูดโดยการเอาสัจธรรมเป็นแกนหลักเสมอ จึงเป็นคำพูดที่มีความหนักแน่น คงทน ถาวร ฉะนั้น แทนที่จะยอมก้มหัวให้กับทฤษฎีสัมพัทธ์ภาพโดยพูดว่า ?พูดอย่างสัมพัทธ์ relatively speaking? เราควรสร้างวัฒนธรรมทางภาษาที่เนื่องกับการรู้จุดคงที่ของจักรวาลขึ้นมาใหม่โดยใช้วลีเช่น ?พูดอย่างเด็ดขาด absolutely speaking? แทน เพื่อให้ทุกเรื่องของชีวิตโยงกลับไปสู่สัจธรรมอันสูงสุดได้เสมอ
               ไอน์สไตน์พูดว่า
              วิทยาศาสตร์นั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าการคิดเรื่องราวของชีวิตประจำวัน
               ฉะนั้น การรู้จุดปกติของจักรวาลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างแนบแน่น เป็นเรื่องการสร้างวิถีชีวิตที่ปกติอย่างแท้จริง นี่เป็นเรื่องเดียวที่จะสามารถแก้ปัญหาอันสับสนและสลับซับซ้อนที่เนื่องกับสังคมและศีลธรรมได้ เปรียบเหมือนการแก้ปมเชือกของเส้นด้ายจากต้นสุดหรือปลายสุด เพื่อปมอื่น ๆ จะสามารถหลุดออกเป็นเปาะ ๆ จนกลายเป็นเส้นตรงได้ 

ความรู้ทางโลกและทางธรรมต้องเดินควบคู่กัน                                                       
              ปัจจุบันนี้ งานวิจัยในวงการฟิสิกส์โดยส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อสานต่อภารกิจของไอน์สไตน์ เพื่อแสวงหาคำตอบในปริศนาหรือทฤษฎีเอกภาพที่ไอน์สไตน์ได้ทุ่มเทชีวิตในช่วง ๓๐ ปีสุดท้ายของเขา แต่ไม่สำเร็จ บรรดานักฟิสิกส์ยังเห็นพ้องต้องกันว่าควรต้องมีกรอบหลักการที่กว้างขวางครอบคลุมและเป็นพื้นฐานของทุกทฤษฎี จึงเป็นเป้าหมายที่ท้าทายอย่างยิ่งยวดและเป็นความใฝ่ฝันอันสูงสุดในวงการวิทยาศาสตร์
              ดิฉันมั่นใจเหลือเกินว่า พระนิิพพานในฐานะที่เป็นจุดปกติของจักรวาลนี่แหละคือกรอบหลักการที่กว้างขวาง ที่สามารถครอบคลุมเรื่องทุกเรื่องของจักรวาลและสามารถใช้เป็นพื้นฐานของทุกทฤษฎีได้ ความรู้ทางโลกโดยเฉพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องเดินเคียงข้างกับความรู้เรื่องพระนิพพานเสมอจึงจะปลอดภัย จึงแน่ใจได้ว่าจะไม่ถูกใช้ไปในทางที่ผิด ๆ  ถ้าหากขาดทฤษฎีเอกภาพอันคือพระนิพพานแล้วไซร้ ความรู้ทางโลกเหล่านั้นแม้จะเลิศเลอมหัศจรรย์และมีคุณค่าต่อการสร้างสรรค์อารยธรรมทางวัตถุมากเพียงใดก็ตาม มันก็ยังเป็นความรู้ในฝ่ายมืดที่มักถูกนำไปใช้เพื่อปรนเปรอกิเลสของมนุษย์ จึงเป็นความรู้ที่ยังหลงทิศอยู่ เป็นเรื่องการพายเรืออยู่ในหนองน้ำที่กว้างใหญ่ไพศาล เหมือนติดคุกใหญ่ที่ไม่มีทางออก เป็นความรู้ที่มีคุณภาพเหมือนผ้าขาวสีขุ่นมัว ไม่ใสแจ๋วเหมือนความรู้เรื่องพระนิพพาน อันเป็นความรู้เรื่องการออกจากคุกของชีวิตอย่างแท้จริง

สรุป
              ถึงแม้อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้จากโลกนี้ไปแล้วโดยที่เขายังไม่ได้พบสัจธรรมอันสูงสุดก็ตาม เขาก็ยังได้ทิ้งมรดกทางปัญญาอย่างมากมายให้แก่มนุษยชาติที่ควรได้รับการยกย่องและระลึกถึงเสมอ แต่สำหรับดิฉันแล้ว มรดกที่สำคัญที่สุดที่ไอน์สไตน์ได้ทิ้งให้แก่มนุษยชาติคือ การตั้งคำถามของเขาในเรื่องเกี่ยวกับจุดนิ่งหรือจุดปกติของจักรวาลและทฤษฎีเอกภาพ รวมทั้งการชี้ทางไปสู่การหาคำตอบในพระพุทธศาสนา
              ดิฉันอยากเชื่อว่า ความคิดนี้ของไอน์สไตน์จะสามารถสร้างความตื่นตัวในหมู่ปัญญาชนโดยเฉพาะปัญญาชนไทยให้กลับมาเสาะแสวงหาภูมิปัญญาของพระพุทธเจ้ามากขึ้น ซึ่งภูมิปัญญาในส่วนพระนิพพานหรือสัจธรรมอันสูงสุดที่ดิฉันนำเสนอในหนังสือเล่มนี้ เป็นการเรียนรู้ที่อยู่เหนือกรอบแห่งประเพณีและวัฒนธรรมทางศาสนาต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องครอบจักรวาล เป็นเรื่องสากลที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยเหตุผลและวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง  ไม่จำเป็นต้องแยกระหว่างการเชื่อศาสนาหรือเชื่อวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด จึงเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่ทุกคนเข้าถึงได้
              ดิฉันเห็นว่านี่เป็นวิธีการเดียวที่จะสามารถรวมมนุษยชาติให้เป็นเอกภาพได้ในฐานะที่ทุกคนเป็นมนุษย์ของดาวนพพระเคราะห์ดวงนี้เท่าเทียมกันหมด
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: pass07 เมื่อ 22 สิงหาคม 2008, 09:42:04
 ;khhg ;khhg ;khhg เป็น บทความที่ดี ครับ   
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: cmman573 เมื่อ 25 สิงหาคม 2008, 22:18:01
ขอบคุณ ไอน์สไตน์ ที่ทิ้งมรดกให้โลกใบนี้ครับ
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: cmman573 เมื่อ 26 สิงหาคม 2008, 08:50:02
อ้างจาก: นายอ่อนด๋อย เมื่อ 26 สิงหาคม 2008, 02:14:50
ขอบคุณครับที่ได้อ่านบทความนี้จนจบ  ;khhg
เอิ๊ก แกเข้ามาอ่านธรรมะ ธรรมโมกับชาวบ้านเค้าด้วย
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: golfmanu00 เมื่อ 27 สิงหาคม 2008, 09:49:29
สุดยอดคับ
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: Lostman133 เมื่อ 18 กันยายน 2008, 01:20:22
 hgjhgมันสุดยอดมาก
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: nincmx เมื่อ 15 ธันวาคม 2008, 18:30:31
ขอบคุณ ในข้อคิดที่ลึกซี้ง
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: kon62 เมื่อ 22 มกราคม 2009, 15:35:52
อยากอ่านจะไปซื้ออ่านครับ
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: Disc เมื่อ 06 กุมภาพันธ์ 2009, 14:44:03
 fdgdfdf ธรรมะ กับ วิทยาศาสตร์....
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: kalam เมื่อ 24 มีนาคม 2009, 17:48:08
จับแพะชนแกะ  -0987
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: KopkE เมื่อ 10 เมษายน 2009, 13:37:02
ขอบคุณครับสำหรับบทความดีดี แบบนี้ครับ

.,mn  .,mn  .,mn  .,mn
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: kaka123 เมื่อ 12 เมษายน 2009, 02:53:02
ดีแล้วครับ jhg jhg
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: sleepypop เมื่อ 26 กรกฎาคม 2009, 23:13:06
ไอสะไตล์ เป็นพุทธรึป่าวครับ
ชื่อ: Re: ไอน์สไตน์ถาม พระพุทธเจ้าตอบ
โดย: bnakorn เมื่อ 02 มกราคม 2010, 13:20:15
ยังอ่านไม่จบเล่มเลยครับ