ความเร็วซีพียูนั้นสำคัญขนาดไหน
ตามปกติแล้วความเร็วสัญญาณนาฬิกาของซีพีูยูจะเป็นสิ่งที่ใช้ตัดสินประสิทธิภาพการทำงานของซีพียูได้ชัดเจน
ที่สุด...แต่สำหรับซีพียูสมัยใหม่แล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เครื่องตัดสินอีกต่อไป...นั่นคือซีพียูยุคใหม่จะตัดสินประสิทธิภาพ
กันที่ความสามารถในการทำงานในช่วงหนึ่งระยะสัญญาณนาฬิกามากกว่า ซีพียูที่ทำงานด้วยความเร็วสูงจึงไม่แน่
ว่าจะมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าเสมอไป
......ซีพียูเอเอ็มดีก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เช่นกัน และเมื่อนำผลในเชิงประสิทธิภาพมาเปรียบเทียบเป็นตัวเลข
สัญญาณนาฬิกาของซีพียูแล้ว ความเร็วที่แสดงเป็นตัวเลขค่า PR (Performance Rate) ของซีพียูนั้น
จะสูงกว่าความเร็วในการทำงานจริงๆ มาก เช่น Athlon 3800+ ทีมีความเร็วในการทำงานเพียง 2.4GHz
แต่ประัสิทธิภาพในการทำงานของซีพียูนั้นเทียบเท่าหรือดีกว่าการทำงานของซีพียูอื่นทีมีความเร็วถึง 3.8GHz
เลขทีเดียว
หน่วยความจำสำหรับซีพียู
.....ในระหว่างประมวลผล ซีพียูจะมีการเรียกใช้ข้อมูลตลอดเวลาและหน่วยความจำก็เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ
ที่จะช่วยให้การประมวลผลของซีพียูนั้นทำงานได้เร็วขึ้นหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ประสิทธิภาพของระบบนั่นเอง
กล่าวคือซีพียูมีการร้องขอข้อมูลระบบจะเข้าไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำแคชระดับหนึ่ง (L1)
เป็นอันแรกและจะเปลี่ยนไปเป็นหน่วยความจำระดับสอง (L2) ซึ่งหน่วยความจำทั้งสองนี้จะติดตั้งอยู่ในตัวซีพียู
และโดยมากแล้วก็จะทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู แต่หากไม่พบข้อมูลระบบก็จะเปลี่ยนไปค้นหาข้อมูลจาก
หน่วยความจำหลักและฮาร์ดดิสต่อไป
.....ในกรณีที่พบข้อมูลแล้ว ระบบจะเขียนข้อมูลเหล่านั้นลงไปในหน่วยความจำระดับหนึ่ง (L1) ทีมีความเร็วสูง
กว่าแทนด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่าระบบจะทำงานได้เร็วขึ้นเมื่อซีพียูต้องการข้อมูลนี้อีก แต่ปัญหาก็คือ
การทำงานดังกล่าวนี้ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องพื้นทีในหน่วยความจำแคชเต็มได้ แต่สำหรับกรณีของหน่วยความจำ
แคชของซีพียูจากเอเอ็มดีซึ่งเป็นแบบ Exclusive นั้น หากหน่วยความจำระดับหนึ่ง (L1) ถูกใช้จนเต็มในขณะที่
ระบบต้องการเขียนข้อมูลใหม่ลงไปอีก อัลกอริทึ่ม LRU (Lasted Recently Used) จะทำการตรวจสอบข้อมูล
และย้ายไปไว้ที่หน่วยความจำระดับสอง (L2) จากนั้นจะเคลียพื้นที่หน่วยความจำระดับหนึ่งให้ว่างเพื่อที่จะได้
เขียนข้อมูลใหม่ต่อไป
.....จากโครงสร้างการทำงานดังกล่าวนี้จะเห็นได้ว่า ยิ่งหน่วยความจำแคชระดับหนึ่ง (L1) มีขนาดใหญ่ก็จะยิ่ง
ทำให้ระบบบันทึกข้อมูลทีซีพียูใ้ช้บ่อยๆ ได้มากขึ้น ซึ่งนั่นก็ทำให้ซีพียูและระบบทำงานได้เร็วขึ้นตามไปด้วย
และซีพียูของเอเอ็มดีทุกรุ่นก็มีหน่วยความจำระดับหนึ่ง (L1) ขนาดใหญ่ถึง 128K ทุกุรุ่น
คุณสมบัติพิเศษเพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า Hyper-Transpot Technology
.....ระบบการส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงแบบ 2 Ways ระหว่างซีพียูของเอเอ็มดีและชิปเซต ซึ่งไม่ว่าจะเป็นซีพียู
ซ็อกเก็ต 754 หรือซ๊อกเก็๖ 939 ก็ต่างใช้ระบบ 2-Way นี้ นั่นหมายความว่าในหนึ่งช่วงสัญญาณนาฬิกา
ซีพียูสามารถรับและส่งข้อมูลกับชิปเซตได้พร้อมๆกัน หรือคิดเป็นปริมาณข้อมูลขนาด 32 บิต
ในกลุ่มซีพียูซ็อกเก็ต 754 จะีมีระบบบัส Hyper-Transpot ทำงานด้วยความเร็ว 800MHz ส่วนซีพียูในกลุ่ม
ซ็อกเก็ต 939 จะทำงานด้วยความเร็ว 1000MHz โดยความเร็วทั้งสองนี้ต่างก็ถูกกำหนดมาจากความเร็ว
สัญญาณนาฬิกา 200MHz ของระบบที่สร้างขึ้นจากการทำงานของชิปเซต โดยการสนับสนุนการทำงาน
ของซีพียู ชิปเซ็ตจะมีการกำหนดตัวคูสัญญาณนาฬิกาของระบบ Hyper-Transpot ของซีพียูไว้แล้ว
อย่างชัดเจนคือ หากเป็นซีพียูซ็อกเก็ต 754 จะกำหนดด้วยค่า 4x ส่วนซีพียูซ็อกเก็ต 939 จะำกำหนดด้วยค่า
5x ดังนั้นเมื่อระบบมีความเร็ว 200MHz ความเร็วระบบบัส Hyper-Transport ของซีพียูจึงสูงขึ้นเป็น
800 MHz และ 1000MHz ตามลำดับ แต่เนื่องจากบบบัส Hyper-Transport เป็นการส่งข้อมุลแบบ 2-Ways
ดังนั้นความเร็วที่ได้จริงๆ จึงเพิ่มขึ้นอีกสองเท่าคือ 1600MHz และ 2000MHz ตามลำดับ
Integrate Memory Controller
.....พัฒนาใหม่ของซีพียูจากเอเอ็มดีก็คือ การนำคอนโทรเลอร์หน่วยความจำมารวมไว้บนซีพียูโดยตรง
แทนที่จะเป็นชิปเซ็ตของซีพีพยูรุ่นที่ผ่านมา ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ ซีพียูสามารถเข้าถึงข้อมูลในหน่วยความจำหลัก
ได้เร็วขึ้นเนื่องจากลดค่า Latency ของการทำงานจนเหลือเพียงแค่ 1 ใน 3 เท่านั้น เมื่อเทียบกับการใช้
คอลโทรลเลอร์ที่อยู่ภายนอกหรือโดยเฉพาะชิปเซ็ต เพราะคอลโทรลเลอร์หน่วยความจำที่ติดตั้งอยู่ในซีพียูนั้น
จะส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบบัสที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับซีพียู
.....คอลโทรลเลอร์หน่วยความจำนี้จำมีความแตกต่างกันตามลักษณะของซีพียูคือ ในกรณีที่เป็นซีพียูซ็อกเ็ก็ต 754
คอลโทรลเลอร์ที่ใช้จะเป็นแบบ Single Channel ในขณะที่ซีีพียูซ็อกเ็ก็ต 939 จะเป็นแบบ Dual Channel
ดังนั้นเมื่อทำงานกับหน่วยความจำแบบ DDR400 แบนด์วิดธ์จึงมีสูงถึง 6.4GHz/s.
Cool'n' Quiet และ PowerNow!
.....นอกจากซีพียูสำหรับโน็ตบุคแล้ว ซีพียูสำหรับเดสก์ท็อปส่วนใหญ่ของเอเอ็มดี ก็จะมีการใช้ระบบประหยัด
พลังงานด้วย โดยหลักการแล้วก็แทบไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย นั่นคือซีพียูจะมีการปรับตัวคูณสัญญาณนาฬิกา
(ซึ่งเป็นผลกับความเร็วในการทำงานของซีพียู) และแรงดังไฟให้เหมาะสมกับการทำงานของระบบโดยอัตโนมัติ
กล่าวคือ หากระบบไม่มีการโหลด ซีพียูจะลดตัวคูณสัญญาณนาฬิกา (ความเร็วในการทำงานของซีพียูลดลง)
และแรงดันไฟให้ต่ำลง แต่หากเมื่อใดที่ระบบมีระดับการโหลดที่สูงขึ้น ซีพียูก็จะเพิ่มตัวคูณสัญญาณนาฬิกา
(ความเร็วในการทำงานของซีพียูเพิ่มขึ้น) และแรงดันไฟเพิ่มอัตโนมัติ กลับไปกลับมาเช่นนี้ตามสภาพการ
โหลดของระบบ โดยที่จังหวะการปรับตัวของซีีพียูนั้นไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบเลย
.....การทำงานในลักษณะดังกล่าวนี้ส่งผลให้ซีพียูใช้พลังงานน้อยลงและช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
ซึ่งก็ส่งผลให้พัดลมระบายความร้อนของซีพียูทำงานเงียบขึ้น เนื่องจากไม่ต้องหมุนด้วยความเร็วสูงเพื่อระบาย
ความร้อนของซีพียูนั่นเอง
AMD 64 Technology
.....เอเอ็มดีเป็นผู้ผลิตรายแรกที่มีการออกแบบให้เครื่องระดับเดสก์ท็อปสามารถประมวลผลแบบ 64 บิตได้ โดย
ได้มีการเพิ่มเทคโนโลยี AMD64 ซึ่งเป็นส่วนขยายของชุดคำสั่ง x68 IA-32 นี้เข้ามาไว้กับซีพียู โดยชุดคำสั่ง
AMD64 จะยอมให้ซีพียูประมวลผลได้กับทั้งชุดคำสั่งที่เป็น 64 บิตและ 32 บิตในเวลาเดียวกันโดยจะมีริจิสเตอร์
GPR จำนวน 8 ตัวทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฟังก์ชั่นพื้นฐานทั้งหมด พร้อมกับการจัดการตำ่แหน่งข้อมูล
ในหน่วนความจำด้วย ซึ่งเมื่อชุดคำสั่งและรีจิสเตอร์แบบ 64 บิตสนับสนุนการทำงานระหว่างกันประสิทธิภาพ
จะเพิ่มสูงขึ้นอีกอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ในทางทฤษฎีแล้วระบบ 64 บิตนี้ยังทำให้ระบบปฏิบัติการ
หน่วยความจำได้มากถึง 16EB เลขทีเดียว
Enhanced Virus Protection
.....ระบบป้องกันปัญหา Buffer Over Flow ในระดับฮาร์ดแวส์สำหรับไวรัสและเวิร์มต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อระบบ
ซึ่งเอเอ็มดีได้นำมาใช้กับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ทุกรุ่น โดยเทคนิคดังกล่าวนี้จะใช้บิตข้อมูลบิตหนึ่งในรีจิสเตอร์ทำหน้าที
กำหนดส่วนของหน่วยความจำให้โปรแกรมที่อยู่ในหน่วยความจำนั้นสามารถทำงานได้ อย่างไรก็ตามระบบ
ป้องกันนี้จะสามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับการสนับสนุนจากระบบปฏิบัติการเท่านั้นเช่น วิสโดว์เอ็กซ์พี 64 และ
วินโดว์เอ็กซ์พี 32 บิตที่ได้รับการติดตั้ง Service Pack 2
ขอบคุณข้อมูลจาก www.amd.com
ยืนยันอีกคน AMD เมพๆ /jhtdc
ชอบเหมือนกันแต่โดนบังคับ เพราะใช้โน๊ดบุค 09876
เครื่องรุ่นใหม่ ไม่ว่าสเปคไหน ก้อดีหมดอ่ะเคอะ อยู่ที่เราจาเอาไปใช้มากกว่า
สรุปคือ แล้วแต่ดวง อิๆๆ คือมันจาดีมันก้อดีนาน บทมันจาเสียมันก้อเสีย
ไอ้ตัวที่ใช้โพสตอบท่านก็ AMD นั่นล่ะครับ เทพจริงๆๆๆๆๆๆ
ยังไม่ได้ลองเอเอ็มดีเลยครับ อยากลองเหมือนกันครับ
ผมใช้มาทั้ง Intel ทั้ง AMD นี่ล่ะครับ
ชอบ AMD มากกว่ารู้สึกว่ามันเร็วกว่าจริงๆอ่ะในรุ่นเดียวกันนะ + เทียบราคาคุ้มกว่าด้วย ส่วนเรื่องร้อนอ่ะ Intel บางรุ่นร้อนมากๆ ร้อนกว่า AMD เยอะเลยจริงๆ
เมื่อก่อนใช้ P166 ดีกว่าเร็วกว่า AMD (ตอนนั้น)----->celeron 1.1(คุ้มกว่าในระดับล่าง)--------> sampron2200+@1.6 ตอนนี้ใช้อยู่ประหยัดกว่า คุ้มกว่า แรงกว่าด้วยนะผมว่า
ผมเป็นสาวก AMD ครับ ใช้มา 3 เครื่องละ
pongz pongz pongz pongz
แรง สำคัญถูกกว่า ijn
เมื่อก่อนผมก็สาวก AMD นะครับ
แต่รุ่นใหม่ๆมันเป็นอะไรก็ไม่รู้ Bug เยอะมากๆ
ถ้าใครเขียนโปรแกรมจะรู้ดีว่า CPU AMD จะมี Error เยอะกว่า Intel ครับ
ฟันธง
ไม่เคยใช้เลย เห็นว่ามันร้อนนนนมากก
มันอยู่ที่การดูแลของแต่ละคนครับ และ แต่ละคนการใช้งานแตกต่างกันครับ ถึงจะเป็น Intel หรือ AMD ก็เถอะ ส่วนตัวผมนี่ ตั้งโต๊ะจะเป็น AMD ครับ แต่โน๊ตบู๊คใช้ Intel ครับ แต่ก็รู้สึกของทาง AMD จะประมวลผลที่เร็วกว่าเคยลองเทียบระหว่างโน๊ตบุ๊คกับโน๊ตบุ๊คครับ ของเพื่อนนี่ AMD TurionX2 ของผม Intel Core 2 Duo ครับ เร็วกว่ากันนิดหน่อยนะท่าน
cpu รุ่นใหม่ๆเดี๋ยวนี้ไม่ร้อนหรอกครับ
ตั้งแต่มีนาโนเทคโนโลยีมาเนี่ย ยี่ห้อไหนยังร้อนอยู่ก็ง้าวเต็มทีแล้ว
แต่ผมมีเรื่องตลกอย่างนึง
มีคนบางกลุ่มที่คลั้งไคล้ AMD นักหนา
แต่พอผมถามว่า "รู้ไม๊ว่า AMD ย่อมาจากอะไร"
กลับไม่มีใครตอบได้เลยซักคน
อ้างจาก: alica เมื่อ 01 ธันวาคม 2008, 13:05:19
ผมใช้มาทั้ง Intel ทั้ง AMD นี่ล่ะครับ
ชอบ AMD มากกว่ารู้สึกว่ามันเร็วกว่าจริงๆอ่ะในรุ่นเดียวกันนะ + เทียบราคาคุ้มกว่าด้วย ส่วนเรื่องร้อนอ่ะ Intel บางรุ่นร้อนมากๆ ร้อนกว่า AMD เยอะเลยจริงๆ
ครับ..ผมเคยได้ยินคนพูดกันเรื่องนี้เยอะ ไม่เคยใช้ Intel นะครับ เพราะใช้แต่ AMD สาเหตุก็มาจากราคานี่หล่ะครับ
ijn
amd นี่ย่อมาจาก
อามันด้าเป่าอะ l,l, l,l, l,l, 9ijn
ตกลงว่า AMD เร็วกว่าแต่ Bug เยอะใช่ไหมท่าน uhb
เอาแบบฟันธงจากประสบการณ์จริงเลยนะ
ใน Clock Speed เท่ากันยืนยันว่า AMD เร็วกว่าครับ
แต่ความเร็วกว่าของ AMD จะเป็นความเร็วที่ไม่ค่อยเสถียร
ก็คือเร็วแบบกระชากๆเป็นห้วงๆ
ต่างจากของ Intel ที่นิ่งๆเรื่อยๆเสมอต้นเสมอปลาย
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่ว่าจะใช้ทำอะไรครับ
ถ้าจะเอาไปเล่นเกมหรือใช้งานปกติที่ชาวบ้านชาวเมืองใช้กันผมแนะนำ AMD
แต่ถ้าใช้งานแบบที่มี Process เข้าไปประมวลผลใน CPU เยอะๆผมแนะนำ Intel
สังเกตง่ายๆลองเปิดเกมมาพร้อมๆกันหลายๆเกม (ซึ่งปกติเค้าไม่ทำกันอย่างงั้น)
CPU ของ Intel จะทำงานได้ดีกว่า เพราะจัดการ throughput ได้ดีกว่า
หรือถ้าลองใช้โปรแกรม Benchmark CPU ของ Intel มักจะได้คะแนนดีกว่าครับ
แต่ถ้าจะเทียบเรื่องราคามันก็เป็นอีกเรื่องนึงนะครับ
ลองดู Chart นะครับ
อันนี้เป็นการทดสอบโดยใช้โปรแกรม
3DMark Vantage 1.0.2 (เอาเฉพาะคะแนนของ CPU อย่างเดียว)
(http://images.temppic.com/24-11-2009/images_vertis/1259049383_0.24456000.png) (http://www.temppic.com/img.php?24-11-2009:1259049383_0.24456000.png)
จะเห็นว่า AMD ไม่ติดฝุ่น Intel
แต่อันนี้เป็นการรันเกม GTA IV 1.0.3 (ในโหมด 1280x1024 Medium settings, Vsync off)
วัดเอาหน่วยเป็น FPS (Frame Per Sec.)
(http://images.temppic.com/24-11-2009/images_vertis/1259049384_0.65872400.png) (http://www.temppic.com/img.php?24-11-2009:1259049384_0.65872400.png)
จะเห็นว่าคะแนนของ AMD จะกระเตื้องขึ้นมา
สรุปคือถ้าชอบความแรงแบบชนิดที่บ้านกูรวย
ผมแนะนำให้ซื้อ Intel ไปดีกว่า
แต่ถ้าจะเอาในแง่คุ้มเงิน AMD เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นี่สนใจ
ปล.ว่าแต่ดู CPU แต่ละรุ่นที่มันเอามาทดสอบสิ :-X
ขอบคุณท่าน GOWA มากคับ ;khhg
เห็นภาพชัดเจนเลย yhb
คอม เครื่องใหม่ ของผม ก็เล็ง AMD ไว้ นะครับ...
แต่ตัวเก่าก็เป็น AMD เหมือนกัน...
intel แรงกว่านิดหน่อยแต่แพง
Amd แรงน้อยหน่อยแต่ราคาคุ้ม
ถ้าไม่มีAMD คอยขัดขา Intel มันจะขายแพงกว่านี้
มีคอม 5 เครื่องผ่านมา AMD หมดครับ ขอเขาดีและถูกจริง
เพราะ AMD มันถูกกว่า Intel 5++ kick