(http://image.ohozaa.com/i/676/qS034h.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKJ8TYHoHNU0IYQ)
ขึ้นชื่อว่าตัวประหลาดแล้ว ก็ย่อมจะมีตัวที่ผิดปกติไปจากสิ่งที่ควรจะเป็นมีอยู่ บ้างประหลาดแบบน่ากลัวบ้าง
ประหลาดแบบน่ารัก ส่วนใหญ่จะเอาไว้หลอกเด็กดื้อให้เชื่อฟัง โดยเฉพาะตัวประหลาดของฝรั่งมักจะแฝงอยู่ใน
เรื่องเล่าลึกลับหรือตำนานพิศวง (Mythology) หรือเรื่องราวเกี่ยวกับเทพกรณัมต่างๆ ทำให้ตัวประหลาด
ในวัฒนธรรมของฝรั่งค่อนข้างเป็นที่รู้จักและแพร่หลายมาอย่างยาวนาน ทุกวันนี้เรื่องเกี่ยวกับตัวประหลาดดังกล่าว
จะได้สอดแทรกอยู่ในภาพยนตร์ เกมส์ หรือละครของตะวันตก แฟนานุแฟนหลายท่านน่าจะเคยผ่านตามาบ้าง
ไม่มากก็น้อย วันนี้ขอนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับหนึ่งในตัวประหลาดของเทพนิยาย มันมีชื่อว่า...
อ๊อกร์ (Ogre)
(http://image.ohozaa.com/i/24b/QccEKu.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKJAUizNww70i5r)
อ๊อกร์ มีรูปร่างเป็นตัวประหลาดขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างคล้ายคลึงมนุษย์ (Humanoid) แต่ที่ควรรู้ไว้คือ
อ๊อกร์เป็นตัวประหลาดในเทพนิยายหรือนิทานพื้นบ้านในยุโรป ซึ่งสร้างสรรค์จินตนาการเกี่ยวกับอ๊อกร์
ในวรรณกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง ในด้านศิลปะ ฝรั่งมักจะจินตนนาการว่าอ๊อกร์มีหัวขนาดใหญ่
มีผมและเคราดกหนา และมีร่างกายที่แข็งแรง ในอีกด้านคนยุโรปมักจะเปรียบเทียบคำว่าอ๊อกร์กับคนที่ดูเถื่อน
ดิบหรือโหดร้ายกับศัตรู
นอกจากนี้ผู้ใหญ่มักจะใช้อ๊อกร์ไว้ขู่เด็กๆ ที่มักจะดื้อแพ่งไม่เชื่อฟังพ่อแม่ โดยเล่าว่าหากเด็กๆทำตัวไม่ดี จะทำให้
อ๊อกร์สนใจและลักพาเพื่อกินเด็กคนเสีย แต่ว่าก็มีนักเขียนอีกกลุ่มกลับมองอ๊อกร์ในมุมที่แตกต่างไปเพราะเชื่อว่านิสัย
ส่วนใหญ่ของอ๊อกร์นั้นขี้อาย และชอบหลบหลีกจากสังคม
อ๊อกร์ออกเสียงและมีตัวสะกดเหมือนกันทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส แต่แตกต่างจะภาษาอิตาลีเล็กน้อยที่เรียกว่า
Orgo หรือ Orco ที่หมายถึงสัตว์ประหลาด ซึ่งน่าจะแปลงมาจากภาษาละตินที่เรียกว่า Orcus
(http://image.ohozaa.com/i/2ad/BRNsyD.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKJ16rH9K9cnnls)
อ๊อกร์ปรากฏตัวขึ้นในโลกวรรณกรรมสมัยใหม่ของฝรั่งเศส ว่ากันว่าได้ถูกอ้างอิงอยู่ในวรรณกรรมของ ชาร์ล แปร์โรต์
(Charles Perrault) เมื่อ ค.ศ.๑๖๙๖ ในเรื่อง Tales of Mother Goose ซึ่งน่าจะเป็นนักเขียนรุ่นแรกผู้บุกเบิก
เกี่ยวกับวรรณกรรมแนวใหม่ที่ว่าด้วยเทพนิยายเป็นหลัก รวมถึงเรื่อง Le Chat botte และ Le Petit Poucet
ซึ่งก็ได้อ้างอิงถึงเรื่องอ๊อกร์ด้วย ขณะที่วรรณกรรมเด็กปัจจุบันก็ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของอ๊อกร์อย่างแพร่หลายเช่นกัน
เช่นงานเขียนของ C.S.Lewis, J.R.R. Tolkien, Ruth Manning-Sanders และ Piers Anthony เป็นต้น
(http://image.ohozaa.com/i/feb/hWwp3E.png) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKIP3avvX36MF8H)
นอกจากนั้นแล้วอ๊อกร์ยังปรากฏตัวในเกมส์คอมพิวเตอร์อยู่หลายเกมส์ เช่น Final Fantasy, RuneScape, Warcraft,
Two Worlds และ Ogre Battle เป็นต้น และที่สนใจกว่านั้น ยักษ์เขียวผู้ใจดีของเด็กอย่าง Shrek ก็เป็นหนึ่งใน
เผ่าพันธุ์ของอ๊อกร์สมัยใหม่ ซึ่งมีรูปร่างใหญ่ตัวเขียวแต่ไม่ดุร้ายเหมือนอ๊อกร์ทั่วไป
ลองมาพิจารณารูปร่างลักษณะของอ๊อกร์โดยทั่วไป จะพบว่าอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น คือตัวใหญ่และมีรูปร่างที่ไม่ค่อย
สมส่วนเสียเท่าไร อย่างไรก็ตามอ๊อกร์แต่ละตัวก็ใหญ่กว่ามนุษย์ทั่วไป นอกจากนี้อ๊อกร์ยังมีรูปร่างแข็งแรง มีหัวกลม
ท้องนูนใหญ่และผมและหนวดเคราดก มีฟันขนาดใหญ่อยู่เต็มปาก และที่สำคัญหน้าตาดูไม่หล่อหรือว่ากันง่ายๆก็คือ
อัปลักษณ์นั้นเอง มาพร้อมกับกลิ่นที่มีความดุร้าย มีผิวหนังที่ค่อนข้างหยาบสีออกน้ำตาลหากอยู่ในยุโรป แต่ว่าใน
ทางเอเชียบ้านเราผิวของอ๊อกร์จะดูสว่างกว่าหรืออาจมีสีส้มก็มี
(http://image.ohozaa.com/i/c97/VWxs3Q.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKJFa2LcuvdRyBZ)
คราวนี้ลองมาดูอ๊อกร์ของเอเชียบ้านเราดีกว่า อ๊อกร์ที่มีชื่อที่สุดอาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น คนที่นั้นเรียกตัวประหลาดนี้ว่าโอนิ (Oni)
มาจากนิทานพื้นบ้านปรัมปรา เป็นตัวประหลาดที่มีเอกลักษณ์เป็นที่โดดเด่น ปรากฏตัวอยู่ในงานศิลปะ วรรณกรรม
และการแสดงของญี่ปุ่นอย่างแพร่หลาย
(http://image.ohozaa.com/i/cf0/rmNbLd.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKIV4O6kWZhEPFe)
ลักษณะของโอนิที่ได้ถูกบรรยายส่วนใหญ่จะมีลักษณะร่วมกันคือ ลักษณะคล้ายคลึงกับอ๊อกร์ ตัวใหญ่ ชอบหลบซ่อนตัว
จากสังคม มีอุ้งมือขนาดใหญ่ ผมยุ่งเหยิง และที่เป็นจุดเด่นคือมีเขาทั้งสองข้างงอกออกมาจากหัว มีรูปร่างคล้ายคนโดยมาก
อย่างไรก็ตามก็มีรูปร่างลักษณะบางอย่างที่ดูอย่างไรก็ไม่เหมือนคนอยู่ดี เช่น มีดวงตาที่มากกว่าปกติ หรือมีนิ้วมือและ
นิ้วเท้าขนาดใหญ่ ผิวหนังมีหลายสี แต่ว่าสีส้มหรือสีแดงดูจะเป็นสียอดนิยมของนักเขียนญี่ปุ่นที่วาดให้กับโอนิ
โอนิมักจะชอบใส่เสือคลุมที่ทำมาจากหนังเสือและถือกระบองเหล็ก ที่เรียกว่า Kanabo ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสัญลักษณ์
ความเข้มแข็งที่ไม่สามารถจะเอาชนะได้
โอนิจากที่เคยมีชีวิตหรือมีอยู่จริง เวลาได้ทำให้โอนิกลายเป็นสิ่งที่ดูเสมือนมนุษย์ และได้รับการทำให้มีความร่วมสมัยยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะการผสมผสานความเชื่อนี้เข้ากับความเชื่อทางพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับยักษ์นั้นเอง (yaksha) นอกจากนี้
ยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับจินน์ของดินแดนอาหรับด้วย
(http://image.ohozaa.com/i/fc3/OJ26Iv.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKJNjyrISqgYYdi)
ข้อมูลอีกแหล่งก็อ้างว่า ภาพลักษณ์ของโอนิมาจากแนวคิดจากเมืองจีนและออนเมียวโด ว่ากันว่าทางตะวันออกเฉียงเหนือ
ครั้งหนึ่งเคยถูกเรียกว่าเป็น คิมอน (kimon) หรือประตูปีศาจ และเชื่อว่าเป็นทางที่ไม่เป็นมงคลเพราะเป็นทางที่วิญญาณ
ภูตผีปีศาจใช้ผ่าน นอกจากนี้ คิมอน ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่าเป็นทางที่เสือผ่านด้วย (ushitora)
วัดในญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะสร้างในตำแหน่งทิศทางที่ตรงกันข้ามกับคิมอน สิ่งปลูกสร้างของชาวญี่ปุ่นมักจะมีการย่อเป็นรูปตัว L
ณ ตำแหน่งทิศตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อห่างไกลจากโอนินั่นเอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ เอ็นริยากูจิ บนภูเขาเฮเอ
ทางตะวัดออกเฉียงเหนือของกรุงเกียวโต และคาเนอิจิ นอกจากนี้เมืองหลวงของญี่ปุ่นเองก็พยายามหลีกเลี่ยงเมือง
ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างเมือง นาโงย่าหรือเกียวโตในศตวรรษที่ ๘
(http://image.ohozaa.com/i/4f6/cS7Udj.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKIXUDyBs3wi5ga)
หมู่บ้านบางแห่งในญี่ปุ่นจัดงานฉลองประจำปีเพื่อขับไล่โอนิ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ระหว่างช่วงเทศกาล
เซตซูบัน (Setsuban) ชาวบ้านจะขวางถั่วเหลือออกจากบ้านและตะโกนว่า โอนิจงออกไป และพรที่ปรารถนาจงเข้ามา
(Oni wa soto! Fuku wa uchi!) นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าลิงจะเป็นสิ่งที่ป้องกันโอนิได้ ส่วนใหญ่จึงมักสร้างรูปปั้นลิง
ไว้ตามหมู่บ้าน เพราะคำว่าลิงในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า saru ที่มีความหมายว่าออกไป ตามตำนานพื้นบ้านยังเชื่อว่า
ต้นฮอลลี่ (Holly เป็นพืชที่มีผลสีแดง และอยู่ในตระกูล Ilex) สามารถใช้ป้องกันโอนิได้เช่นเดียวกัน
ต่อมาในปัจจุบัน เข้าใจว่าการรับรู้เกี่ยวกับด้านที่ชั่วร้ายของโอนิได้ผ่อนคลายลงไปมากจากความหมายดั้งเดิม
และถูกตีความไปในทางที่จะเป็นสิ่งที่พิทักษ์จากความชั่วร้ายไปเสียเอง ทุกวันนี้ ผู้ชายที่แต่งการเลียนแบบโอนิ
จะเป็นผู้นำขบสนพาเหรดที่แสดงให้เห็นถึงการจัดการให้ความชั่วร้ายออกไป เช่น สิ่งปลูกสร้างทุกวันนี้นิยมมี
แผ่นกระเบื้องบนหลังคาเป็นรูปโอนิ นัยว่าใช้ป้องกันความชั่วร้ายและสิ่งอัปมงคล เช่นเดียวกับการประดับตัว
การ์กอยในวัฒนธรรมตะวันตก
(http://image.ohozaa.com/i/735/Ki3slr.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKIELMJigTtYDfT)
ย้อนกลับมาถึงข้อสันนิษฐานของนักวิชาการที่พยายามหาคำตอบว่าแท้จริงแล้วอ๊อกร์มีที่มาที่ไปอย่างไรในทางวิชาการ
และทำไมจึงมีอิทธิพลต่อชาวบ้านต่างวัฒนธรรมทั้งยุโรปและเอเชีย คำตอบก็คือ นักวิทยาศาสตร์ต่างสันนิษฐานว่า
อ๊อกร์น่าจะเป็นมนุษย์ดึกดำบรรพ์นีแอนเดอร์ธัลส์ (Neanderthals) ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่เคยอาศัยอยู่ในยุโรป
และตะวันตกของเอเชีย
ฮวน ลูอิส อาร์ซัวกา (Juan Luis Asuaga) นักโบราณคดีบรรพ์วิทยาชาวสเปนได้ตั้งข้อสมมติฐานตามหลักฐาน
ฟอสซิลว่าชาวนีแอนเดอร์ธัลส์และมนุษย์โครมันยองได้อาศัยอยู่ในพื้นที่บางส่วนของยุโรปในช่วงเวลาเดียวกัน
ขณะที่บียอน เคอร์เทน (Bjon Jurten) นักบรรพชิวินชาวฟินแลนด์ก็ทำให้ทฤษฎีดังกล่าวน่าสนใจไปอีก
เพราะได้เชื่อมโยงเอาความรู้กับจินตนาการเข้าด้วยกัน โดยบอกว่าอ๊อกร์เป็นความทรงจำที่หลงเหลือจากบรรพบุรุษ
มนุษย์นีแอนเดอร์ธัลส์และโครมันยองเมื่อเกือบ ๔๐,๐๐๐ ปีที่แล้วระหว่างการอพยพครั้งใหญ่ไปยังยุโรปเหนือ
จากหลักฐานฟอสซิลก็ทำให้คำตอบในเอเชียดูจะมีความชัดเจนขึ้นกว่าเดิม เพราะเชื่อกันว่าความเชื่อเกี่ยวกับอ๊อกร์
ในเอเชียอาจจะมาจากความทรงจำร่วมเกี่ยวกับบรรพบุรุษในอดีตเช่นกัน
(http://image.ohozaa.com/i/1e7/RcFs3C.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKISAXklNgHxvrn)
ขณะที่ยังมีอีกคำอธิบายเกี่ยวกับนิยายปรัมปราเกี่ยวกับอ๊อกร์ เนื่องจากได้สะท้อนวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับลัทธิ
บูชาบรรพบุรุษ (forefather-cult) ในสังคมสแกนดิเนเวียที่มีอยู่ทั่วไปก่อนที่อิทธิพลของคริสตศาสนาจะเริ่มแผ่
ขยายเข้ามาราวศตวรรษที่ ๑๐ ถึง ๑๑ ในการบูชาบรรพบุรุษส่วนใหญ่จะกระทำกันในป่าศักดิ์สิทธิ บนแท่นบูชา
หรือข้างหลุมฝังศพ เนื่องจากชาวไวกิ้งเชื่อว่าหลังจากสิ้นชีวิตวิญญาณผู้ตายจะยังคงอยู่หรืออยู่ใกล้กับบริเวณ
ที่ครอบครัวนั้นอาศัยอยู่ จึงทำให้ความเชื่อนี้ปรับใช้กับเจ้าที่เจ้าทาง เป็นวิญญาณบรรพบุรุษที่มีหน้าที่ปกปักรักษาบ้านเรือน
และได้รับการเคารพยำเกรงจากลูกหลานมาก
อย่างไรก็ตามวิญญาณพรรพบุรุษเหล่านี้ค่อนข้างจะห่วงที่อยู่ไม่น้อย เพราะหากว่ามีเด็กๆไปเล่นบริเวณดังกล่าว
ก็อาจจะทำให้วิญญาณดังกล่าวไม่พอใจ ด้วยเหตุนี้ ผู้เป็นผู้ปกครองจึงต้องสร้างเรื่องราวอ๊อกร์เพื่อทำให้เด็กกลัว
และกลายเป็นเป็นเรื่องเล่าเชิงตำนานปรัมปราไปในที่สุด อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ ภายหลังที่คริสต์ศาสนา
แผ่อิทธิพลเข้าสู่สแกนดิเนเวีย ก็ได้พยายามทำให้ลัทธิบรรพบุรุษนิยมเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่ชั่วร้าย ด้วยการกล่าวหาว่า
เป็นการเคารพบูชาวิญญาณในหลุมศพเป็นการกระทำที่ชั่วร้าย อ๊อกร์จึงเกิดมาในลักษณะนี้ก็เป็นได้
(http://image.ohozaa.com/i/30c/Emi7Wr.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xsKJm1bVT6ueJezs)
เห็นไหมครับว่าเรื่องที่เราได้ยินหรือได้รับรู้กันทั่วไปในหนังหรือในเกมส์ที่เด็กรุ่นใหม่เล่นกัน ก็มีที่มาและที่ไปที่ค่อนข้าง
ละเอียดละออที่เดียวเริ่มจากการปรากฏตัวในฐานะตัวประหลาดในเทพนิยาย ก่อนจะถูกตั้งข้อสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษ
ของมนุษยชาติอย่างนีแอนเดอร์ธัลส์ ฉะนั้นแล้วเวลาท่านผู้อ่านดูหนังฮอลลีวู๊ดที่ให้อ๊อกร์เป็นผู้ร้าย ท่านผู้อ่านควรเอาใจ
ช่วยอ๊อกร์ในฐานะพระเอกตัวจริงที่เป็นบรรพบุรษของมนุษย์ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับงานศิลปะ วรรณกรรม
และการแสดงที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน