ตะลุยข่าว : ทันเล่ห์แก๊งก๊อบปี้บัตร "ดึงออกจากตู้เอทีเอ็มช้าๆ"
การจับ กุมแก๊งปลอมและใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมรายใหญ่ครั้งล่าสุดของกรมสอบสวนคดี พิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ผู้ต้องหาประกอบด้วย ด.ต.ปราโมทย์ เปียทอง อายุ 41 ปี ผบ.หมู่งาน 4 กก.2 ส.1, โยนัท บูลลาเกอร์ อายุ 28 ปี โรเบิร์ต โรต้ารู อายุ 29 ปี สัญชาติโรมาเนีย จิรายศ ศิริบวรเกียรติ อายุ 43 ปี และ พนธกร ดีประเสริฐ อายุ 31 ปี ทำให้รู้เล่ห์เหลี่ยมของมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น
ตลอด ระยะเวลานานกว่า 6 เดือนที่ดีเอสไอเฝ้าติดตามและหาหลักฐานจับกุมขบวนการนี้ กระทั่งมีหลักฐานยืนยันได้ว่า ด.ต.ปราโมทย์ ซึ่งคลุกคลีอยู่กับงานสืบสวนปราบปรามคดีปลอมบัตรเครดิต รู้จักขบวนการปลอมบัตรเครดิต กลับใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่ผิดคบคิดกับแก๊งเหล่านี้ทำผิดเสียเอง โดยให้โยนัทและโรเบิร์ตนำเข้าอุปกรณ์คัดลอกข้อมูลบัตรเครดิต แม้ชุดหนึ่งจะมีมูลค่าสูงเกือบล้านบาทก็คุ้มค่ากับการลงทุน
มิจฉาชีพ แก๊งนี้จะใช้กล่องบันทึกภาพขนาดเล็ก ใช้ถ่านขนาดเล็กที่ไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปเป็นตัวจ่ายไฟ ใส่ไว้ในจุดที่ใช้ใส่กล้องวิดีโอบริเวณมุมซ้าย-ขวาบนตู้เอทีเอ็ม หรือจุดที่มีแผ่นพลาสติกใสสีดำยาวประมาณ 2-3 นิ้วติดอยู่ โดยกล่องบันทึกภาพจะทำหน้าที่บันทึกรหัสบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเครดิตของผู้ ใช้บริการ ส่วนเครื่องดูดข้อมูลบัตรเครดิต ซึ่งเป็นแผ่นบางๆ จะติดไว้บริเวณช่องเสียบบัตร ทำหน้าที่ดูดข้อมูลจากแถบแม่เหล็กของบัตรเก็บไว้
"เพียงแค่นี้แก๊ง มิจฉาชีพก็จะได้ทั้งข้อมูลบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเครดิตพร้อมรหัส จากนั้นก็นำข้อมูลบัตรไปทำบัตรเอทีเอ็มปลอม-บัตรเครดิตปลอม แล้วนำไปกดเงินสดหรือซื้อสินค้า" พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีดีเอสไอ ระบุ
จากการตรวจสอบยังพบด้วยว่า แก๊งของ ด.ต.ปราโมทย์ ยังมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มของ ธิบดี ธีรอุดมกุล พร้อมพวกรวม 6 คน แก๊งปลอมแปลงบัตรเครดิตรายใหญ่ที่ถูกตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) จับกุมไปเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2551 ซึ่งครั้งนั้นสามารถยึดของกลางได้หลายรายการ ได้แก่ บัตรเครดิตปลอม 25 ใบ ข้อมูลบัตรเครดิตที่ขโมยมา 102 ข้อมูล คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง และอุปกรณ์การคัดลอกที่ใช้ในการกระทำผิดอีกจำนวนมาก
พฤติกรรมของ คนร้ายแก๊งนี้ จะนำอุปกรณ์ในการโจรกรรมข้อมูลบัตรไปติดตั้งยังตู้เอทีเอ็มตามแหล่งท่อง เที่ยวสำคัญๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และตามต่างจังหวัด เช่น ทองหล่อ รัชดา สุขุมวิท ภูเก็ต พัทยา เกาะสมุย เชียงใหม่ เป็นต้น
"เมื่อขโมยดูด ข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายได้แล้วก็จะนำไปใช้ทำบัตร เครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มปลอม ก่อนจะนำไปกดเงินสดใช้ซื้อสินค้า สร้างความเสียหาย 100-200 ล้านบาท" พ.ต.อ.อัครพล บุณโยปัษฎัมภ์ ผอ.สำนักกิจการต่างประเทศ ส่วน 2 กล่าว
การสืบสวนติดตามแก๊งนี้มา นานกว่า 6 เดือนสิ้นสุดลงเมื่อแนวทางการสืบสวนยืนยันชัดเจนว่า มิจฉาชีพแก๊งนี้จะติดตั้งเครื่องคัดลอกข้อมูลบัตรที่ห้างสรรพสินค้าหรูใจ กลางกรุงตอนกลางดึกวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ดีเอสไอจึงวางกำลังดักซุ่มกระทั่งพบ ด.ต.ปราโมทย์ โยนัท และโรเบิร์ต กำลังนั่งปรึกษาหารือเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องคัดลอกข้อมูลจึงแสดงตัวเข้า ตรวจค้น
จากการตรวจค้นพบของกลางจำนวนมาก ได้แก่ เครื่องคัดลอกข้อมูล กล่องบันทึกภาพสีดำขนาดเล็กไม่ทราบรุ่นและยี่ห้อ อุปกรณ์สำหรับคัดลอกข้อมูลบัตรอิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์มือถือ 4 เครื่อง อาวุธปืนขนาด 9 มม. 1 กระบอก พร้อมเครื่องกระสุน และอุปกรณ์จำนวนหนึ่ง จึงควบคุมตัวไปขยายผลตรวจค้นที่พักของกลุ่มผู้ต้องหาในกรุงเทพฯ อีก 5 จุด ก่อนจะจับกุมจิรายศและพนธกร เพื่อนร่วมขบวนการได้เพิ่มเติมอีก 2 คน
สำหรับ การป้องกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของแก๊งเหล่านี้นั้น พ.ต.อ.อัครพล แนะนำเช่นนี้ว่า นอกจากจะใช้มือปิดบังรหัสบัตรแล้ว พยายามเลือกตู้เอทีเอ็มและสังเกตรอบข้างตู้เอทีเอ็มว่ามีความผิดปกติ หรือมีคนที่น่าสงสัยอยู่ใกล้ๆ หรือไม่ และเทคนิคพิเศษที่เพิ่งค้นพบคือ ให้ค่อยๆ ดึงบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเครดิตออกมาช้าๆ
"เจ้า ของบัตรบางคนเวลาทำธุรกรรมทางการเงินเสร็จแล้วจะรีบดึงบัตรออกอย่างรวดเร็ว ต่อไปนี้ให้เปลี่ยนเสียใหม่ เพราะการทำอย่างนั้นจะช่วยให้เครื่องคัดลอกข้อมูลทำงานได้มีประสิทธิภาพมาก ดังนั้นต่อไปควรจะค่อยๆ ดึงบัตรออกมาช้าๆ เพราะจะทำให้เครื่องคัดลอกข้อมูลทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หรือบางครั้งอาจจะไม่สามารถดูดข้อมูลบัตรได้เลย" พ.ต.อ.อัครพล แนะนำ
kjhgf kjhgf kjhgf kjhgf
ต้องระวังแล้วสิเนี่ย ijn
เทคโนโลยี เล่ห์เหลี่ยม กลโกงสมัยนี้นี่สุดยอดเลยนะ ไม่อัพเดทข่าวนี่เป็นเหยื่อได้ง่ายๆเลย
ดีครับท่าน
ต้อง ระวัง ชีวิตใช้บัตรตลอด
ไม่ว่า ATM บัตรเครดิต
งั้นไม่ต้องใช้ ATM ละ เพื่อความปลอดภัย ghjk
สมัยนี้เอากันทุกทาง
เดี๋ยวนี้มีมากันทุกรูปแบบครับ ต้องระวัง
uyt ทำไปได้ น่าจะนำความรู้ไปใช้แบบอื่นเนอะ
เอาทุกอย่างน่อ :(
ไอ้พวกนี้ต้องจับมาตัดมืออย่างเดียวครับ ไม่มีการอุทรณ์
ขอบคุณครับ
ผมชอบอยู่แล้วครับ ....ดึงออกช้าๆ (พึ่งมาอ่านไม่ได้ขุดมานะครับ)
เวลาจะสอดใส่(บัตร) ให้ใช้มือคลำๆ ช่องด้วย ถ้ามันหลวมๆไม่ค่อยแน่นให้ระวังใว้
ผมเคยโดนเลยครับซวยจริงๆ พวกมาเลเซีย ดีที่โดนไปแค่ 7-8 พัน
กลุ่มเก่าโดนจับไป เดี๋ยวกลุ่มใหม่มันก็มาแทน ระวังกันไว้ดีกว่านะครับพี่น้อง
ชักเข้าชักออกช้า ๆ เครื่องมันจะได้เสี่ยวด้วย ใช่ไหมคับ
ทำไมช้าๆ ถึงปลอดภัยอ่ะ นึกว่า ดึงเร็ว มันจะสแกนหรืออ่านไม่ทัน เหมือนเราอ่านบาร์โค๊ด ช้าๆ มันน่าจะอ่าจละเอียดกว่าหรือเปล่า