Show posts - autsanee
Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - autsanee

#1
 อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#2
 อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#3
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#4
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#5
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#6
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#7
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#8
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#9
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#10
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กระทู้
#11
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#12
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#13
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#14
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#15
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#16
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#17
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#18
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#19
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#20
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#21
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#22
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#23
อัพเดทกระทู้ ติดตามรายละเอียดได้ที่นี่
#24
บำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย




 

 

 




บริษัท ภาคีวิศวกร จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ระบบบำบัดน้ำเสีย งานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสุขาภิบาล และวิศวกรรมด้านงานระบบสาธารณูปโภค ด้วยผลงาน ประสบการณ์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน กว่า 15 ปี เป็นประกัน

ระบบบำบัดน้ำเสีย อาคาร  และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นระบบบำบัดหรือกำจัดสารมลทิน ที่ปนเปื้อนกับมาน้ำเสีย น้ำเสียเป็นน้ำที่ผ่านขบวนการใช้งานมาแล้ว เช่นน้ำจากการชำระล้างต่างๆ น้ำจากขบวนการผลิตของโรงงาน น้ำที่ผ่านการผสมสารเคมีต่างๆ รวมถึงน้ำที่ถูกใช้แล้วในชีวิตประจำวัน น้ำจากห้องน้ำห้องส้วมเป็นต้น


รูปแบบของ ระบบบำบัดน้ำเสีย อยู่ทั้งหมด 6 แบบ

1.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ถือว่าเป็นแบบที่ค่าใช้จ่ายต่ำมาก แต่ต้องใช้พื้นที่มาก ระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยธรรมชาติในการบำบัดสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ซึ่งแบ่งตามลักษณะการทำงานได้ 3 รูปแบบ คือ บ่อแอนแอโรบิค (Anaerobic Pond) บ่อแฟคคัลเททีฟ (Facultative Pond) บ่อแอโรบิค (Aerobic Pond) และหากมีบ่อหลายบ่อต่อเนื่องกัน บ่อสุดท้ายจะทำหน้าที่เป็นบ่อบ่ม (Maturation Pond) เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม

2.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Lagoon หรือ AL) ค่าใช้จ่ายต่ำ บำรุงรักษาง่าย แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องเติมอากาศ ซึ่งค่อนข้างสูง เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่อาศัยการเติมออกซิเจนจากเครื่องเติมอากาศ (Aerator) ที่ติดตั้งแบบทุ่นลอยหรือยึดติดกับแท่นก็ได้ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำให้มีปริมาณเพียงพอ สำหรับจุลินทรีย์สามารถนำไปใช้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้เร็วขึ้นกว่า การปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบ่อเติมอากาศสามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สามารถลดปริมาณความสกปรกของน้ำเสียในรูปของค่าบีโอดี (Biochemical Oxygen Demand; BOD) ได้ร้อยละ 80-95 โดยอาศัยหลักการทำงานของจุลินทรีย์ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจน (Aerobic) โดยมีเครื่องเติมอากาศซึ่งนอกจากจะทำหน้าเพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วยังทำให้ เกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อด้วย ทำให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้อย่างทั่วถึงภายในบ่อ

3.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบบึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) ได้รับความนิยม ใช้เงินลงทุนต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก มี 2 ประเภทได้แก่ แบบ Free Water Surface Wetland (FWS) ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับบึงธรรมชาติ และแบบ Vegetated Submerged Bed System (VSB) ซึ่งจะมีชั้นดินปนทรายสำหรับปลูกพืชน้ำและชั้นหินรองก้นบ่อเพื่อเป็นตัวกรอง น้ำเสีย หลักการทำงานของระบบ เมื่อน้ำเสียไหลเข้ามาในบึงประดิษฐ์ส่วนต้น สารอินทรีย์ส่วนหนึ่งจะตกตะกอนจมตัวลงสู่ก้นบึง และถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ส่วนสารอินทรีย์ที่ละลายน้ำจะถูกกำจัดโดยจุลินทรีย์ที่เกาะติดอยู่กับพืชน้ำ หรือชั้นหินและจุลินทรีย์ที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ

ระบบนี้จะได้รับออกซิเจนจากการแทรกซึมของอากาศผ่านผิวน้ำหรือชั้นหินลงมา ออกซิเจนบางส่วนจะได้จากการสังเคราะห์แสงแต่มีปริมาณไม่มากนัก สำหรับสารแขวนลอยจะถูกกรองและจมตัวอยู่ในช่วงต้น ๆ ของระบบ การลดปริมาณไนโตรเจนจะเป็นไปตามกระบวนการไนตริฟิเคชั่น (Nitrification) และดิไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) ส่วนการลดปริมาณฟอสฟอรัสส่วนใหญ่จะเกิดที่ชั้นดินส่วนพื้นบ่อ และพืชน้ำจะช่วยดูดซับฟอสฟอรัสผ่านทางรากและนำไปใช้ในการสร้างเซลล์ นอกจากนี้ระบบบึงประดิษฐ์ยังสามารถกำจัดโลหะหนัก (Heavy Metal) ได้บางส่วนอีกด้วย

4.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process) ใช้พื้นที่น้อย แต่ต้องมีอุปกรณ์ ต่างๆ มาก เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย ระบบเแอกทิเวเต็ดสลัดจ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) และถังตกตะกอน (Sedimentation Tank)

โดยน้ำเสียจะถูกส่งเข้าถังเติมอากาศ ซึ่งมีสลัดจ์อยู่เป็นจำนวนมากตามที่ออกแบบไว้ สภาวะภายในถังเติมอากาศจะมีสภาพที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของ จุลินทรีย์แบบแอโรบิค จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้อยู่ในรูปของ คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในที่สุด น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกสลัดจ์ออกจากน้ำ ใส สลัดจ์ที่แยกตัวอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังเติม อากาศใหม่เพื่อรักษาความเข้มข้นของสลัดจ์ในถังเติมอากาศให้ได้ตามที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นสลัดจ์ส่วนเกิน (Excess Sludge) ที่ต้องนำไปกำจัดต่อไป สำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำทิ้งที่สามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้

5.ระบบบำบัดน้ำเสียคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) เหมาะกับชุมชน ขนาดเล็ก บำบัดน้ำเสียโดยอาศัยจุลินทรีย์มากมายหลายชนิด โดยจุลินทรีย์ที่สำคัญได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และโปรโตซัว เป็นต้น ซึ่งสภาวะที่ใช้ในการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์จะเป็นสภาวะแอโรบิค โดยจุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำเสียเป็นแหล่งอาหารและพลังงาน เพื่อการเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ในระบบ จากนั้นจึงแยกจุลินทรีย์ออกจากน้ำเสียที่ผ่านบำบัดแล้ว โดยวิธีการตกตะกอนในถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) เพื่อให้ได้น้ำใส (Supernatant) อยู่ส่วนบนของถังตกตะกอน ซึ่งมีคุณภาพน้ำดีขึ้น และสามารถระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมได้

6.ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแผ่นจานหมุนชีวภาพ (Rotating Biological Contactor, RBC) เหมาะสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรม เพราะดูแลรักษาง่าย แต่มีค่าอุปกรณ์ต่างๆค่อนข้างสูง เป็นการบำบัดน้ำเสียอาศัยจุลินทรีย์แบบใช้อากาศจำนวนมากที่ยึดเกาะติดบนแผ่น จานหมุนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย โดยการหมุนแผ่นจานผ่านน้ำเสีย ซึ่งเมื่อแผ่นจานหมุนขึ้นมาสัมผัสกับอากาศก็จะพาเอาฟิล์มน้ำเสียขึ้นสู่ อากาศด้วย ทำให้จุลินทรีย์ได้รับออกซิเจนจากอากาศ เพื่อใช้ในการย่อยสลายหรือเปลี่ยนรูปสารอินทรีย์เหล่านั้นให้เป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และเซลล์จุลินทรีย์ ต่อจากนั้นแผ่นจานจะหมุนลงไปสัมผัสกับน้ำเสียในถังปฏิกิริยาอีกครั้ง ทำให้ออกซิเจนส่วนที่เหลือผสมกับน้ำเสีย ซึ่งเป็นการเติมออกซิเจนให้กับน้ำเสียอีกส่วนหนึ่ง สลับกันเช่นนี้ตลอดไปเป็นวัฏจักร แต่เมื่อมีจำนวนจุลินทรีย์ยึดเกาะแผ่นจานหมุนหนามากขึ้น จะทำให้มีตะกอนจุลินทรีย์บางส่วน หลุดลอกจากแผ่นจานเนื่องจากแรงเฉือนของการหมุน ซึ่งจะรักษาความหนาของแผ่นฟิล์มให้ค่อนข้างคงที่โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ตะกอนจุลินทรีย์แขวนลอยที่ไหลออกจากถังปฏิกิริยานี้ จะไหลเข้าสู่ถังตกตะกอนเพื่อแยกตะกอนจุลินทรีย์และน้ำทิ้ง ทำให้น้ำทิ้งที่ออกจากระบบนี้มีคุณภาพดีขึ้น

ดังนั้นคงต้องพิจรณาว่าพื้นที่หรือโรงงานของท่านเหมาะกับรูปแบบของ ระบบบำบัดน้ำเสีย ประเภทไหน


 


สอบถามรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

สายด่วน  081-498-3975





บริษัท ภาคีวิศวกร จำกัด

9/624 หมู่ 8 ถ.พุทธมลฑลสาย 4 ต.กระทุ่มล้ม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73220





Tel: 02-889-8231-2
Fax: 02-888-5161
E-mail: phakee@phakee.com
Website: http://www.บําบัด-น้ำเสีย.com
Website: http://www.xn----wxfqba5czcwchf8a5jxe1bh.com




 




Keyword:          บำบัดน้ำเสีย         ระบบบำบัดน้ำเสีย         รับออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย