Regina v. Dudley and Stephens ฆ่าเพราะไม่มีทางเลือก

Regina v. Dudley and Stephens ฆ่าเพราะไม่มีทางเลือก

เริ่มโดย etatae333, 14 ตุลาคม 2016, 12:40:51

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

Regina v. Dudley and Stephens ฆ่าเพราะไม่มีทางเลือก

กรณี R v Dudley and Stephens (ย่อมาจาก Her Majesty The Queen v. Tom Dudley และ Edwin Stephens)
น่าจะเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ยังคงต้องคำถามจริยธรรมและการชีวิตรอดได้เป็นอย่างดี เรื่องราวของพวกเขายังคงเป็นกรณีศึกษา
ถึงกฎหมายฆ่าเพราะจำเป็นจนถึงปัจจุบัน


Regina v. Dudley and Stephens



มีหลายกรณีที่ทำให้คนเราต้องฆ่าคน หากแต่กรณีฆ่าเพราะจำเป็นถึงขั้นฆ่ากินคนเพราะความหิวโหยนั้นยังคงเป็นที่
ถกเถียงว่าจำเป็นหรือไม่ เหมือนในกรณีของอาร์ วี ดัดลีย์และสตีเฟนส์นั้นถือว่าเป็นกรณีน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งถึงการ
ฆาตกรรมคนหนึ่งคนเพื่อให้หลายคนรอด


เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อเรือยอชท์ลำหนึ่งชื่อมินยะเนท (Mignonette) เป็นเรือยาวประมาณ 16 เมตร สร้างในปี 1867
ได้ออกจากท่าเรือเซาแธมป์ตันไปยังซิดนีย์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 1884 ซึ่งในเวลานั้นบนเรือมีลูกเรือสี่คน
ประกอบไปด้วยกัปตันทอม ดัดลีย์, เอ็ดเวิร์ด สตีเฟนส์, เอ็ดมันด์ บุคส์ และเด็กหนุ่มอายุ 17 ปีชื่อ ริชาร์ด ปาร์คเกอร์

ในจำนวนนี้ทุกคนเป็นคนที่มีหน้าที่การงานและครอบครัวหมด ยกเว้น ริชาร์ด ปาร์คเกอร์ไม่เคยมีประสบการณ์
ออกทะเลมาก่อน และไม่มีครอบครัวหรือญาติมิตรใดๆ

ตอนแรกๆ เรือก็แล่นแบบปกติไม่มีปัญหาใดเกิดขึ้น หากแต่เมื่อถึงวันที่ 5 กรกฏาคม ระหว่างที่เดินทะเล 2,600 กิโลเมตร
ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมกู๊ดโฮบ เรือก็ตกอยู่ท่ามกลางพายุ  แม้ว่าสภาพพายุจะไม่รุนแรงมาก หากแต่เพราะลูกเรือ
ขาดการเตรียมพร้อม ทำให้ไม่สามารถรับมือได้ทัน จนเรือล่ม เมื่อกัปตันเรือเห็นว่าเรือไปต่อไม่ไหว เขาเลยสั่งให้ลูกเรือ
ทั้งหมดสละเรือ และปล่อยเรือชูชีพ (ยาว 4 เมตร) ทุกคนรอดขึ้นเรือชูชีพได้ทัน (เชื่อว่าเกิดจากโครงสร้างบกพร่องของ
เรือยอชท์ที่ไม่สามารถทนต่อสภาพอาการแปรปรวนไม่ได้ ทำให้เกิดเรือล่ม)

เรือชูชีพนั้นนอกจากจะเป็นลำเล็กแล้วยังบอบบาง อีกทั้งพวกเขาทั้งหมดไม่ได้หยิบเสบียงอะไรติดไม้ติดมือมาเลยนอก
จากอุปกรณ์ที่ติดตัวอยู่แล้วกับหัวเทอร์นิป (ผักชนิดหนึ่ง) อีก 2 กระป๋อง ไม่มีน้ำจืด


ทั้งหมดสี่คนได้อยู่บนเรืออยากยากลำบาก เรือชูชีพมุ่งหน้าไปอย่างไร้จุดหมายท่ามกลางคลื่นลมแรง คืนแรกบนเรือชูชีพ
ลูกเรือต้องต่อสู้กับฉลามด้วยไม้พายของเขา สองวันแรกไม่มีใครได้กินอะไร ทุกคนอดทนจนถึงเช้าวันที่สาม ( 7 กรกฎาคม)
นับจากเรือล่ม หัวเทอร์นิปกระป๋องแรกก็ถูกแบ่งกันกิน (กระป๋องหนึ่งมี 5 ชิ้น)  ซึ่งก็พอประทังความหิวไปได้อีกสองวัน

ในวันที่ห้า (9 กรกฎาคม) พวกเขาจับเต่าทะเลได้ 1 ตัว เมื่อรวมเข้ากับหัวเทอร์นิปอีกกระป๋องที่เหลือก็ทำให้พวกเขา
มีประทังชีวิตไปได้อีก 6-7 วัน ระหว่างนี้พวกเขาหลีกเลี่ยงในการดื่มน้ำทะเลเพราะเป็นอันตราย ในตอนแรกพวกเขา
กินเลือดของเต่าทะเลที่ปนเปื้อนกับน้ำทะเล (เต่าหนักกว่า 1.4 กิโลกรัม) พวกเขาพยายามกักเก็บน้ำฝนแต่ก็ล้มเหลว

วันที่ 13 กรกฎาคม เมื่อไม่มีของเหลวบนเรือ พวกเขาก็เริ่มดื่มปัสสาวะของพวกเขาเอง แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายกระหายน้ำได้
แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายกระหายน้ำได้ และแล้ววันที่ 20 กรกฎาคมปาร์กเกอร์ก็ทนความผิวกระหายน้ำไม่ไหว เขาได้ดื่มน้ำทะเล
เข้าไปจนล้มป่วยไม่สบาย

พวกเขาใช้ชีวิตบนเรือชูชีพเกือบ 20 วัน ก็ยังไม่มีเงาของฝั่งหรือเรืออื่นปรากฏในสายตา อาหารและน้ำจืดก็ไม่มี
พวกเขาทั้งหมดทั้งหิวและกระหาย เมื่อถึงที่สุดทั้งสามคนที่เหลือได้พูดถึงการเสียสละชีวิตเพื่อส่วนรวม ด้วยการ
หาฆ่าคนใดคนหนึ่งที่มาเป็นอาหารเพื่อคนอื่นๆ ความจริงแล้ว การพูดถึงเรื่องดังกล่าวนั้นเริ่มพูดลอยๆ เมื่อวันที่ 16-17
และมันก็เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในวันที่ 21 อาการของ ปาร์กเกอร์ ก็เข้าขั้นโคม่าใกล้ตายเต็มทน ดัดลีย์ได้บอกคนอื่นว่า
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องสละคนใดคนหนึ่งเพื่อให้คนอื่นรอด และพวกเขาควรจับสลากเลือกผู้เสียสละ แต่บรูคส์ปฏิเสธ

ในคืนนั้นเองดัดลีย์ได้ปรึกษาดัดลีย์ ปาร์กเกอร์กำลังจะตาย และพวกเขาจะต้องฆ่าปาร์กเกอร์เพื่อกินอาหารเพื่อให้ทุกคนรอด
ทุกคนต่างมีครอบครัวและต้องรอดชีวิตไปหาพวกเขา และ ควรฆ่าปาร์กเกอร์ในขณะที่มีชีวิตอยู่ เพราะหากตายตามธรรมชาติ
ก็จะทำให้เลือดเสียไปไม่สามารถดื่มกินได้

เมื่อวันรุ่งขึ้นไม่มีความช่วยเหลือใดๆ มาถึง พวกเขาก็ตัดสินใจฆ่าปาร์กเกอร์ สตีเฟ่นคลานไปยัง
อีกฝั่งของเรือ จับยึดขาของปาร์กเกอร์ เอาไว้ กัปตันดัดลีย์สวดมนต์ถึงพระผู้เป็นเจ้าพร้อมมีดพับ
แทงเข้าไปยังเส้นเลือดที่ลำคอของปาร์กเกอร์




เรื่องราวขั้นตอนสังหารปาร์กเกอร์ต่อจากนี้มีรายละเอียดแตกต่างกัน สิ่งที่รู้คือเพียงไม่กี่อึดใจ เด็กหนุ่มผู้น่าสงสารก็ไม่ต้อง
ทรมานอีกต่อไป ทั้งสามคนหลังจากฆ่าปาร์กเกอร์แล้วทำการแล่เนื้อมากิน โดยดัดลีย์และบรูคส์กินเนื้อมากพอสมควร
ในขณะที่สตีเฟนกินเนื้อมาก นอกจากนี้พวกเชายังจับน้ำฝนสามารถประทังชีวิตไปอีกหลายวัน โดยดัดลีย์ได้บรรยาย
บรรยากาศบนเรือลูชีพหลังจากสังหารปาร์กเกอร์ว่า

"ผมสามารถบอกได้เลยว่าผมจะไม่มีวันลืมสายตาของสองสหายโชคร้ายของผมแน่นอน มันน่ากลัวยิ่งกว่าอาหาร
ที่อยู่ตรงหน้าเสียอีก พวกเราทุกคนเหมือนหมาป่าบ้าไม่มีผิด...."


ผ่านไปอีกไม่กี่วัน ในที่สุดวันที่ 29 กรกฎาคมก็มีเรือผ่านมาและรับสามคนนั้นขึ้นเรือ กัปตันของเรือที่มาช่วยชีวิตเห็นซาก
ของศพมนุษย์บนเรือชูชีพ ก็สอบถามเรื่องราวที่เกิดขึ้นดัดลีย์ ก็เล่าเรืองไปตามความจริงเพราะเขาเองคิดว่ามันเป็นเรื่อง
ที่จำเป็นที่ต้องทำ ไม่ควรถือเป็นความผิด กัปตันเรือได้ฟังเรื่องก็ไม่ว่าอะไร

แต่แล้วเมื่อดัดลีย์, สตีเฟ่น และบรูคถึงท่าเรือครอมเวลล์ เมื่อวันเสาร์ 6 กันยายน เจ้าหน้าที่ศุลกากรก็ได้สอบถาม
เรื่องราวอีกครั้ง และสั่งกักตัวพวกเขาทั้งสามทันที ซึ่งดัดลีย์และสตีเฟ่นส์เชื่อว่าสิ่งที่พวกเขานั้นทำเพราะความจำเป็น


"เรื่องเล่าของอาร์เธอร์" (The Narrative of Arthur Gordon Pym of Nantucket)



ชายสามคนถูกควบคุมตัวในสถานีตำรวจก่อนที่จะไปปรากฏตัวต่อหน้าผู้พิพากษาในตอนเช้าของวันจันทร์ที่ 8 กันยายน
การไต่สวนที่ศาล เป็นคดีโด่งดังที่ทั่วทั้งยุโรปให้ความสนใจ


ตอนแรกดัดลีย์มั่นใจว่าผู้พิพากษาจะยกเลิกไม่เอาความผิดพวกเขา แต่กลายเป็นว่าเรื่องราวเริ่มบานปลาย ถูกแตกเป็นสองฝ่าย
เพราะกรณีแบบนี้พึ่งเกิดขึ้นครั้งแรก กระแสสาธารณชนก็โลเลเอาแน่เอานอนไม่ได้ ตอนแรกก็เห็นใจสามคนที่รอด แต่สักพัก
กระแสก็ตีกลับมาเห็นว่าควรลงโทษสามคนนั่น ผู้พิพากษาก็ปวดหัวเพราะส่วนใหญ่พวกเขาจะอ่านบทกฎหมายตัดสิน
โดยอิงจากคดีก่อนหน้า แต่คดีแบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

ดังนั้นศาลจึงพิจารณาเรื่องคุณธรรม, จริยธรรม และความถูกต้องตามกฎหมายของการใช้ชีวิตคนอื่นเพื่อเพิ่มโอกาสรอด
ของตนเอง จากคดีในอดีตซึ่งนานไปหลายศตวรรษเลยทีเดียว

ผลของคดีโดยสรุป คือ บรูคส์ผู้ซึ่งไม่มีส่วนร่วมในการฆ่า ถูกกันตัวไว้เป็นพยาน ส่วนดัดลีย์ และ สตีเฟ่น ถูกตัดสิน
ประหารชีวิตด้วยข้อหาฆาตกรรม



อย่างไรก็ตาม ผลการตัดสินของชั้นศาลนั้นต่อมาก็มีการถกเถียงกันในเรื่องความยุติธรรมหรือความสมเหตุสมผลต่อการตัดสิน
ภายหลังทั้งสองก็ได้ลดโทษเหลือแค่จำคุก 6 เดือน ซึ่งดัดลีย์ ก็ไม่เคยพอใจกับคำตัดสินของศาลเลยตลอดชั่วชีวิตของเขา
เขายังคงเชื่อว่าเขาไม่ได้ทำผิด ทุกอย่างทำไปเพราะความจำเป็น

กรณีการฆาตกรรมของริชาร์ด ปาร์คเกอร์ ได้กลายเป็นกรณีที่คุ้นเคยในหมู่กฏหมายของอังกฤษที่ยังคงต้องศึกษาต่อไป
ชื่อของริชาร์ด ปาร์กเกอร์และเหตุการณ์ฆ่าคนเพื่อเอาชีวิตรอดได้กลายเป็นละคร เพลง ในเวลาต่อมา


มีเหตุการณ์น่าพิศวงก่อนหน้า เรื่องของเรื่องคือ เอ็ดการ์ อัลเลน โพ (1809-1849) เจ้าพ่อแห่งนวนิยายสยองขวัญยุคใหม่
ได้เขียนนิยายที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งชื่อ "เรื่องเล่าของอาร์เธอร์" (The Narrative of Arthur Gordon Pym of Nantucket)
ซึ่งวางแผงเมื่อปี 1838 ซึ่งมีเนื้อหาประมาณว่าเรือแตกมีผู้รอดชีวิตสี่คนและอยู่ในซากเรือหลายวันท่ามกลางอาหารขาดแคลน
และเมื่อหลายวัน ต่อมาคนที่รอดชีวิตก็ตัดสินใจที่จะฆ่าและกินเด็กในห้องโดยสารที่ชื่อริชาร์ด ปาร์คเกอร์ และแน่นอนว่า
เรื่องราวเนื้อหาของนิยายนั้นตรงกับคดีของริชาร์ด ปาร์คเกอร์ที่เกิดขึ้นจริง แบบบังเอิญเหลือเชื่อ ทั้งๆ ที่นิยายเรื่องนี้
วางแผงก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์เสียอีก เพราะมันเกิดในปี 1884 !!

อ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/R_v_Dudley_and_Stephens
http://jusci.net/node/2290




friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่