ถิ่นกำเนิดแปะก๊วยและลักษณะการขยายพันธุ์ที่น่ารู้

ถิ่นกำเนิดแปะก๊วยและลักษณะการขยายพันธุ์ที่น่ารู้

เริ่มโดย watamon, 19 พฤษภาคม 2017, 22:27:59

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

watamon


ถิ่นกำเนิดแปะก๊วย
แปะก๊วยมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน  เชื่อกันว่าเป็นพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง ที่หลงเหลืออยู่ในประเทศจีน  ซึ่งเป็นพืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์  โดยพบอยู่ในธรรมชาติไม่กี่ต้น  ต่อมามีการนำต้นแปะก๊วยไปเพาะในประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี และในราวศตวรรษที่ 18 ได้มีการปลูกในทวีปยุโรป  ปัจจุบันต้นแปะก๊วยเป็นไม้ให้ความร่มเงาตามแถวถนนและสวนสาธารณะทั่วไปทั่งในยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา
ลักษณะทั่วไปแปะก๊วย
ต้นแปะก๊วยเป็นไม้ยื่นต้นปริมาณใหญ่อาจสูงได้ถึง  35 – 40 เมตร ต้นโตเต็มที่มีเส้นรอบวงประมาณ 3 – 4 เมตร  และอาจโตได้ถึง 7 เมตร ใบเป็นใบเดียว ลักษณะคล้ายพัด กว้าง 5 – 10 เซนติเมตร ก้านใบยาว ใบแก่มีรอยหยักเว้าตรงกลาง ใบออกเวียนสลับกัน หรือออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง เส้นใบขนาดกันจำนวนมาก  ใบอ่อนเป็นสีเขียว  สามารถเปลี่ยนเป็นสีเข้มได้เมื่อโตเต็มที่  และเป็นสีเหลืองในฤดูใบไม้ร่วง ต้นแปะก๊วยจะมีต้นตัวผู้ และต้นตัวเมีย ซึ่งขนาดแตกต่างกัน
การขยายพันธุ์แปะก๊วย[/url]
ปัจจุบันขยายพันธุ์โดยวิธีการ เพาะเมล็ด , ปักชำ , ทาบกิ่ง  โดยวิธีการเพาะเมล็ด มีดังนี้

  • ล้างเมล็ดในน้ำอุ่นให้สะอาดเพื่อไม่ให้เกิดเชื้อรา
  • หมกเมล็ดที่ล้างแล้ว ในขุยมะพร้าวหรือขี้เถ้าแกลบในถุงซิบล็อก ปิดถุงให้สนิท  แล้วนำไปเก็บไว้ในตู้เย็น (ช่องเก็บผัก) ประมาณ 12 อาทิตย์  ระหว่างนี้ให้คอยหมั่นตรวจดูว่ามีต้นอ่อนเริ่มแตกออกมาหรือยัง ถ้ามีเมล็ดไหนงอกก่อน 12 อาทิตย์ ก็แยกออกมาเพาะปลูกก่อน
  • ให้นำเมล็ดที่งอกก่อนมาเพาะปลูกในถุงชำ ใช้ดินถุงที่ขายทั่ว ๆ ไป ฝังเมล็ดลงไปประมาณ 2 นิ้ว วางถุงเพาะชำให้โดนแดดอ่อน ๆ ให้ดินที่เพาะเมล็ดชื้ออยู่ตลอดเวลาแต่อย่าให้แฉะ หลังจากนั้นก็รอให้ต้นเขาโตขึ้นมาก่อนที่จะนำไปปลูกลงดิน
  • สำหรับเมล็ดที่ไม่งอกก่อนกำหนด พบครบ 12 อาทิตย์ในตู้เย็นก็ออกมาเพาะต่อตามข้อ 3


    องค์ประกอบทางเคมี 
    ใบแปะก๊วย มีสารประกอบทางเคมีมากมาย แต่ที่สำคัญมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ เทอร์ปีนอย์ (terpenoids) มีสารประกอบที่สำคัญชื่อ กิงโกไลด์ (ginkgolide) และมีบิโลบาไลด์ (bilobalide) และอีกกลุ่มคือ ฟลา-โวนอยด์ (flavonoids) นอกจากนี้ยังพบเจอในพวกสารสตีรอยด์ (steroide) อนุพันธ์กรดอินทรีย์และน้ำตาล


    Tags : กระชายดำ,ว่านชักมดลูก,เจียวกู่หลาน
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

watamon

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions