สังหารหมู่ที่โนกัน-รี (The Bridge at No Gun Ri)

สังหารหมู่ที่โนกัน-รี (The Bridge at No Gun Ri)

เริ่มโดย etatae333, 05 มกราคม 2018, 16:31:21

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

สังหารหมู่ที่โนกัน-รี (The Bridge at No Gun Ri)




หนังทุกเรื่องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็น แทกึกกี (Tae Guk Gi: The Brotherhood of War)
, เวลคัม ทู ดองมักกอล(Welcome to Dongmakgol) หรือ ไต้ฝุ่น(Typhoon)
ล้วนแล้วแต่ทำเงินถล่มทลายในแดนโสมขาว
สิ่งที่เกิดขึ้นบ่งชี้ว่า ความเจ็บปวดที่คนชาติเดียวกันต้องมาเข่นฆ่ากันเอง และต้องแยกขาดจากกันเป็นฝ่ายเหนือและใต้
ไม่มีวันถูกลบเลือน


ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมของทุกปี ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งจะไปรวมตัวกันที่สะพานข้ามทางรถไฟในเกาหลีใต้
เพื่อรำลึกถึงญาติและเพื่อนๆ ที่ต้องตายไปในสงครามเกาหลี ไม่ใช่จากกระสุนปืนของศัตรู "แต่เป็นของทหารสหรัฐ"
แม้จะมีการจัดงานจะมีรายละเอียดแตกต่างกันในแต่ละปี แต่สิ่งที่ยังคงเดิมคือ ความทรงจำของเหตุการณ์สังหารพลเรือน
ใต้สะพานโนกัน-รี (The Bridge at No Gun Ri) เขตเยียงดง(Yeongdong) ห่างจากกรุงโซลไปทางใต้ 250 กิโลเมตร
เชื่อกันว่าวิญญาณของคนเหล่านี้ยังไม่สงบ

เพราะความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลสหรัฐ กับครอบครัวผู้สูญเสียยังหาข้อยุติไม่ได้มาจนทุกวันนี้

เหตุการณ์ที่นำมาสู่ความขัดแย้งเกิดขึ้นในวันที่ 31 ของสงครามเกาหลี เมื่อชาวบ้านหลายร้อยคนกำลังเดินไปตามทางรถไฟ
หลังได้รับคำสั่งจากทหารสหรัฐให้อพยพออกจากบ้านเรือน พวกเขาต้องเผชิญทั้งแสงแดดที่แผดเผา และความหวาดกลัว
จากเสียงรถถังของเกาหลีเหนือที่กำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา



แต่แล้ว...ปราศจากเสียงเตือนใดๆ ฝูงบินรบของสหรัฐก็ปรากฏให้เห็นเต็มน่านฟ้า พร้อมระดมยิงชาวบ้านอย่างไม่ยั้ง
ผู้คนบาดเจ็บล้มตายไปเป็นจำนวนนับไม่ถ้วน พวกเขาเหมือนฝูงสัตว์ที่ถูกต้อนเข้าไปรวมกันที่ใต้สะพานข้ามทาง
รถไฟโนเกี้ยน-รี แล้วก็ถูกสังหารโหดแบบไม่เลือกหน้า

พวกที่รอดมาได้ราวปาฏิหาริย์บอกว่า วันนั้นมีคนตายมากมายเกือบ 400 คน ส่วนใหญ่เป็นคนแก่ ผู้หญิง และเด็ก
เหตุการณ์สังหารโหดใต้สะพาน เริ่มต้นเมื่อบ่ายของวันที่ 26 กรกฎาคม ต่อเนื่องไปจนถึงก่อนรุ่งเช้าของวันที่ 29 กรกฎาคม
การจัดพิธีรำลึกถึงการสังหารหมู่ที่สะพานแห่งนี้เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2539 ต่อมาเปลี่ยนไปเป็น
วันที่ 28 กรกฎาคม มีกลุ่มอาสาสมัครจากนานาชาติเข้าร่วมกันอย่างคับคั่งทุกปี

เหตุการณ์ที่สะพานโนเจี้ยน-รี ไม่เป็นที่ล่วงรู้ของรัฐบาลสหรัฐ จนกระทั่งสำนักข่าวเอพีตีข่าวเรื่องนี้ครั้งแรกเมื่อปี 2542
หลังจากใช้เวลานานนับปี ร่วมสืบสวนเรื่องนี้กับทางการเกาหลีใต้ ประธานาธิบดี บิล คลินตัน ได้กล่าวแสดงความเสียใจ
พร้อมเสนอมาตรการปลอบขวัญผู้สูญเสียมากมาย รวมทั้งการสร้างอนุสาวรีย์มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 40 ล้านบาท)
และตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาอีก 780,000 ดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 31 ล้านบาท)




แต่ไม่มีมาตรการใดสำเร็จลุล่วง เพราะสหรัฐตั้งเงื่อนไขว่า ทั้งอนุสาวรีย์ และทุนการศึกษา ตั้งขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์
สำหรับพลเรือนเกาหลีทุกคนที่เสียชีวิตในสงคราม ไม่ใช่เฉพาะแค่พวกที่ถูกสังหารที่สะพานโนเจี้ยน-รี ทำให้
ครอบครัวของผู้เสียชีวิตที่โนเจี้ยน-รี ไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากสหรัฐ

ครอบครัวของเหยื่อสังหารหมู่ในวันนั้นต้องการให้สลักคำว่า
"เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 1950 ทหารอเมริกัน ได้ก่อเหตุสังหารหมู่อย่างคาดไม่ถึงตลอดทั้งวัน พวกเขาบังคับ
ให้คนที่อาศัยอยู่ที่โนเกี้ยน-รี หรือชื่อเดิมว่า "อิมเกีย-รี" และชาวบ้านที่อพยพมาจากที่อื่น ไปยืนอยู่บนทางรถไฟ
ก่อนจะฆ่าทิ้งด้วยระเบิดและปืนกล"




แต่ข้อเสนอสร้างอนุสาวรีย์ของสหรัฐ ไม่ได้ระบุว่าใครเป็นคนเข่นฆ่าพลเรือนในวันนั้น ทั้งยังหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้อง
ดำเนินคดีทางกฎหมายที่อาจนำมาซึ่งการจ่ายเงินชดเชยอีกด้วย

นายคิม แด-ซู เจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศเกาหลีใต้ กล่าวว่า สหรัฐต้องการจะปกปิดเรื่องราวทั้งหมดด้วยโครงการ
แสดงความเห็นอกเห็นใจต่างๆ แต่ก็บอกว่า เงื่อนไขของครอบครัวผู้สูญเสียฝ่ายเกาหลีนั้นแข็งกร้าวเกินกว่าที่สหรัฐ
จะยอมรับได้

ล่าสุด กระทรวงกลาโหมสหรัฐแถลงว่า เรื่องโนเจี้ยน-รี ถูกพับเก็บไปแล้ว และยังไม่พร้อมจะให้คำตอบในเรื่องนี้

ส่วนเกาหลีเหนือก็มีการจัดพิธีรำลึกถึงวันนี้เช่นกัน แต่เน้นเรื่องการกล่าวหาสหรัฐว่าเป็นผู้สังหารหมู่บนคาบสมุทรเกาหลี
และเป็นการกระทำที่มิอาจปกปิดความจริงที่เกิดขึ้นได้ อาจเป็นไปได้ว่า ด้วยความผิดพลาดของสหรัฐในครั้งนี้ เลยทำให้
หนังเรื่อง "เวลคัม ทู ดองมักกอล" ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นที่โนเจี้ยน-รี ทำรายได้ถล่มทลาย
และคว้ารางวัลใหญ่ของวงการบันเทิงไปเพียบ
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่