8 หนังหรรษาที่แอบสอดไส้ประเด็นการเมือง

8 หนังหรรษาที่แอบสอดไส้ประเด็นการเมือง

เริ่มโดย etatae333, 05 กรกฎาคม 2018, 13:43:40

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

8 หนังหรรษาที่แอบสอดไส้ประเด็นการเมือง
cr. ปณชัย อารีเพิ่มพร


8. Zootopia (2016)



ภาพยนต์แอนิเมชันลำดับที่ 55 ของสตูดิโอวอลต์ ดิสนีย์ ที่ไม่ได้มีจุดขายเพียงแค่ความน่ารักของบรรดาตัวละครสัตว์ในเรื่อง
หรืออารมณ์ขันจากจอมขโมยซีนอย่างเจ้าสลอทเท่านั้น Zootopia มาเหนือเมฆด้วยการใส่เรื่องราวของมนุษย์โดยถ่ายทอด
ผ่านบริบทของสัตว์ ไล่ตั้งแต่เผ่าพันธุ์ของสัตว์ชนิดต่างๆ กับประเด็นการเหยียดชาติพันธุ์ หรือการแบ่งแยกชนชั้น งานจราจร
ที่ไม่ได้รับความนิยมในสายงานของตำรวจมากนัก ระบบมาเฟีย การคอร์รัปชันในหน่วยงานรัฐ ไปจนถึงหน่วยงานราชการ
ที่มักจะเดินเรื่องช้าไม่ต่างจากเจ้าสลอท



ประเด็นทางการเมือง: ชาติพันธุ์ ชนชั้น มาเฟีย ระบบราชการ การปกปิดปัญหาจากฝ่ายปกครอง และการหักหลังในเกมการเมือง
ฉากเด็ด: ทุกนาทีที่แสนมีค่าของเจ้าสลอท!
ระดับความเครียด: 0/5





7. The Lego Movie (2014)



แอนิเมชันเรียกเสียงฮาที่ไม่น่าจะมีอะไรมากกว่าการผจญภัยของตัวต่อจิ๋วสีเหลือง แต่แท้จริงแล้วโลกของตัวต่อเลโก้เป็นโลก
ในอุดมคติที่ทุกๆ อย่างได้ถูกเซตระบบโดยผู้คุมอำนาจ ไล่ตั้งแต่การที่ประชากรเลโก้มีหน้าที่ที่ต้องทำเป็นกิจวัตร เพลงความสุข
ที่ตัวต่อทุกตัวพากันประสานเสียงปลุกใจ และคู่มือในการใช้ชีวิตที่ถูกเขียนมาเพื่อให้ทุกคนอยู่ในกรอบที่ถูกวางไว้



ประเด็นทางการเมือง: การปกครองแบบเผด็จการ
ฉากเด็ด: Freedom Friday วันประกาศอิสระที่แท้จริงแล้วคือวันอังคาร !
ระดับความเครียด: 0/5





6. Avatar (2009)



Avatar ว่าด้วยเรื่องของโลกมนุษย์ในอนาคตที่ขาดแคลนพลังงานจากทรัพยากรธรรมชาติ ต่างจากพิภพแพนโดราของชาวเผ่านาวี
สถานที่ซึ่งอุดมไปด้วยความสมบูรณ์ทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม คงไม่น่าแปลกใจสักเท่าไร เมื่อแพนโดรากลายเป็นเป้าหมาย
ในการโจมตีของมนุษย์ โดยการใช้มนุษย์แฝงกายในร่างนาวีเพื่อสอดแนมและสืบค้นข้อมูลจากพวกเขา

ประเด็นที่ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวางของหนังเรื่องนี้เห็นทีจะหนีไม่พ้นแนวคิดของผู้สร้างที่จิกกัดประเทศมหาอำนาจอย่างประเทศ
ของพวกเขาเองได้อย่างเจ็บแสบ เพราะสหรัฐอเมริกาก็เคยมีประเด็นการบุกรุกพื้นที่ของชาติอื่นเพื่อยึดเอาทรัพยากรมาเป็นของตน
ให้พูดถึงอยู่เช่นกัน และดูท่าจะไม่มีวันจบสิ้น...



ประเด็นทางการเมือง: การล่าอาณานิคม ความบ้าอำนาจของสหรัฐอเมริกา
ฉากเด็ด: สุนทรพจน์ปลุกใจเอาคืนผู้บุกรุก
ระดับความเครียด: 2/5



5. The Purge (2013)



มีอะไรซ่อนอยู่ในกองเลือดบนท้องถนนในคืนล้างบาปอย่างนั้นหรือ? The Purge ว่าด้วยเรื่องราว 12 ชั่วโมงล้างบาปประจำปี
ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลให้อิสระในการฆ่ากันได้โดยไม่ผิดกฎหมายเพื่อลดจำนวนประชากร เนื่องจากอเมริกาในเวลานั้นคือ
ประเทศที่เพียบพร้อมในทุกๆ ด้าน การออกกฎเช่นนี้ก็เพื่อเป็นการลดจำนวนประชากร และสร้างความสมดุลทางระบบเศรษฐกิจ
(ฟังดูไม่เข้าท่าเอาเสียเลย)

อีกหนึ่งประเด็นที่ถูกซ่อนในหนังคือเรื่องของชนชั้นและสถานะทางสังคม หนังพยายามจะชูแนวคิดที่ว่า
"หากคุณมีเงินมากเท่าไร คุณก็ยิ่งมีความพร้อมในการป้องกันตัวเองในค่ำคืนกระหายเลือดมากเท่านั้น"

ในขณะเดียวกันหนังก็ยังซ่อนกับดัก "ฐานะที่มั่งคั่งไม่ได้มีส่วนช่วยในการชำระล้างจิตใจคนเลย" ด้วยเช่นกัน



ประเด็นทางการเมือง: นโยบายการบริหารประเทศที่ไม่เข้าท่า และชนชั้นทางสังคม
ฉากเด็ด: ความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านที่แสนน่ารัก
ระดับความเครียด: 3/5





4. Mad Max: Fury Road (2015)



โลกในอนาคตเข้าสู่วิกฤตการณ์แห้งแล้งเต็มตัว พื้นที่ส่วนใหญ่กลายเป็นทะเลทราย ทรัพยากรอย่างน้ำมัน น้ำ และกระสุน กลายเป็น
ของหายาก กระนั้นก็ตาม 'อิมมอร์ทัน โจ' ผู้นำที่ปกครองเมืองขุมทรัพย์น้ำก็เลือกจะบริหารบ้านเมืองอย่างเผด็จการเต็มรูปแบบ
ทั้งการเกณฑ์เด็กเกิดใหม่เข้าสู่กองทัพร่วมรบ (วอร์บอย) กำหนดให้ผู้หญิงมีหน้าที่ในการผลิตประชากรและป้อนน้ำนมเท่านั้น
รวมถึงการมีสิทธิ์ขาดแต่เพียงผู้เดียวในการเลือกปล่อยน้ำสู่ประชาชน

นอกจากนี้ ชุดความคิดที่โจสร้างให้เหล่าวอร์บอยเชื่อว่า การได้ร่วมรบกับโจถือเป็นเกียรติ หรือการได้ตายเพื่อโจจะเป็นการคืนสู่
สวรรค์วัลฮาลาก็ถือเป็นมายาคติดีๆ นี่เอง เมื่อเป็นเช่นนี้ 'ฟูริโอซา' หนึ่งในทหารหญิง ผู้ได้รับความไว้วางใจอันดับต้นๆ ของโจ
จึงเลือกที่จะหนีจากความเสื่อมโทรมทั้งหลายแหล่ ซึ่งได้นำไปสู่จุดเริ่มต้นแห่งการปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ โดยมี 'แมกซ์' ผู้รอดชีวิต
จากการเป็นถุงเลือดของเหล่าวอร์บอยคอยให้ความช่วยเหลืออยู่เคียงข้าง

จุดเด่นของ Mad Max นอกจากจะเน้นเล่าเรื่องด้วยภาพมากกว่าบทพูดแล้ว งานสร้างฉากแอ็กชันก็อลังการ จัดเต็มอย่างบ้าระห่ำ
ไม่เปิดโอกาสให้คนดูได้พักหายใจ อย่างไรก็ตาม ด้วยประเด็นปัญหาสังคมทั้งหลายที่ผู้กำกับ จอร์จ มิลเลอร์ เลือกใช้ก็คงจะพูดได้
อย่างเต็มปากว่า "Madmax คือหนังแอ็กชั่นการเมืองชัดๆ!"



ประเด็นทางการเมือง: การปกครองแบบเผด็จการ การปฏิวัติ สิทธิสตรี และวัฒนธรรมรถยนต์
ฉากเด็ด: ไล่ล่าบนท้องทะเลทราย
ระดับความเครียด: 4/5



3. Snowpiercer (2014)



หนังบอกเล่าเรื่องราว 17 ปี  หลังเกิดภาวะโลกร้อน โลกทั้งใบในปี 2031 ตกอยู่ในยุคน้ำแข็ง พืชพรรณและอาหารขาดแคลน
มนุษย์พากันล้มหายตายจาก เห็นจะมีก็แต่รถไฟขับเคลื่อนพลังงานสูงของวิลฟอร์ดที่กลายเป็นเสมือนโลกใบใหม่ของบรรดาผู้รอดชีวิต
การขาดแคลนทุนทรัพย์และความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพส่งผลให้กลุ่มคนผู้ไร้ทางเลือกจำต้องอยู่แออัดกันในโบกี้หางขบวน
ในขณะที่โบกี้หัวขบวนก็ถูกจับจองจากผู้ที่มีฐานะและวิชาชีพชั้นสูง

ความแยบยลของตัวหนังเล่าผ่านการจิกกัดชนชั้นของมนุษย์ในโลกยุคใหม่ (รถไฟ) ซึ่งถูกแบ่งไว้อย่างชัดเจนด้วยขบวนโบกี้ที่
พ่วงต่อกันลดหลั่นลงไปในแต่ละขบวน ความแร้นแค้นและการถูกกดขี่อย่างป่าเถื่อนเป็นเวลานานทำให้ชนชั้นหางขบวนเกิดการ
ลุกฮืออันนำไปสู่การก่อจลาจลอย่างบ้าคลั่ง

ท้ายที่สุดแม้บทสรุปของหนังอาจไม่ถูกจริตของใครหลายคน รวมไปถึงยังแอบจิกกัดบรรดาฝรั่งผิวขาวได้อย่างแสบสันต์ แต่ตลอด
ระยะเวลาที่หนังได้บอกเล่าเรื่องราวที่ตัวเอกของเรื่องได้เผชิญไล่ตั้งแต่ท้ายขบวนยันหัวขบวน เราพบว่า Snowpiercer ทำให้เรา
รู้สึกกลืนไม่เข้าคายไม่ออกกับคำว่า 'ชนชั้น' เลยทีเดียว



ประเด็นทางการเมือง: ชนชั้นทางสังคม
ฉากเด็ด: วินาทีที่วิดีโอปลุกใจในห้องเรียนเริ่มฉาย
ระดับความเครียด:  4/5





2. White God (2014)



ดูเผินๆ White God อาจเป็นเพียงแค่เรื่องราวการพรากจากกันระหว่างสุนัขและเด็กสาวผู้เป็นเจ้าของ แต่หากมองให้ลึกลงไปกว่านั้น
อีกขั้น เราจะเห็นว่าสารที่แท้จริงที่ตัวหนังต้องการจะสื่อให้คนดูรับรู้แฝงอยู่ในพล็อตเรื่องที่ถูกนำเสนอได้อย่างลงตัว ภายใต้แนวคิดหลัก
"อิสระที่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตพึงได้รับ"

เมื่อเป็นเช่นนั้นเฮเกน (สุนัขตัวเอก) และพรรคพวกจึงพากันออกทวงถามถึงสิทธิ์ที่มันควรจะได้รับในฐานะผู้อยู่อาศัย แม้พวกมัน
จะถูกตีค่าว่าเป็นแค่สัตว์เลี้ยงก็ตาม ซึ่งไม่ต่างอะไรจากชนกลุ่มน้อยที่ไร้สิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น หรือกลุ่มผู้ลี้ภัยที่ถูกเพิกเฉย
ราวกับไม่ใช่มนุษย์

คำถามที่น่าสนใจหลังชมภาพยนตร์เรื่องนี้คือ หากภาครัฐให้ความสำคัญในการกำกับดูแลสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตได้ดีกว่าที่ควรจะเป็น
เรื่องราวทั้งหมดจะบานปลายจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมสุดหดหู่ดังเช่นที่เราได้รับชมหรือไม่



ประเด็นทางการเมือง:  ชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัย การถูกกดขี่ การบริหารจัดการที่ย่ำแย่จากหน่วยงานรัฐ และการก่อม็อบ!
ฉากเด็ด:  การประกาศกร้าวลุกฮือจากผู้ที่ไม่ขอทนก้มหัวอีกต่อไป
ระดับความเครียด:  5/5






1. Toy Story 3 (2010)



เว็บไซต์ whatculture.com มองทะลุประเด็นการเมืองที่ซ่อนไว้ในหนังไตรภาคเรื่องราวของของเล่นเรื่องนี้อย่างน่าสนใจไว้ว่า
"เรื่องราวทั้งหมดในเรื่อง แท้จริงแล้วคือเรื่องราวการอพยพของชาวยิวนั่นเอง"

เนื้อเรื่องเล่าถึงช่วงวัยเปลี่ยนผ่านของเจ้าของของเล่น เมื่อเติบโตขึ้น ความสนใจผันแปร ของเล่นทั้งหมดจำต้องถูกจัดเก็บไว้ใน
สถานที่ของมัน ไม่ต่างอะไรจากการที่ผู้ปกครองประเทศ (เจ้าของของเล่น) ได้ปิดตายประเทศและสละประชาชน (ของเล่น)
ให้เดินตามโชคชะตาของตนเอง

เหตุการณ์กลับตาลปัตรเมื่อบรรดาของเล่นทั้งหลายจับพลัดจับผลูถูกนำไปบริจาคยังสถานเลี้ยงเด็ก 'ซันนี่ไซด์' ซึ่งถูกอุปมาว่า
เป็นนรกแคมป์นาซี ที่นี่เองที่เหล่าของเล่นผู้อพยพทั้งหลายได้ล่วงรู้ความจริงถึงจิตใจที่ย่ำแย่ของมนุษย์ด้วยกันเอง (ของเล่นชิ้นอื่นๆ)
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าผู้ปกครองค่ายกักกันรายใหม่ (เด็กในสถานรับเลี้ยง) ที่สนุกกับการทารุณพวกเขาด้วยสารพัดวิธี

บทสรุปของเรื่องยังเปรียบได้กับการคืนสู่สรวงสวรรค์ของเหล่าผู้อพยพ (ของเล่น) อีกด้วย



ประเด็นทางการเมือง:  การอพยพ และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว
ฉากเด็ด: การส่งต่อที่ปะปนไปด้วยความสุขและคราบน้ำตา
ระดับความเครียด:  1/5

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่