ค้นหาตัวตน "เชียงใหม่" จากเวียงกุมกามสู่เมืองกำกวม

ค้นหาตัวตน "เชียงใหม่" จากเวียงกุมกามสู่เมืองกำกวม

เริ่มโดย etatae333, 26 มกราคม 2013, 16:08:13

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

ค้นหาตัวตน "เชียงใหม่" จากเวียงกุมกามสู่เมืองกำกวม

จาก "เวียงกุมกาม" ศูนย์กลางบนลุ่มแม่น้ำปิงของพญามังราย ผ่านประวัติศาสตร์ขัดเกลากว่า 700 ปี กว่าจะถึง "เชียงใหม่"
ในวันนี้ที่พูดได้เต็มปากว่า เป็นเมืองพราวเสน่ห์ ครบเครื่อง ครบรส ตามจังหวะของเมืองอากาศเย็นที่ไม่รีบร้อน แต่ก็ไม่เงียบเหงา
แถมยังมีสิ่งแปลกใหม่ผุดขึ้นเอาใจแขกต่างถิ่นให้มาเยือนไม่ขาดสาย


วัตถุดิบหลากหลายประกอบร่างสร้างเมืองเชียงใหม่มาจากส่วนผสม "ความเป็นเมืองเก่า" ปนเปกับ "ความทันสมัย"
ย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะพบเจอความอีหลักอีเหลื่อในภาวะ "ความขัดแย้งในตัวเอง" หากเปรียบนครเชียงใหม่เป็น "มนุษย์"

คงดูเป็นคนที่มีบุคลิกย้อนแย้ง ทั้งยึดติดแบบ "หัวโบราณ" ในอีกแง่มุมก็อยากเป็น "คนทันสมัย" หัวก้าวหน้า


สร้างความคลุมเครือในการนิยาม "ตัวตนเชียงใหม่"

แม้อาจเป็นมนต์เสน่ห์น่าค้นหาสำหรับบางคนเหมือนเดินอยู่ในสายหมอกเมืองเหนือ แต่นั่นไม่ใช่ความปรารถนาของฝั่งนักธุรกิจ
เพราะคงไม่มีใครอยากสุ่มเสี่ยงทุ่มเม็ดเงินลงทุนบนเส้นทางที่มีทัศนวิสัยไม่ชัดเจน เช่นเดียวกับ "วรพงษ์ หมู่ชาวใต้"
อุปนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ บอกเล่ากับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า

"เชียงใหม่เป็นเมืองมีดีในตัว เพียงแค่คนยังขุดค้นไม่ถึง แต่บางทีของดีเยอะเกินไป ก็ยากที่จะบอกได้ว่าแบรนด์ของเชียงใหม่
คืออะไรกันแน่ จึงเกิดภาวะ dead lock (ชะงักงัน) ในตัวเอง ระหว่างการนิยามให้เป็นเมืองวัฒนธรรม แต่กลับสกัดกั้นธุรกิจ
หลายประเภทไม่ให้เข้ามาเติบโต หรือถ้าจะเติบโตแบบทันสมัยก็ขัดกับรากเหง้าของคนเมืองเชียงใหม่"


เดิมทีเชียงใหม่เป็นเมืองที่ดีไซน์ให้น่ารักและเรียบง่าย
แต่เมื่อต้องประจันหน้ากับการขยายตัวเชิงเศรษฐกิจถาโถมซัดกระหน่ำ ส่งผลให้ความเป็นเชียงใหม่แท้กำลังหายไป

ย้อนภาพแรกของเมืองเชียงใหม่ในความทรงจำของวรพงษ์เมื่อ 25 ปีก่อน พร้อมฉายฝันให้ฟังว่า
"วิถีชีวิตคนเมืองตอนที่ผมเพิ่งย้ายมาอยู่สวยงามและน่ารักมาก จนอยากหยุดความเป็นเชียงใหม่ไว้ตั้งแต่วันนั้น ถึงวันนี้ไม่ค่อยอู้กำเมืองกันแล้ว
แต่หลายคนกลับไปโทษคนเชียงใหม่ที่ไม่สามารถรักษาวัฒนธรรมและภาษาพื้นเมืองไว้ได้ แต่ควรถามกลับว่า แล้วมือใครเอื้อมเข้ามาเปลี่ยน
เมืองเก่าให้โมเดิร์น หรือเปลี่ยนโฉมถนนนิมมานเหมินท์เป็นย่านทันสมัย และถึงตอนนี้แทบไม่มีใครอยากเลือกลงทุนเน้นเรื่องวัฒนธรรมเก่าแก่
กันแล้ว"


แต่ในซีกของนักธุรกิจย่อมหวังให้เชียงใหม่ปรับตัวเพื่อ "ขายได้" ฉะนั้นแบรนด์ต้องชัดเจน
คำถามคือ จุดยืนเชียงใหม่อยู่ตรงไหน, สิ่งเก่ากับสิ่งใหม่จะดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างไร

มิเช่นนั้น ตัวตนที่ไม่ชัดเจนนี้กำลังผลักให้เชียงใหม่ยังคงเป็น "เมืองปราบเซียน" จนนักลงทุนยอมยกธงขาวล่าถอยหรือไม่

อุปนายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวฯ เปรียบเปรยให้ฟังว่า
"เมืองเชียงใหม่เป็นเสมือนศิลปินคุณภาพ คว้าถ้วยรางวัลมาวางเต็มตู้ แต่ยอดขายไม่ถึงเป้าหมาย รายได้ของเชียงใหม่ยิ่งถอยหลังลงเรื่อย ๆ
ทั้งที่มีผู้ประกอบการเข้ามาเพิ่มขึ้น แต่ขายไม่ออก ถ้าเทียบกับเมืองภูเก็ตที่ชัดเจนในจุดขายและเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ"


ดังนั้นเพื่อปลดภาวะ dead lock จำเป็นต้อง "รีแบรนด์เชียงใหม่" ฟื้นจุดขายให้สามารถตอบโจทย์การท่องเที่ยวได้ดีขึ้น
จึงเกิดเป็นการประชุมวาระพิเศษระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง นัดทบทวนว่า


"ความเป็นเชียงใหม่ได้เปลี่ยนไปแล้วหรือยัง ?"

หนึ่งในภารกิจเร่งด่วนตามที่วรพงษ์คิดว่าต้องเร่งหา คือ "โพซิชันนิ่งของเชียงใหม่" จากที่เคยมีการนัดคุยมาสองรอบเรื่องนี้แล้วก็ล้มเหลว
ยังไม่สามารถกำหนดนิยามและคอนเซ็ปต์หลักได้

เช่น ข้อเสนอให้เป็นเมือง creative MICE ก็มีคนแย้งว่าเกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างไร เช่น ถ้ามีศิลปินต่างชาติมาเชียงใหม่แล้ว
ได้แรงบันดาลใจคิดต่อยอดงานศิลปะได้หรือไม่ เชียงใหม่ตอบโจทย์เรื่องสร้างสรรค์แค่ไหน แต่อีกมุมหนึ่งตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
รายได้ที่เข้าเมืองเชียงใหม่ส่วนใหญ่อยู่ที่การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ

เพียงแค่หา "โพซิชันนิ่ง" ของเชียงใหม่ก็ต้องหารือกันอีกยาวและยังสับสนอยู่มาก ด้าน ททท. ชู "วัฒนธรรมล้านนา"
แต่ทางภาคธุรกิจย้อนถามกลับว่า "แล้วเอกลักษณ์ล้านนาอยู่ตรงไหน" หรือจะต้องคงนิยามให้เป็น "ล้านนาโมเดล"
ให้ชัดเจนก่อน


ก่อนอื่นต้องเริ่มขุดหาตัวตนจากสิ่งที่ดั้งเดิม คัดกรองสถานที่

กิจกรรม พิธีกรรมอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับเชียงใหม่ ซึ่งมีพิธีโบราณซุกซ่อนอยู่ตามกำแพงเมือง คูเมือง แล้วค่อย ๆ
กะเทาะเนื้อแท้เชียงใหม่ออกมา

"แต่เชียงใหม่วันนี้ถอยหลังกลับไปเป็นเหมือนเดิมไม่ได้แล้ว ใช่ว่าเชียงใหม่จะหมดความน่ารัก อย่างน้อยในความคิดของผม
เชียงใหม่เป็นเมืองหลายอารมณ์ เหมือนตอนขับรถอยู่ในตัวเมืองเปิดวิทยุฟังข่าว แต่พอหลุดออกจากความวุ่นวายในตัวเมือง
เปลี่ยนเพลงฟังชิล ๆ (ดีดนิ้วแล้วบอกว่า) ใช่เลย ! เหมือนอยู่เป็นคนละโลก เป็นเมืองศิลปะที่มีอยู่ในธรรมชาติสีเขียว"


วรพงษ์ทิ้งท้าย พร้อมฟันธงว่า
"เชียงใหม่นี่แหละ บ้านหลังสุดท้ายของผมแล้ว เพราะอยู่ที่นี่ก็ยังดีกว่าตอนเป็นคนกรุงเทพฯ
ที่ได้ดูแต่นาฬิกา แต่ไม่มีเวลาได้ดูดาว"


ส่วนข้อได้เปรียบหลายอย่างของเชียงใหม่ แค่ป่าวประกาศว่า "เชียงใหม่หนาวแล้ว..." นักท่องเที่ยวไทยก็แห่แหนดั้นด้น
ขึ้นดอยสัมผัสอากาศเย็นกันแน่นเอี้ยด

ดังที่ "เสกสรร นาควงศ์" รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มองเห็นจุดขายอัดแน่นอยู่ในตัวเชียงใหม่
เพียงแต่จะประคับประคองรักษาเรื่องความเป็นชาวเหนือตรงนี้ไว้อย่างไร

"อย่าหลงทำให้เชียงใหม่เติบโตไปเป็นกรุงเทพฯ และสิ่งที่น่าห่วงเมื่อคนเชียงใหม่เริ่มไม่อยากแสดงตนเป็นชาวเหนือกันแล้ว
แข่งกันสร้างตึกสูง คอนโดฯ ตั้งตระหง่าน ถ้าบรรยากาศเปลี่ยนไปเป็นอย่างนั้นก็ไม่เห็นจำเป็นต้องนั่งเครื่องบินมาไกลถึงเชียงใหม่"


ถ้ามองผ่านความรู้สึกของ "คนใน" มีบ้านเกิดอยู่ในเชียงใหม่ อาจมองความเปลี่ยนไปมาพร้อม "คนนอก" ที่เข้ามารื้อถอน

รากเหง้าวัฒนธรรมล้านนาดั้งเดิม จุดชนวนให้คนเชียงใหม่อยากจะลุกขึ้นมาประกาศปลดแอกขอแยกเป็น "จังหวัดจัดการตนเอง"
ในรูปแบบ "เชียงใหม่มหานคร" ที่ได้ตีฆ้องร้องป่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่รองปลัดเสกสรร ฉุดให้นึกถึงโมเดลพัทยาเสียก่อน


"พัทยาในวันนี้มีกลุ่มนักธุรกิจต่างชาติเข้าคุมหมดแล้ว แต่ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ เพราะมีกฎหมายปกครองเฉพาะของตนเอง
ถ้าเชียงใหม่อยากแยกเป็นอิสระก็ต้องคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมพร้อมจะดูแลตัวเองมั้ย แล้วคนพื้นเพเชียงใหม่รับตรงนี้
ได้แค่ไหน ถ้ายังรับไม่ได้ก็นำไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด วิสัยทัศน์ผู้บริหารควรต้องอยู่บนความสมดุลระหว่างวิถีชีวิตดั้งเดิม
กับวิถีเงินให้เดินไปด้วยกัน โดยไม่ทะเลาะกัน"


กาลเวลาเท่านั้นที่จะไขคำตอบหาตัวตน "เชียงใหม่" ดำเนินไปในแบบที่ควรจะเป็น บางทีการไร้ตัวตนอาจจะเป็นคำตอบสุดท้าย
ของเสน่ห์เมืองเชียงใหม่ที่ใครหลายคนต่างหลงใหลและหลงรัก


"ศูนย์ประชุมฯ เชียงใหม่" ใหญ่ที่สุดในเอเชีย

หลังจากลุ้นจนเกือบถอดใจไปแล้ว สำหรับมหากาพย์โปรเจ็กต์ใหญ่ติดอันดับการสร้างยาวนานที่สุดโครงการหนึ่งไปแล้ว นั่นคือ
"ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่" หรือชื่อเต็มว่า ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ
พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ หรือ ซีไมซ์ ถึงตอนนี้ประกาศลั่นพร้อมเปิดให้บริการช่วงสงกรานต์ปีนี้แน่นอน เพื่อสนองนโยบายรัฐ
ดันไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคเอเชีย ในปี พ.ศ. 2559

เลือกปักธงให้ "เชียงใหม่" เป็นหนึ่งในเมืองแห่งไมซ์ของประเทศ รองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผ่าน 4 อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE)
ได้แก่ "Meeting", "Incentive","Convention" และ "Exhibition"


จุดเด่นของศูนย์ประชุมแห่งนี้ สามารถรองรับงานได้พร้อมกันมากถึง 10,000 คน บนพื้นที่ 326 ไร่ เป็นศูนย์ประชุมที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ในเอเชีย
สามารถดัดแปลงเพื่อการจัดงานได้หลากหลาย โดยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา


credit :: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

boyzzz

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

game_master

สวัสดีครับ ผมเป็นคนกรุงที่หลงไหลในความเป็นล้านนา และตัดสินใจหนีความวุ่นวายในกรุงเทพ มาอยู่เชียงใหม่
ผมอยากให้เมืองเชียงใหม่มีความเจริญ พัฒนานะครับเอาหลายๆด้านก็ได้
***แต่อยากให้อนุรักษ์ความเป็นเชียงใหม่ ความเป็นล้านนาเอาไว้ เพราะนี้เป็นสิ่งที่เป็นตัวตนของเชียงใหม่ อย่าให้มันเกินไปจากเดิมมากเลยครับ (อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัว ผิดพลาดก็ขออภัย)
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
ปล่อยให้สายลมพัดผ่านเอาเริ่องราวร้ายๆออกไป แล้วรับเอาเรื่องราวใหม่ๆเข้ามา