ปัญจขันธ์ (เจียวกู่หลาน) สมุนไพรล้มลุกสัญชาติจีน

ปัญจขันธ์ (เจียวกู่หลาน) สมุนไพรล้มลุกสัญชาติจีน

เริ่มโดย kdidd, 26 มิถุนายน 2017, 23:24:28

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

kdidd


ปัญจขันธ์ (เจียวกู่หลาน) สมุนไพรล้มลุกสัญชาติจีน
            เมื่อพูดถึงปัญจขันธ์ หลายคนคงงุนงงว่าผู้เขียวกล่าวถึงสมุนไพรอย่างไหนแต่หากพูดใหม่อีกทีว่าเจียวกู่หลานเชื่อว่าหลายคนคงร้องอ๋อกันเป็นแถว ซึ่งความจริงแล้ว ปัญจขันธ์นั้นก็คือเจียวกู่หลาน และเจียวกู่หลานก็คือปัญจขันธ์นั่นเอง (ไม่รู้จะพูดซ้ำไปซ้ำมาทำไม) ปัญจขันธ์นั้นเป็นชื่อที่ไทยเราเรียกสมุนไพรอย่างนี้ตั้งแต่แรกเริ่มมีการนำเข้ามาแล้ว ส่วนที่ผู้เขียนจั่วหัวเรื่องไว้ว่า "สมุนไพรสัญชาติจีน" ก็เพราะว่าต้นกำเนิดหรือถิ่นกำเนิดของเจียวกู่หลานนั้นหลายท่านก็คงทราบแล้วว่าเป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนแต่ผู้เขียนจะอธิบายให้กระชับอีกหน่อยว่า เจียวกู่หลานนี้ในยุคแรกๆมักพบในที่ชื้นแฉะตามริมทางน้ำไหลหรือภูเขาหินปูนที่มีความสูงระดับ 30 เมตรจากระดับน้ำทะเลไปจนถึงความสูงระดับ 3200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ทางภาคตะวันออกของจีน รวมไปจนถึงทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง เช่น มณฑลเสฉวน มณฑลกวางสี มลฑลกวางตุ้ง ดังนั้นจึงจะเรียกได้ว่า เจียวกู่หลานมีถิ่นกำเนิดในแถบภาคตะวันออกของจีนรวมไปถึงมณฑลทางใต้ของจีน ส่วนการเพาะปลูกนั้น เจียวกู่หลานมีการกระจายพันธุ์ไปอย่างกว้างขวางโดยในช่วงแรกๆมีการขยายพันธุ์ไปในประเทศ เกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย และประเทศไทย โดยการกระจายพันธุ์ในช่วงแรกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการนำต้นกล้าจากจีนไปเพาะปลูกหรือจากการเพาะเมล็ด แต่มีรายงานฉบับหนึ่งระบุว่าในประเทศไทยนั้นมีการพบเจียวกู่หลานในธรรมชาติที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ และในปัจจุบันเจียวกู่หลานในประเทศไทยมีการส่งเสริมการขยายพันธุ์ในแถบภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย และมีการขยายพื้นที่ขยายพันธุ์ไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ นครราชสีมา ชัยภูมิ และในจันทบุรีในภาคตะวันออกด้วยและที่ผู้เขียนได้จั่วหัวไว้อีว่า "เจียวกู่หลานสมุนไพรล้มลุก" ก็เพราะว่าตามประเภททางพฤกษศาสตร์แล้ว เจียวกู่หลานถูกจัดเป็นพืชล้มลุกจำพวกเถา เช่นเดียวกับดีปลี พริกไทย กวาวเครือขาว แต่อยู่ในวงศ์ของแตงกวา โดยแบ่งเป็น  สายพันธุ์ ดังนี้ 1.เจียวกู่หลานป่า (จะพบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ) 2.เจียวกู่หลานบ้าน (เพาะตามแหล่งปลูกทั่วไป) แต่ชนิดทั่วๆไปจะเหมือนกันทุกส่วน คือ ต้นของเจียวกู่หลาน ลำต้นเป็นเถาเล็กเรียวยาวประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร มีรากเลื้อยอยู่ใต้ดิน ลำต้นเป็นแบบข้อๆมีมือเกาะ(tendril) เป็นเส้นยาวมีขนบางๆ ใบของเจียวกู่หลาน เป็นใบเรียงสลับและเรียงแบบขนนก หนึ่งกิ่งจะมี 5 ใบ เป็นรูปทรงกลมรี ปลายใบ โคนใบค่อนข้างกลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย ใบกว้าง 2 – 3 เซนติเมตร ดอกของเจียวกู่หลาน ดอกเป็นแบบแยกเพศ อยู่บนดินเดียวกันมีขนาดเล็กมีกลีบดอก 5 กลีบ ออกดอกตามซอกใบเป็นกระจุกสีเขียวอมเหลือง ผลของเจียวกู่หลานผลเป็นรูปทรงกลม ผิวขรุขระผลอ่อนสีเขียว ผลแก่มีสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4- 7 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 1 – 3 เมล็ด และในปัจจุบันเจียวกู่หลานได้มีการนำไปปลูกในภูมิภาคต่างๆทั่วโลก (ซึ่งก็มีข้อจำกัดคือต้องเป็นเขตอบอุ่นเท่านั้น) เนื่องจากเป็นพืชสมุนไพรได้ถูกนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ที่กำลังเติบโตในตลาดโลกในตอนนี้

คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : สรรพคุณเจียวกูหลาน

Tags : เจียวกู่หลาน
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

kdidd

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

kdidd

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

kdidd

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

kdidd

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions