อาณานิคมที่สาปสูญแห่งโรอาโนก

อาณานิคมที่สาปสูญแห่งโรอาโนก

เริ่มโดย etatae333, 29 กันยายน 2017, 13:57:28

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

อาณานิคมที่สาปสูญแห่งโรอาโนก (lost colony Roanoke )



เรื่องราวของอาณานิคมแห่งนี้ เป็นหนึ่งในสิบปริศนาลี้ลับของสหรัฐอเมริกา กับชะตากรรมของชาวอังกฤษ
นับร้อยที่หายสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งแม้แต่ในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีใครรู้ว่า เพราะเหตุใดหรือสิ่งใดที่ทำให้
ชาวอาณานิคมแห่งนี้จึงละทิ้งถิ่นฐานไป โดยไม่มีผู้ใดพบเห็นพวกเขาอีกเลย

อาณานิคมโรอาโนก (Roanoke) ตั้งอยู่บนเกาะโรอาโนกในเขตแดร์ รัฐแคโรไลน่าเหนือ สหรัฐอเมริกา
อาณานิคมแห่งนี้เกิดขึ้นจากความพยายามของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่หนึ่งที่ทรงต้องการตั้งชุมชนถาวร
ของชาวอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ พระนางจึงทรงให้เซอร์วอลเตอร์ ราเลย์จัดการหาสถานที่อันเหมาะสม
ในทวีปอเมริกาเหนือเพื่อจัดตั้งอาณานิคม


โดยนอกจากจะมีเป้าหมายในการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรอันมหาศาลของดินแดนโลกใหม่แล้ว
ทางอังกฤษยังต้องการใช้อาณานิคมใหม่ที่จะตั้งขึ้นนี้เป็นฐานทัพในการส่งเรือสลัดเอกชนเข้าปล้นกองเรือ
ขนสมบัติของสเปนด้วย  อย่างไรก็ตามในภารกิจครั้งนี้ ราเลย์ไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง

โดยใน วันที่ 27 เมษายน ค.ศ.1584 เขาได้ส่งทีมสำรวจไปยังชายฝั่งตะวันออกของอเมริกาเหนือ โดย
คณะสำรวจได้มาถึงที่นี่ในวันที่ 4 กรกฎาคม และเริ่มจัดตั้งชุมชนพร้อมกับสร้างสัมพันธภาพกับชนพื้นเมือง
ท้องถิ่น คือชาวเผ่าเซโคทันและเผ่าโครอาทัน จากนั้นจึงทำการสำรวจภูมิประเทศเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับ
การก่อตั้งอาณานิคม




วันที่ 9 เมษายน ค.ศ.1585 เซอร์วอลเตอร์ได้ทำการสำรวจครั้งที่สองโดยให้ เซอร์ริชาร์ด แกรนวิลล์นำเรือ
ห้าลำออกเดินทางมาอเมริกาเหนือ หลังเจอกับพายุจนกองเรือพลัดแยกไประยะหนึ่ง ในที่สุด แกรนวิลล์ก็นำ
กองเรือมาถึงเกาะโรอาโนกและได้ดำเนินการจัดตั้งอาณานิคมถาวรของชาวอังกฤษขึ้นที่นี่เป็นแห่งแรก
โดยให้ราล์ฟ เลนและชายฉกรรจ์ 107 คน ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ โดยแกรนวิลล์สัญญาว่าเขาจะกลับมาใน
เดือนเมษายน ค.ศ.1586 พร้อมกับกำลังคนและเสบียงอาหารเพิ่มเติม เลนได้สร้างป้อมขนาดเล็กขึ้นบนเกาะ
และได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่โดยรอบ

จนถึงเดือนเมษายน ค.ศ.1586 ขณะที่ยังไม่มีวี่แววว่ากำลังคนและเสบียงจะถูกส่งมาเพิ่ม ชาวอาณานิคม
ของราล์ฟได้เกิดขัดแย้งกับชนพื้นเมือง ทำให้ป้อมถูกโจมตี แม้จะยังรักษาที่มั่นไว้ได้ แต่สถานการณ์ของ
ชาวอาณานิคมเริ่มอยู่ในสภาพเสี่ยง


ทว่าในยามนั้น เซอร์ฟรานซิส เดรก แม่ทัพเรืออังกฤษเพิ่งกลับจากภารกิจปล้นชิงเรือสเปนในทะเลคาริบเบียน
เขาได้นำกองเรือมาที่นี่และเสนอจะนำชาวอาณานิคมที่เหลือออกจากเกาะ ซึ่งทุกคนตกลง ทำให้ป้อมถูกทิ้งร้างไป
และเมื่อแกรนวิลล์กลับมาเกาะโรอาโนกในเวลาต่อมา ก็พบว่าไม่มีใครอยู่ที่นี่แล้ว เขาจึงกลับไปรายงานเซอร์ราเล่
ที่อังกฤษ



ต่อมาใน ปี ค.ศ.1587 เซอร์ราเล่ได้ส่งชาวอาณานิคมจำนวน 150 คน นำโดย จอห์น ไวต์ มาที่อ่าวเซซาพีค
ในอเมริกาเหนือ ไวต์เป็นศิลปินและเป็นสหายของราเล่ เขาเคยเข้าร่วมการสำรวจในครั้งก่อน ซึ่งหลังจากมาถึงแล้ว
ไวต์และคนของเขาได้เดินทางไปเกาะโรอาโนกเพื่อค้นหาคนของแกรนวิลล์ที่อาจยังหลงเหลืออยู่ ทว่าพวกเขา
ไม่พบใครที่นั่น


จอห์น ไวต์ตัดสินใจตั้งอาณานิคมขึ้นใหม่ที่เกาะ เขาได้ผูกมิตรกับชาวเผ่าโครอาโทนและได้ติดต่อเจรจาขอผูกมิตร
กับชนเผ่าที่คนของราล์ฟเคยขัดแย้งด้วย ทว่าชาวเผ่านั้นปฏิเสธที่จะรับไมตรีของไวต์ และหลังจากนั้นไม่นาน
ก็มีชาวอาณานิคมนามว่า จอร์จ โฮวี ถูกชาวพื้นเมืองสังหารขณะออกไปจับปูที่หาดทรายนอกชุมชน

สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวอาณานิคมหวาดกลัว พวกเขาขอให้ไวต์เดินทางกลับอังกฤษเพื่ออธิบายสถานการณ์อัน
สิ้นหวังของชาวอาณานิคมและขอความช่วยเหลือ ไวต์จึงเดินทางกลับอังกฤษโดยทิ้งชาวอาณานิคมไว้ 115 คน
รวมทั้งเวอร์จิเนีย แดร์ หลานสาวที่เพิ่งเกิดของจอห์น ไวต์ โดยเวอร์จิเนีย แดร์ ถือเป็นชาวอังกฤษคนแรก
ที่ถือกำเนิดในอเมริกา

ไวต์สัญญากับทุกคนว่าจะรีบกลับมา ทว่าหลังจากเขามาถึงอังกฤษได้เกิดสงครามขึ้น โดยพระเจ้าฟิลิปที่สอง
แห่งสเปนได้ส่งกองทัพเรืออมาดาเข้ารุกรานอังกฤษ สงครามครั้งนี้ ทำให้การหาเรือเพื่อเดินทางกลับโรอาโนก
ของไวต์ต้องประสบปัญหาเนื่องจากเรือเกือบทุกลำได้เข้าร่วมรบ


อย่างไรก็ตาม ไวต์ได้พยายามหาเรือเพื่อไปโลกใหม่ จนในที่สุด เขาสามารถว่าจ้างเรือเล็กได้สองลำ สำหรับ
การเดินทางและในปี ค.ศ.1588 พวกเขาก็ออกเดินทาง ทว่าสภาพอากาศและปัญหาเรื่องลูกเรือทำให้ไวต์
ไม่อาจไปถึงเกาะโรอาโนก



กระทั่งล่วงมาถึง ปี ค.ศ.1590 ซึ่งสงครามได้สิ้นสุดลง โดยอังกฤษเป็นได้รับชัยชนะเหนือกองทัพเรือสเปน
ไวต์ได้จัดหาเรือสำเภาและออกเดินทางไปยังเกาะโรอาโนกพร้อมกำลังคนและเสบียงอาหาร

จอห์น ไวต์ขึ้นฝั่งที่โรอาโนกในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ.1590 ซึ่งเป็นวันเกิดครบรอบสามปีของหลานสาวเขา
แต่ไวต์พบว่าอาณานิคมว่างเปล่า คนของเขาไม่พบร่องรอยใด ๆ ของชาย 90 คน  ผู้หญิง 17 คน และ
เด็ก 11 คน สิ่งที่พบมีเพียงป้อมถูกทิ้งร้าง ไม่มีร่องรอยของการต่อสู้หรือการการโจมตีใด ๆ



หลักฐานที่พบ มีเพียงคำว่า โครอาโทน (Croatoan) ที่ถูกสลักบนรั้วรอบหมู่บ้านและคำว่า โคร (Cro) ที่ถูก
สลักไว้บนต้นไม้ใกล้ ๆ กัน บ้านและสิ่งก่อสร้างทุกหลังถูกรื้อออก ซึ่งหมายความ พวกเขาไม่ได้จากไปอย่างเร่งรีบ


ทั้งนี้ ก่อนที่ไวต์จะไปจากที่นี่ เขาได้สั่งชาวอาณานิคมว่า หากเกิดเรื่องขึ้น ก็ให้พวกเขาสลักรูปไม้กางเขนไว้บน
ต้นไม้ใกล้ๆ เพื่อบอกให้รู้ว่า พวกเขาถูกบังคับให้หนีไป ท

ว่าการที่ไม่มีเครื่องหมายดังกล่าว ไวต์จึงคิดว่า พวกเขาน่าจะย้ายไปที่ เกาะโครอาโทน (ปัจจุบันคือเกาะแฮทเทอรัส)
แต่ไวต์ก็ไม่สามารถเดินทางไปพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่นั่นได้ เนื่องจากพายุใหญ่ที่กำลังก่อตัว ทำให้คนของเขาไม่ยอม
ไปต่อ จากนั้นในวันรุ่งขึ้น พวกเขาก็ออกจากเกาะ

เซอร์วอลเตอร์ ราเล ผู้ถือสิทธิในการจัดตั้งอาณานิคมบนเกาะโรอาโนกได้ส่งคนออกค้นหาชาวอาณานิคมที่หายไป
ทว่าสภาพอากาศที่เลวร้าย ทำให้การค้นหาล้มเหลว จนกระทั่งหลายปีต่อมา เมื่อเซอร์ราเล ถูกประหารชีวิตในข้อหา
ก่อกบฏ การค้นหาชาวอาณานิคมจึงยุติลง



นอกจากอังกฤษแล้ว ชาวสเปนเองก็ออกค้นหาอาณานิคมแห่งนี้ เนื่องจากพวกสเปนต้องการทำลายที่มั่นของเรือสลัด
เอกชนซึ่งพวกเขาเชื่อว่าตั้งอยู่บนอาณานิคมที่โรอาโนก ทว่าชาวสเปนกลับพบเพียงความว่างเปล่าเช่นกัน


นักประวัติศาสตร์ได้พยายามหาคำอธิบายเรื่องการการหายไปอย่างไร้ร่องรอยของชาวอาณานิคมโรอาโนก
นักประวัติศาสตร์คิดว่าหากพวกเขาย้ายไปอยู่ที่เกาะโครอาโทน หรือย้ายไปยังบริเวณอื่นใกล้เคียงก็น่าจะมี
หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับชาวอาณานิคมหลงเหลืออยู่บ้าง ทว่าแม้จะมีการพบข้าวของบางชิ้นของชาวผิวขาว
ในพื้นที่แถบนั้น แต่ก็ไม่มีหลักฐานอื่นใดยืนยันถึงการเคยมีอยู่ของพวกเขา

ทั้งนี้หลายปีหลังเกิดเหตุการณ์หายตัวของชาวเกาะโรอาโนก มีนักเดินทางชาวผิวขาวอ้างว่า พวกเขาพบเห็นคนขาว
อาศัยอยู่รวมกับชาวอินเดียนพื้นเมืองในพื้นที่ใกล้เคียง แต่นอกจากคำบอกเล่าแล้ว ก็ไม่มีพยานหลักฐานอื่นใด

นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบแผ่นหินบันทึกของอลิซาเบธ แดร์ บุตรสาวของจอห์น ไวต์ มารดาของ เวอร์จิเนีย แดร์
ซึ่งบันทึกเหล่านั้นเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากไวต์ไปจากเกาะ ทั้งยังเล่าถึงวาระสุดท้ายของชาวอาณานิคมด้วย
อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าแผ่นหินถูกทำขึ้นหลังการหายสาบสูญ จึงไม่มีใครเชื่อถือ
ข้อความในนั้น



การหายตัวไปของชาวอาณานิคมโรอาโนกกลายเป็นหนึ่งในปริศนาลี้ลับของประวัติศาสตร์อเมริกา จนถึงทุกวันนี้
ก็ยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนสำหรับเรื่องที่เกิดขึ้น รวมทั้งชะตากรรมที่แท้จริงของ เวอร์จิเนีย แดร์ ชาวอังกฤษ
คนแรกที่ถือกำเนิดบนแผ่นดินอเมริกา และทั้งหมดนี้เองที่ทำให้ อาณานิคมแห่งโรอาโนก ได้รับสมญาว่า


อาณานิคมที่สาบสูญ (The lost colony)



friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่