เรซแทรค พลาย่า (Racetrack Playa) หินเดินได้ไง

เรซแทรค พลาย่า (Racetrack Playa) หินเดินได้ไง

เริ่มโดย etatae333, 03 พฤษภาคม 2018, 13:53:49

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

เรซแทรค พลาย่า (Racetrack Playa)

สูงขึ้นไปบนเทือกเขาเซียรา เนวาดา บริเวณชายแดนรัฐแคลิฟอร์เนียจรดกับรัฐเนวาดา มีสถานที่แห่งหนึ่งที่หินเดินได้ในตอนกลางคืน
ในอดีตนั้นคงจะมีพวกผู้บุกเบิกหรือพวกร่อนทอง มาพานพบกับทะเลสาปที่แห้งกรังที่ขึ้นมาอยู่สูงขนาดนี้ ปัจจุบันสถานที่แห่งนี้เป็น
วนอุทยานอุทยานแห่งชาติเดท วัลลี่ย์ (Death Valley National Park) ที่ซึ่งหินเดินได้เป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวมากที่สุด




จุดที่น่าสนใจที่สุดของทะเลสาบแห้งกรังหรือที่เรียกว่า พลาย่า คือบริเวณที่มีชื่อว่า เรสแทรค พลาย่า(แอ่งทะเลสาบที่แห้งแล้ว) 
ซึ่งมีด้านกว้าง 2 กิโลเมตร ยาง 5 กิโลเมตร และสูงเกือบ 1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในทันทีที่คุณมาถึงพลาย่ากว้าง
สุดลูกหูลูกตาแห่งนี้ สิ่งแรกและสิ่งเดียวที่จะดึงดูดสายตาคุณที่สุด คือก้อนหินน้อยใหญ่ที่เรียงรายกันอยู่บนพื้นดินโคลนแห้งกรัง
แตกระแหง สีฟ้าอ่อนๆ ของความสูงระดับนี้ จะสาดจับก้อนหินเหล่านั้น และรอยประทับบนพื้นดินเป็นทางยาวที่มันได้เคลื่อนมา
ให้ความรู้สึกเหมือนว่าหินเหล่านี้มั่นคงติดแน่นกับพื้นพอๆ กับว่ามันพร้อมที่จะ เคลื่อนออกเดินทางต่อไป ไม่มีใครที่เคยได้เห็น
หินเดินต่อหน้าต่อตา แต่รอยที่มันทิ้งไว้เป็นหลักฐานที่ดีที่สุด

ทำให้เกิดคำถามที่น่าคิดว่า "หินมันเคลื่อนที่ได้อย่างไร?"



ความจริงก็คือ ยังไม่มีใครรู้คำตอบที่แน่นอนได้ว่าหินเหล่านี้มันเคลื่อนที่ไปได้อย่างไร แม้ว่าหลายคนจะมีคำอธิบายที่ดี
แต่เหตุผลที่ว่าทำไมการเคลื่อนที่ของหินเหล่านี้ยังคงเป็นเรื่องลี้ลับก็คือ ยังไม่มีใครเห็นมันในขณะเคลื่อนที่น่ะสิ!

ทีนี้เรามาดูกันว่าเขาได้ให้คำอธิบายไว้ว่าอย่างไรกัน





ความเชื่อดั้งเดิม



หลายปีที่ผ่านมา เราทราบว่าหินนั้นไม่ได้เกิดจากการที่มันกลิ้งไป แต่เป็นการเดินที่เกิดจากการดันให้มันเคลื่อนที่ เพราะร่าง
ของหินที่คดเคี้ยวอยู่เบื้องหลังมีขนาดความกว้างเท่าๆ กับหิน ในปี พ.ศ. 2498 นักธรณีวิทยาชื่อจอร์จ เอ็ม. สแตนลีย์
เขียนรายงานลงในวารสารสมาคมธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา เขาเชื่อว่าน้ำแข็งและลมเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หินเดิน
เหตุเนื่องมาจากหินเหล่านี้เคลื่อนที่เป็นกลุ่มไปในทิศทางเดียวกัน สแตนลีย์เสนอความคิดว่า


" น้ำแข็งจะจับเป็นแผ่นขนาดใหญ่และเมื่อมีลมพัด หินทั้งกลุ่มนี้ก็จะถูกดันให้เคลื่อนไปทั้งกระบิ "

ความเชื่อนี้ฟังดูก็น่าจะเป็นไปได้และเป็นที่ยอมรับกันตลอดมา เพราะปรากฏการณ์ที่หินเคลื่อนที่พร้อมกันเป็นแผงพบเห็น
ได้ทั่วๆไปในพลาย่าแห่งอื่นๆ ในแคลิฟอร์เนีย แต่ทว่าที่หุบผามรณะแห่งนี้มีน้ำแข็งเบาบางมาก จะเป็นไปได้ก็แค่จะพาก้อนหิน
ก้อนกรวดเล็กๆ เดิน อย่างไรก็ตามแม้แต่สแตนลีย์เอง ก็ไม่ยอมพูดถึงว่าหินขนาดมหึมา น้ำหนักระหว่าง135-270 กิโลกรัม
เดินทิ้งร่องยาวไว้เบื้องหลัง ณ หุบผามรณะนี้ได้อย่างไร ?



สมมติฐานใหม่



ความลับดำมืดของหินเดินแห่งหุบผามรณะโด่งดังไปทั่วโลก ในปี พ.ศ. 2512 ดร. โรเบิร์ต พี. ชาร์ป แห่งสถาบัน
เทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย แผนกธรณีวิทยา กระโดดเข้ามาศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังซึ่งกว่าจะได้ผลก็ใช้เวลากว่า 7 ปี
เขาเลือกหินมา 25 ก้อน ซึ่งจะมีความแตกต่างกันทั้งในลักษณะรูปร่างและน้ำหนักที่หนักที่สุดคือ 455 กิโลกรัม
แถมยังตั้งชื่อให้เสร็จ


เขาปักเครื่องหมายไว้ที่ตำแหน่งของหินทุกก้อน หลังจากนั้นเขาเลือกหินตัวอย่างเพิ่มอีก 5 ก้อน ทุกครั้งที่เขาไป
ตรวจสอบตำแหน่งของหินในพลาย่า เขาต้องตระเวณกว่า 50 กิโลเมตรตรวจตำแหน่งใหม่ของหินที่เลือกไว้ทุกก้อน
ปักเครื่องหมายวัดระยะที่หินเหล่านั้นเคลื่อนไปตลอดระยะเวลา



7 ปีเต็ม ที่ชาร์ปศึกษาหินเดิน มีหิน 28 ก้อนจาก 30 ก้อนเคลื่อนออกจากที่ รอยที่ยาวที่สุดวัดได้ 262 เมตร เป็นเพียง
การเคลื่อนที่ทีละนิด มีข้อยกเว้นคือกรวดที่ชื่อว่า "แนนซี่" ขนาด 250 กรัม เคลื่อนไปราว201 เมตรในคราวเดียว
ทิศทางที่เคลื่อนมุ่งไปในทิศเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งสอดคล้อง กับทิศทาง
ของลมที่พัดอยู่บนพลาย่า ชาร์ปสังเกตเห็นว่าบนขอบของร่องและด้านหน้าของก้อนหิน มีเศษดินที่ถูกดันขึ้นมา
แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าหินเหล่านี้เคลื่อนที่ ในช่วงที่พื้นดินอ่อนยุ่ยแทนที่จะเป็นตอนที่พื้นดินแห้งแข็งด้วยเกล็ดน้ำแข็ง

อีกข้อหนึ่งที่เป็นสาระสำคัญคือ หินจะเคลื่อนที่ได้ระยะทางในสามช่วงคือปี 2511-2512, 2515-2516 และ 2516-2517
ซึ่งเป็นปีที่ฝนตกมากและลมจัดในฤดูหนาว ชาร์ปยืนยันว่าทั้งน้ำและลมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้หินเดิน ถึงแม้ว่า
พลาย่าแห่งนี้จะมีฝนตกน้อยมาก คือราว 0-80 มิลลิเมตรต่อปี แต่พื้นที่ราบกว่า 180 ตารางกิโลเมตรแห่งนี้ล้อมด้วยภูเขา
จะเป็นกับ-ดักน้ำฝนได้เป็นอย่างดี แม้ฝนจะตกเบาบางก็ตาม แต่จะไหลมาเอ่อบนพลาย่าแห่งนี้แน่นอน




กระดานลื่นแห่งหุบผามรณะ



เนื่องจากพื้นของพลาย่าเป็นดินเหนียว เมื่ออิ่มน้ำแม้เพียงเล็กน้อยแค่ 6 มิลลิเมตรบริเวณผิวหน้าจะอ่อนยุ่ย แต่ลึกลงไป
ก็ยังจะแน่นพอที่จะรับน้ำหนักของก้อนหิน "ความลับ...ก็คือ..."


ชาร์ปเขียนรายงานลงในวารสารสมาคมธรณีวิทยา ในปี 2519 ว่า

"...การเดินของหินจะเกิดในปีที่มีน้ำฝนผสมกับแรงลมมาเจอกันพอดี"

ชาร์ปคิดว่าในช่วงสามสี่วันแรกน้ำฝนต้องขังอยู่ จนผิวหน้าลื่นเหมือน หัวล้าน จากนั้นต้องมีลมแรงจัดที่จะเป็นตัวจุดสตาร์ท
เมื่อหินเคลื่อนออกจากที่แล้วแม้มีเพียงลมเบาๆ ก็เพียงพอที่จะดันให้หินเคลื่อนไปได้เรื่อย เขายังให้ข้อสังเกตด้วยว่า
ภูเขาที่รายล้อมรอบๆ พลาย่าและช่องเขาแคบๆ จะเป็นช่องที่บีบกระแสแรงลมให้แรงพอที่จะดันหินให้เดิน



อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ยิ่งฐานของหินราบเรียบมากเท่าใด หินก็ยิ่งเคลื่อนได้ไกลมากกว่าเดิม ชาร์ปคำนวณความเร็ว
ของหินออกมา ด้วยว่าหินจะเคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุดถึง 90 เซนติเมตรต่อวินาทีความลึกลับของหินเดินไม่ได้มีอยู่
เฉพาะที่เรสแทรค พลาย่า แต่สามารถ พบเห็นในพลาย่าอื่นอีกกว่า 10 แห่งที่อยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนียและเนวาดา



หินหน่ายทะเลสาบ

นอกจากร่องรอยหินเดินบนพลาย่าแล้ว ยังมีเรื่องหินซึ่งว่ายหนีน้ำขึ้นมาบนบก จากข้อเขียนของ ลอร์ดดันราเว่น ในวารสาร
รายปักษ์ชื่อ " ศตวรรษที่ 19 " เมื่อปี 2422 เขารายงานว่าที่ทะเลสาบในโนวา สโคเทีย (ตอนเหนือสุดของตะวันออกของสหรัฐ)
มีปรากฏการณ์ที่หิน พร้อมใจกันว่ายน้ำหนีขึ้นมาบนบก




ทะเลสาบแห่งนี้กว้างแต่ตื้นเขินเต็มไปด้วยกรวดและหินขนาดต่างๆ กัน หินบางก้อนขึ้นมาอยู่ไกลกว่า 14 เมตรจากริมน้ำ
ขนาดของหินที่วัดได้บางก้อนมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1.8-2.4 เมตร บางก้อนเดินทางไปข้างหน้าได้กว่า 90 เมตร
บางก้อนก็มาได้แค่ครึ่งทางสิ่งเดียวที่เหมือนกันคือ ทุกก้อนจะทิ้งร่องยาวเป็นทางไถขึ้นมาจากน้ำทั้งสิ้น

คำอธิบายก็คือทะเลสาบตื้นๆ เช่นนี้จะมีฝั่งด้านหนึ่งที่สูงกว่าหรือเป็นหน้าผากั้นเอาไว้ ในฤดูหนาวเมื่อน้ำในทะเลสาบแข็งตัว
จะยึดบรรดาก้อนหินขนาดต่างๆ กันไว้ ในขณะที่น้ำแข็งตัวจะเกิดการขยายตัวดัน เอาก้อนหินเหล่านี้ให้เคลื่อนที่ เมื่อถึงเวลา
ที่น้ำแข็งละลายก็จะทิ้งก้อนหินในระยะต่างๆ กันในกรณีที่ทะเลสาบตื้นๆ ที่มีหน้าผาหรือขอบมากั้นไว้ ปรากฏการณ์ที่จะเกิดคือ
แรงดันของน้ำที่ขยายตัวจะดันก้อนหินออกไปรอบด้าน เหมือนเช่นทะเลสาบรัฐไอโอวา



แต่ก่อนเราคิดว่าคงเป็นฝีมือของผู้ไม่ประสงค์ออกนาม มาสร้างกำแพงรอบๆ ขอบทะเลสาป ยิ่งเวลาผ่านไป กำแพงก็
ยิ่งหนาขึ้นทุกทีๆถึงตอนนี้ คุณคงจะพอทราบได้ว่าหินเดินได้อย่างไรแล้ว แต่หินเดินและร่องรอยที่มันทิ้งไว้บนพลาย่า
บิดคดเคี้ยวเหมือน รอยงูเลื้อย คงจะทำให้คุณรู้สึกถึงความมหัศจรรย์และความลี้ลับของธรรมชาติสร้างไว้ให้ปรากฏ
ต่อสายตาของมนุษย์ตัวเล็กๆ




ข้อมูลเกี่ยวกับเรซแทรค พลาย่า (Racetrack Playa)




เรซแทรค พลาย่าเป็นแอ่งทะเลสาบที่ค่อนข้างราบและแห้งแล้ง มีความยาวในแนวเหนือ-ใต้ประมาณ 4 กิโลเมตร และกว้าง
ในแนวตะวันออก-ตะวันตกประมาณ 2 กิโลเมตร มีลักษณะพื้นผิวเป็นระแหงโคลน (mud cracks) ส่วนมากประกอบด้วย
ตะกอนขนาดทรายแป้ง (silt) และดินเหนียว (clay)


สภาพภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง มีปริมาณน้ำฝนเพียงสองนิ้วต่อปี แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ฝนตก น้ำปริมาณมากจะไหลจาก
ภูเขาสูงชันที่อยู่ล้อมรอบเรซแทรค พลาย่าลงมาปกคลุมพื้นที่แอ่งจนกลายเป็นทะเลสาบตื้น ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง
ซึ่งขณะนั้นบริเวณพื้นแอ่งจะเต็มไปด้วยดินเหนียวที่เหลวและอ่อนนุ่ม



หินเคลื่อนที่โดยฝีมือมนุษย์หรือสัตว์หรือไม่?



จากลักษณะรูปร่างของร่องรอยการไถลของหินนั้นบ่งบอกได้ว่าหินก้อนนั้นต้องเคลื่อนที่ในช่วงที่พื้นของเรซแทรค พลาย่านั้น
ถูกปกคลุมด้วยดินเหนียวอ่อนนุ่ม ถ้าเป็นฝีมือของคนหรือสัตว์จะต้องมีร่องรอยของการเหยียบย่ำรบกวนชั้นดินเหนียวด้วย
แต่ในบริเวณดังกล่าวไม่ปรากฏหลักฐานร่องรอยจากคนหรือสัตว์ที่จะช่วยให้หินเคลื่อนที่เลย มีเพียงร่องรอยการไถลของหินเท่านั้น



หินเคลื่อนที่โดยลมหรือไม่?

ตัวการที่นิยมนำมาใช้อธิบายปรากฎการณ์นี้ก็คือ ลม โดยส่วนมากลมที่พัดผ่านบริเวณนี้จะมีทิศทางพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้
ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และร่องรอยการไถลของหินก็มีทิศทางขนาดกับทิศทางของลมนี้ด้วย ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดีที่
สนับสนุนว่าลมเป็นตัวการทำให้หินเคลื่อนที่หรืออย่างน้อยก็เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของหิน


เนื่องจากลมแรงที่พัดขึ้นอย่างกระทันหันนั้นได้พลักให้หินเกิดการเคลื่อนที่ และเมื่อหินเริ่มเคลื่อนที่แล้ว ความเร็วลมเพียงเล็กน้อย
ก็จะสามารถทำให้หินไถลตัวต่อไปอีกเรื่อยๆ ได้บนพื้นดินเหนี่ยวที่อ่อนนุ่มและลื่นเหลว แนวโค้งของรอยไถลนั้นอธิบายได้ว่า
เกิดจากการเปลี่ยนทิศทางของลม หรือเกิดจากกรณีที่ลมปะทะกับหินที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอทำให้หินไถลเป็นแนวโค้งได้




หินเคลื่อนที่โดยน้ำแข็งหรือไม่?

มีคนกลุ่มหนึ่งให้ข้อมูลว่าเคยเห็นเรซแทรค พลาย่าถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็งชั้นบางๆ แนวคิดหนึ่งอธิบายว่าเมื่อน้ำรอบก้อนหินแข็งตัว
และแต่ต่อมามีลมพัดผ่านผิวด้านบนของน้ำแข็ง ทำให้แผ่นน้ำแข็งได้ลากก้อนหินนั้นไปด้วย จึงเกิดรอยครูดไถลบนพื้นผิวแอ่ง
นักวิจัยบางคนพบร่องรอยไถลของหินหลายก้อนที่สอดคล้องกับแนวคิดนี้ด้วย แต่อย่างไรก็ตามการเคลื่อนย้ายแผ่นน้ำแข็ง
ขนาดใหญ่นั้นคาดว่าจะต้องมีการทิ้งร่องรอยบนพื้นผิวแอ่งในทิศทางอื่นๆ ด้วย แต่ก็ยังไม่พบร่องรอยนั้น





ลม..ตัวการของการเคลื่อนที่!

จากคำอธิบายทั้งหลายพบว่า ลม เป็นตัวการที่อยู่เบื้องหลังของการเคลื่อนที่ของหิน แต่ยังคงมีคำถามอยู่ว่าหินเหล่านั้นไถลไป
ในขณะที่ถูกล้อมรอบด้วยแผ่นน้ำแข็งหรือขณะที่อยู่บนชั้นดินเหนียว หรือแต่ละวิธีอาจจะเป็นผลให้เกิดการเคลื่อนที่กับหินบางก้อน?

อาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์มหัศจรรย์นี้จะยังคงเป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตราบเท่าที่ยังไม่มีใครหาคำตอบที่แท้จริงได้..!
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่