เมื่อคลื่น K-Pop เดินทางถึงอินเดีย : กิมจิฟีเวอร์ที่ “มณีปุระ”

เมื่อคลื่น K-Pop เดินทางถึงอินเดีย : กิมจิฟีเวอร์ที่ “มณีปุระ”

เริ่มโดย etatae333, 18 พฤษภาคม 2011, 16:19:46

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333



แม้จะกระแสแรงเพียงใดทว่าคงจะไม่มีใครคาดคิดอย่างแน่นอนว่ากระแส "คลื่นวัฒนธรรมเกาหลี" หรือที่เรียกกันว่า เค-ป็อป นั้น
จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนรุ่นใหม่ของอินเดีย...แต่เรื่องดังกล่าวก็เกิดขึ้นแล้ว
       
เมื่อ "บอลลีวูด" โดนแบน โอกาสของ "K-Pop" ก็มาถึง
   ตลอดช่วงกว่า 3 ทศวรรษระหว่างยุค 70s – 90s มณีปุระ รัฐหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียที่มีประชากรกว่า 2.7 ล้านคน
ถูกครอบงำทางวัฒนธรรมจากความบันเทิงของอินเดียมาตลอด โดยเฉพาะจากผลงานจาก "บอลลีวูด" หรือ ฮอลลีวู้ดแห่งบอมเบย์ อันยิ่งใหญ่
       
  อย่างไรก็ตามนับจากปี 2000 เป็นต้นมา สื่อบันเทิงจากบอลลีวูดกลับหายหายตาไปจากสังคมของมณีปุระ ตามคำสั่งของกลุ่มลัทธิแบ่งแยกดินแดนติดอาวุธ
ที่มีอิทธิพลเหนือภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ยุค 60s ซึ่งก็ไม่ใช่เพียงแค่โรงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ได้มีคำสั่งแบนเพื่อกำจัดบอลลีวูดออกไปทั้งจาก จอโทรทัศน์
และทีวีดาวเทียมของท้องถิ่น โดยอ้างว่าเป็นคำสั่งเพื่อปกป้องวัฒนธรรมท้องถิ่นของมณีปุระนั่นเอง
       
  คำสั่งแบนครั้งนั้นเป็นไปอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นคำสั่งที่ออกไปพร้อมคำขู่การระเบิดโรงภาพยนตร์ และสถานีเคเบิลทีวี จนทุกคนยินยอมปฏิบัติด้วย
ความเคร่งครัด ซึ่งคำสั่งแบนดังกล่าวก็ยังมีผลมาถึงตอนนี้
       
  ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลหลายแห่งจึงต้องหาโทรทัศน์ช่องใหม่ มาเติมในช่องสัญญาณเดิม สุดท้ายกลายเป็น Arirang TV
สถานีโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษของเกาหลีใต้ ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงโซล ได้กลายเป็นสื่อทีเผยแพร่วัฒนธรรม และความบันเทิงแดนโสม สู่มณีปุระเป็นเจ้าแรก

  ความนิยมของ Arirang TV ในหมู่เด็กวัยรุ่นชาวมณีปุระทำให้ต่อมาสถานีโทรทัศน์ KBS ได้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ของตัวเอง ที่นำเสนอรายการประเภทละครซึ่ง
ออกอากาศเป็นภาษาเกาหลีกับซับไตเติล และเพียงเวลาไม่กี่เดือน คลื่นวัฒนธรรมเกาหลี หรือ Korean Wave ก็ซัดมาถึงมณีปุระอย่างเป็นทางการ
       
  ถึงตอนนี้ความนิยมในสื่อบันเทิงจากเกาหลีใต้ยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจากทางสถานีที่ฉายรายการของเกาหลีใต้ และแผ่นดีวีดีเถื่อนซับไตเติลภาษาอังกฤษ
ซึ่งมีวางจำหน่ายทั่วทุกหัวระแห่งในเมืองอิมผาล ในราคาต่ำกว่าเหรียญเดียวที่ผ่านเข้ามาทางพม่า โดยเฉพาะทาง "มอเระห์" เมืองในเขตชายแดนอินเดีย
และพม่า ซึ่งเป็นแหล่งค้าขายสินค้าสำคัญของมณีปุระ ที่ตอนนี้ได้กลายเป็นตลาดสำคัญของสินค้าจากวัฒนธรรมเกาหลีไปเรียบร้อยแล้ว
จนเหล่าวัยรุ่นสามารถหาซื้อสินค้าต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ทั้งแผ่นดีวีดีภาพยนตร์ และทีวีซีรีส์ รวมถึงแผ่นซีดีของศิลปินจากแดนกิมจิ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล่าบอยแบนด์ที่ดูจะได้รับความนิยมที่นั่นเป็นพิเศษ


       
วัฒนธรรมเกาหลีครองใจวัยรุ่นมณีปุระ
  ดาราดังของเกาหลีใต้ต่างเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในรัฐทางภาคเหนือของอินเดียแห่งนี้ เด็กวัยรุ่นบางคนยังสามารถร้องเพลงภาษาเกาหลี
ของเหล่าศิลปินในดวงใจได้อีกด้วย
       
   ขณะที่ภาษาเกาหลีก็กลายเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นไปเรียบร้อยแล้วด้วเช่นเดียวกัน เหล่าวัยรุ่นชาวมณีปุระมักจะกล่าวทักทายกันด้วยคำว่า "อัน-นยอง-ฮา-เซ-โย" (สวัสดี),
ขอบคุณด้วยคำว่า "คัม-ซา-ฮัม-นิ-ดะ" และถ้าจะบอกรักให้อินเทรนต์ที่สุดก็ต้องพูดว่า "ซา-รัง-แฮ-โย" กลายเป็นวลีและถ้อยคำที่ได้ยินอยู่เสมอ
ในแหล่งพบปะของวัยรุ่นทั่วเมืองอิมผาล
       
  "เวลากลับจากโรงเรียน หนูกับเพื่อนๆ จะฝึกหัดภาษาเกาหลีกันค่ะ แล้วก็จะคุยกันว่ามันจะอย่างไงบ้างนะ ถ้าเราได้เติบโตมาในประเทศอย่างเกาหลี"
อักชายา ลองจาม เด็กนักเรียกหญิงวัย 14 ปี กล่าวแสดงความชื่นชมวัฒนธรรมจากเกาหลีใต้ และกล่าวว่าศิลปินในดวงใจของเธอก็คือวง Big Bang
และหนุ่ม จี-ดราก้อน ผู้นำของวง "มันดูน่าสนุกดี ทุกคนหน้าตาดีกันหมดเลย สาว ๆ ก็สวย หนุ่มก็น่ารักมาก ๆ"
       
  ไม่ใช่เพียงแค่สื่อบันเทิง หรือเรื่องของภาษา แต่ "ทุกสิ่ง" ที่เป็นเกาหลีใต้ก็ดูเหมือนจะได้รับความสนใจจากชาวมณีปุระไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็น
อาหาร, แฟชั่น, วิถีชีวิต
       
  ในร้านทำผมที่อิมผาลจะเต็มไปด้วยรูปของศิลปินและนักร้องจากเกาหลีใต้ กับหลากหลายทรงผมของพวกเขา ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่วัยรุ่น
ทั้งชายและหญิง เป็นส่วนหนึ่งของ "สไตล์เกาหลี" ที่ยังรวมไปถึงเครื่องแต่งกายต่างๆ ทั้งกางเกงยีนตัวฟิต และเสื้อผ้าหลากสีสัน เรียกว่าเป็นแบบเดียว
กับที่เหล่าศิลปินกิมจิสวมใส่ในโทรทัศน์เลยก็ว่าได้
       
  เด็กนักเรียนเกรด 7 รายหนึ่งกล่าวว่า "ผมอยากจะเรียกภาษาเกาหลี อยากจะเรียนรู้ถึงทุกๆ อย่างที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมของพวกเขา"
ยังมีรายงานว่าขณะนี้คนรุ่นใหม่หลายคน เริ่มเปลี่ยนไปนอนพื้นแบบชาวเกาหลีใต้ แทนที่จะเป็นการนอนบนเตียงนอนตามเดิม เพราะพวกเขารู้สึกว่ามันทันสมัยดี



เกาหลี : ดินแดนแห่งความฝัน
  มณีปุระ เป็นดินแดนที่ประกอบไปด้วยเขตป่าถึง 14,365 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 64% ของพื้นที่ทั้งหมด ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร
พวกเขายังเป็นชุมชนที่รุ่มรวยทางวัฒนธรรม มีศิลปะป้องกันตัว, การแสดง, สถาปัตยกรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเต้นรำที่เป็นเอกลักษณ์ มีทั้งธรรมชาติ
และวัฒนธรรมที่เป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว
       
  อย่างไรก็ตามวิถีชีวิต และสภาพบ้านเรือนอันทันสมัยของชาวเกาหลีใต้ ซึ่งปรากฏอยู่ในสื่อต่างๆ อันเป็นสิ่งที่แตกต่างกับวิถีชีวิตตามปกติของพวกเขา
หรือแม้กระทั่งชาวอินเดียโดยทั่วไป กลับเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจเหล่าคนรุ่นใหม่ใน มณีปุระ เป็นอย่างยิ่ง
       
  "ดูหนัง หรือซีรีส์เกาหลี มันก็เหมือนกับทำให้ฉันได้หลบหนีออกจากโลกแห่งความจริง ของชีวิตในมณีปุระไปได้ชั่วขณะ" โซมา ลิชราม นักศึกษาสาววัย 19 ปี
กล่าว "เราเต็มไปด้วยปัญหาทั้งเรื่องน้ำ, ไฟฟ้า, และถนนหนทาง แต่ทุกอย่างดูสมบูรณ์แบบในเกาหลีใต้ เป็นเหมือนกับโลกแฟนตาซีของพวกเราค่ะ"
       
   โซมา ลิชราม ที่ยังมีบทบาทเป็นนางแบบ และนักแสดง ซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่เด็กวัยรุ่นชาวมณีปุระ ยอมรับว่าเธอเป็นแฟนของซีรีส์เรื่อง Boys Over Flowers
และรู้สึกประทับใจในตัวนักแสดงนำของเรื่องอย่าง อีมินโฮ ด้วย
       
    "มันเป็นความฝันของฉันนะคะ ที่จะได้เดินทางไปเกาหลี ได้ทำงานที่นั่น" ดาราสาวของมณีปุระกล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างช่วงพักการถ่ายทำมิวสิควิดีโอเพลง
ภาษาถิ่น ที่ยกกองกันไปถ่ายทำที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง



จาก เกาหลี ถึง มณีปุระ ใกล้กว่าที่คิด ชิดกว่าที่รู้สึก
  ความนิยมของสื่อและวัฒนธรรมบันเทิงของเกาหลีใต้ในมณีปุระเกิดขึ้นเพียงเพราะการแบนบอลลีวูดเท่านั้นหรือ? ผู้สันทันกรณีเชื่อว่านั่นไม่ใช้ปัจจัยเดียว
แต่ความใกล้เคียงกันระหว่างชาวเกาหลีใต้ และมณีปุระเอง ก็เป็นอีกแรงหนุนที่ทำให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว
       
  มีคำอธิบายว่า ชาวมณีปุระนั้นอาจจะไม่สามารถเรียกว่าเป็นชาวอินเดียได้เสียทีเดียว ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไมไต และยังมีบางส่วนที่สืบเชื้อสาย
มาจากเผ่ามองโกลด้วย ทำให้รูปร่างหน้าตา ตลอดจนความเชื่อบางอย่าง ดูมีความใกล้เคียงกับชาวเกาหลีใต้ มากกว่าที่จะเป็นอินเดีย
       
  โอโตจิต คชาทริมายัม นักวิจัยสาขาสังคมวิทยาแห่ง มหาวิทยาลัยยาวหร์ลาล เนห์รู ในเดลีมองปรากฏการณ์ครั้งนี้ว่า "ปรากฏการณ์ของเรื่องครั้งนี้เกิดจาก
ความใกล้เคียงกัน ทั้งรูปกายภายนอก และค่านิยมของทั้งสองวัฒนธรรม ตัวละครและแนวคิดในหนังและซีรีส์เกาหลีสามารถเข้าถึงชาวมณีปุระ
ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใหม่ และกลุ่มผู้ใหญ่"
       
  เห็นได้ชัดว่าวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับครอบครัว แบบที่พบเห็นได้เสมอในหนังเกาหลี ยังเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมอนุรักษ์นิยมของมณีปุระ
ขณะที่ซีรีส์ที่ว่าด้วยเรื่องรักของวัยรุ่นที่ดูร่วมสมัย ก็เป็นที่ประทับใจของคนรุ่นใหม่ในท้องถิ่น เป็นความลงตัวอย่างที่พวกเขาไม่เคยได้จากา บอลลีวูด
ที่ได้รับความนิยมก่อนหน้านี้


   
K-Pop ในอินเดียวปรากฏการณ์เป็นไปไม่ได้ที่เป็นไปแล้ว
  เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2006 ชาวอินเดียได้สัมผัสกับความบันเทิงจากเกาหลีใต้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก เมื่อซีรีส์เรื่อง Emperor of the Sea
ได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ระดับชาติอย่าง DD-I เป็นครั้งแรก และตามติดด้วย A Jewel in the Palace หรือ "แดจังกึม" ที่ออกอากาศใน
วันที่ 24 ก.ย. 2006 ก็ยิ่งทำให้ชาวอินเดียรู้สึกสนใจใคร่รู้ในวัฒนธรรมของชาวโสมมากยิ่งขึ้นไปอีก
       
  สื่อบันเทิงจากเกาหลีใต้ เป็นที่สนใจของต่างชาติอย่างมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่สำหรับความนิยมในดินแดนอย่างมณีปุระกลับเป็นปรากฏการณ์
ที่แตกต่างออกไป เพราะมันเกิดขึ้นโดยปราศจากการวางแผน, คาดเดา หรือจัดการใดๆ แบบที่เกาหลีใต้เคยใช้ได้ผลมาโดยตลอด
       
หากแต่เป็นจังหวะความลงตัวของสถานการณ์การเมือง, กระแสของสังคม และคลื่นความนิยมของวัฒนธรรมเกาหลีใต้เอง ที่ถึงตอนนี้ต้องยอมรับว่าแรงจริง!!



  **หมายเหตุ : มณีปุระ เป็นรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย มีเขตติดต่อกับรัฐนาคาแลนด์ทางทิศเหนือ รัฐอัสสัมทางทิศตะวันตก รัฐมิโซรัมทางทิศใต้
และประเทศพม่าทางทิศตะวันออก มีประชาการราว 2.7 ล้านคน ในพื้นที่ 22,347 ตารางกิโลเมตร โดยประชากรส่วนใหญ่หรือราว 47% นับถือศาสนาฮินดู,
เป็นคริสต์ศาสนิกชนอีกประมาณ 34% และถูกเรียกว่าเป็น "รัฐ 7 สาวน้อย" แห่งอินเดีย ที่หมายถึง 7 รัฐทางเหนือของอินเดียนั่นเอง


ข้อมูลจาก
http://www.manager.co.th
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

O_Baba_O_Baba

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions