เด็กเล็กดูทีวีไม่เกิน 2 ชั่วโมง ช่วยเพิ่ม IQ กับ EQ

เด็กเล็กดูทีวีไม่เกิน 2 ชั่วโมง ช่วยเพิ่ม IQ กับ EQ

เริ่มโดย etatae333, 27 กรกฎาคม 2011, 13:12:53

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 2 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

เด็กเล็กดูทีวีไม่เกิน 2 ชั่วโมง ช่วยเพิ่ม IQ กับ EQ



ทีวีก็ใช่ว่ามีแต่ของไม่ดี หากอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเมื่อเร็วๆ

นี้ศ.นพ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาการแพทย์
เปิดเผยจากผลงานวิจัยเรื่องการดูโทรทัศน์กับพัฒนาการทางภาษา สังคม และอารมณ์ของเด็กอายุ 1-3 ปี


พบว่าการให้เด็กเล็กดูทีวีไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง จะช่วยลดความเสี่ยงมิให้พัฒนาการทางภาษาล่าช้า หรือภาวะด้อยสมรรถนะ
ทางสังคมและอารมณ์ ในขณะเดียวกัน จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางระดับสติปัญญาและความฉลาดทางอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น

โดยในปัจจุบัน ระดับไอคิวของเด็กไทยในปัจจุบันค่อนข้างต่ำ หากดูรายการที่ให้สาระความรู้ จะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางไอคิวดีขึ้น 23%
ละมีระดับอีคิวดีขึ้น 37% นอกจากนี้ ยังพบว่าการเลี้ยงดูโดยให้แรงเสริมทาง บวก เช่น การชมเชยเมื่อเด็กทำสิ่งที่ถูกต้องและเสริมประสบการณ์
จะช่วยพัฒนาสมรรถนะทั้งสองด้านได้เช่นกัน


ข้อมูลจาก นิตยสาร Lisa
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

etatae333

อัจฉริยะตัวจริงต้องมี 6Q



เรามักได้ยินคำว่า ไอคิว กันบ่อย ๆ ซึ่งหมายถึงความเฉลียวฉลาด ใครที่มีไอคิวสูงก็อาจถูกเรียกว่าอัจฉริยะ
แต่ระยะหลัง ๆ มานี้เราก็จะได้ยินเรื่องของ อีคิว ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์มากขึ้น


แต่ท่านทราบไหมคะว่าความจริงแล้ว คนที่จะได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะตัวจริง หรือเป็นคนที่สมบูรณ์แบบที่สุดนั้น
จะต้องมีถึง 6 Q เลย และหากท่านต้องการให้บุตรหลานหรือแม้แต่ตัวท่านเองเป็นอัจฉริยะ และนำไปสู่การประสบ
ความสำเร็จได้ ก็ต้องพัฒนาให้มีครบทั้ง 6 Q ด้วย ส่วนจะมีอะไรบ้าง มาติดตามกัน


เริ่มที่ Q แรกที่เราคุ้นเคยกันดี นั่นคือ
IQ : Intelligence Quotient หรือ ความฉลาดทางสติปัญญา นั่นเอง เป็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ การคำนวณ
การใช้เหตุผล การเชื่อมโยง ปัจจัยที่มีผลต่อ IQ ส่วนหนึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือพันธุกรรม ส่วนที่สามารถควบคุมได้
คือ ภาวะโภชนาการ สภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสม จะเห็นว่าเราควบคุม IQ ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ต่างจาก Q อื่นๆ
ซึ่งควบคุมได้ง่ายกว่า เพราะเกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูโดยตรง ปัจจุบันนักวิจัยยืนยันว่า IQ มีส่วนเกี่ยวข้องกับความสำเร็จในชีวิต
เช่น การทำงาน การเรียนแค่ 20% เท่านั้น

EQ : Emotional Quotient คือ ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถในการรับรู้ เข้าใจอารมณ์ตนเองและผู้อื่น
สามารถควบคุมอารมณ์และยับยั้งชั่งใจตนเองและแสดงออกอย่างเหมาะสม รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้จักรอคอย
รู้จักกฎเกณฑ์ระเบียบวินัย มีจิตใจร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี สามารถปรับตัวเข้ากับสังคม สถานการณ์รอบข้างได้ดี

CQ : Creativity Quotient คือ เป็นความฉลาดในการริเริ่มสร้างสรรค์ มีความคิดจินตนาการ รวมถึงความคิดเห็นใหม่ๆ
ซึ่งในการทำสิ่งต่างๆ คนที่มี C.Q. สูงกว่าคนอื่นๆ ก็จะสามารถสร้างนวัตกรรมหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากกว่าคนทั่วไป

MQ : Moral Quotient คือ ความฉลาดทางศีลธรรม จริยธรรม คือมีความประพฤติดี รู้จักผิดชอบชั่วดี มีความซื่อสัตย์ สุจริต
มีคุณธรรมและจริยธรรม
เพราะบางทีคนที่ IQ ดี EQ สูง แต่ถ้ามีระดับคุณธรรมจริยธรรมต่ำก็อาจใช้ความฉลาดไปในทางที่ไม่ถูกต้อง
ก็เป็นได้

PQ : Physical Quotient (PQ) คือ ความฉลาดทางพลานามัย นั่นคือ การมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง
มีความมั่นใจในการเคลื่อนไหว เพราะการที่มีร่างกายที่แข็งแรงถือเป็นพื้นฐานที่ดีในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะทำงาน
หรือการเรียนก็ตาม

AQ : Adversity Quotient คือ ความฉลาดในการแก้ไขปัญหา เป็นความสามารถของบุคคลในการเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ
หรือความยากลำบากต่างๆ ในการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ กันได้ มีความสามารถในการควบคุมสถานการณ์หรืออุปสรรคที่เกิดขึ้นได้
ความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

เมื่อทราบแล้วว่าทั้ง 6 Q มีอะไรบ้าง เราลองมาสำรวจตัวเองกันดูดีไหม ว่าเรามีกี่ Q แล้ว และอยู่ในระดับใด หากด้านไหนยังน้อย
อยู่ก็ควรรีบพัฒนา เพื่อให้เราเป็นคนที่มีศักยภาพทั้งทางร่างกาย ด้านสติปํญญา อารมณ์ คุณธรรม จริยธรรม มีความสามารถ
ในการแก้ปัญหา รวมทั้งมีพลานามัยแข็งแรง ซึ่งจะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในชีวิตได้ง่ายขึ้นนั่นเอง...



เรื่องโดย : ธัญญลักษณ์ พิณเสนาะ
ข้อมูลจาก : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions