จี้คสช.รื้อระบบภาษีอสังหาฯใหม่ หนุนซื้อง่าย-ขายคล่อง

จี้คสช.รื้อระบบภาษีอสังหาฯใหม่ หนุนซื้อง่าย-ขายคล่อง

เริ่มโดย etatae333, 14 สิงหาคม 2014, 16:11:21

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

จี้คสช.รื้อระบบภาษีอสังหาฯใหม่ หนุนซื้อง่าย-ขายคล่อง

ภาคอสังหาฯ เรียกร้อง คสช. ใช้โอกาสเปลี่ยนใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รื้อโครงสร้างระบบการจัดเก็บภาษีใหม่
ลดการจัดเก็บ ซ้ำซ้อน วอนลดภาษี ค่าธรรมเนียมซื้อ-ขายบ้าน เอื้อประชนซื้อขาย เปลี่ยนมือบ้านง่ายขึ้น


นับเวลานานหลายปีที่เดียวที่มีหลายภาคส่วนผลักดันให้รัฐบาลหันมาใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (Property TAX)
แทนภาษีโรงเรือนที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน แม้จะมีการแก้ไขบางมาตรา แต่ก็ถือว่าไม่เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
หลายรัฐบาลได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้ โดยครั้งที่ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด คือยุคนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปได้ไกลสุดในขั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
แต่ก็ถูกดึงไว้ ไม่ผ่านไปถึงคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งอาจมีสาเหตุจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนี้ผู้ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด
คือผู้ถือครองที่ดินไว้ในมือจำนวนมาก และโดยเฉพาะปล่อยเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งที่ดินเหล่านี้ล้วนอยู่ในมือของนักธุรกิจ
นักการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ภาษีนี้ไม่เคยผ่านกระบวนการพิจารณามาจนกระทั้งบังคับใช้ได้เลย



สำหรับในครั้งนี้กลับต่างออกไป เนื่องจากผู้บริหารประเทศในปัจจุบันเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จ
เด็ดขาด สามารถประกาศใช้กฎหมายได้เลย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีโอกาสเปลี่ยนกฎหมายแล้ว ควรแก้ไขปรับปรุงในบางประเด็น
เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้มีความสมบูรณ์แบบ แก้ไขข้อด้อย ข้อบกพร่องของกฎหมายภาษีโรงเรือนฉบับเก่า


โดยภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้เสนอให้ คสช. ใช้โอกาสนี้แก้ไขระบบการจัดเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ใหม่ เพื่อลดการจัดเก็บที่ซ้ำซ้อน
และสนับสนุนให้เกิดการซื้อ-ขายเปลี่ยนมือที่อยู่ได้ง่ายขึ้น อาทิ ควรลดการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ปัจจุบันเก็บที่ 2% ของราคาประเมิน ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 2-10% ขึ้นอยู่กับฐานภาษีและจำนวนปีที่ถือครอง


นายกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล ประธานสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย กล่าวว่า คสช. ควรใช้โอกาสนี้ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีอสังหาฯใหม่
โดยเฉพาะการสนับสนุนให้การซื้อ-ขายบ้านทำได้ง่ายขึ้น ที่ผ่านมาประชาชนบางส่วนที่ต้องเปลี่ยนที่ทำงาน หรือหางานได้ใกล้
จากบ้านเดิมของตนเอง แต่ไม่สามารถซื้อบ้านใกล้ที่ทำงาน หรือบางรายต้องการขายบ้านหลังเก่าเพื่อซื้อบ้านหลังใหม่ที่ใหญ่ขึ้น
แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะไม่สามารถขายบ้านหลังเดิมได้


ทั้งนี้ หากค่าธรรมเนียมในการซื้อ-ขายบ้านมีราคาที่ถูกเช่นในหลายประเทศ ที่จัดเก็บในอัตราคงที่ ก็จะทำให้เกิดการซื้อขาย
เปลี่ยนมือง่ายขึ้น เมื่อประชาชนซื้อบ้านใหม่ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือสอง หรือบ้านมือ 1 ก็จะต้องซื้อข้าวของเครื่องใช้ ของตกแต่งบ้าน
เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ เกิดการหมุนของเศรษฐกิจไปอีกหลายรอบ ต่างจากการซื้อขายสินค้าประเภทอื่น


ด้านนายอธิป พีชาชานนท์ นายกสมาคมอสังหา- ริมทรัพย์ไทย ระบุว่า สมาคมฯ เห็นด้วยที่รัฐบาลจะปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีใหม่
เพราะเงินภาษีที่ได้จะเข้าสู่ท้องถิ่น เพื่อให้นำไปพัฒนาท้องถิ่นต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม คสช. ควรปรับโครงสร้างการจัดเก็บภาษีใหม่
เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนและควรลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ลง เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน และค่าจดจำนอง แต่ควรจัดเก็บในอัตราคงที
เช่น ค่าธรรมเนียมการโอน คิด 2% ภาษีใหม่จัดเก็บในอัตรา 2% แต่ไม่เกิน 5,000 บาทเป็นต้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียด
ของร่างภาษีดังกล่าว จึงต้องรอดูต่อไป

นายอิสระ บุญยัง ที่ปรึกษาสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ข้อดีของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีหลายประการ เช่น
การกระจายอำนาจทางการคลังสู่ท้องถิ่น สามารถจัดเก็บรายได้เอง ลดการพึ่งพิงงบประมาณจากส่วนกลาง ก่อให้เกิด
การใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยตั้งข้อสังเกต 7 ประเด็น คือ

1. ทยอยการจัดเก็บเพื่อให้ประชาชนที่ไม่เคยเสียภาษีมาก่อนปรับตัว
2.กฎหมายควรยืดหยุ่นให้ท้องถิ่นใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมหรือชะลอการลงทุนในท้องถิ่น
3. รัฐบาลควรมีมาตรการสนับสนุนท้องถิ่นที่จัดเก็บภาษีได้น้อย เนื่องจากเป็นพื้นที่สีเขียว พื้นที่เกษตรกรรม
4.ควรละเว้นการจัดเก็บภาษีสาธารณูปโภคภายในโครง การจัดสรรหรือนิคมอุตสาหกรรม
5.กรณีหมู่บ้านจัดสรรควรได้รับการลดหย่อนภาษี เพราะลูกบ้านต้องจ่ายค่าส่วนกลางเพื่อดูแลสาธารณูปโภคเอง
แต่หากจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้วก็ควรจ่ายตามปกติ
6.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการสันทนาการ เพื่อการศึกษา ควรจ่ายภาษีในอัตราที่แตกต่างจากอาคารเพื่อการพาณิชย์
7.หากมีการประกาศใช้ ควรทบทวนโครงสร้างภาษีและค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่เกิดขึ้นเมื่อมีการซื้อขาย เช่น
ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาซื้อขาย ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและนิติกรรม 2% ของราคาประเมิน
ภาษีเงินได้ 2-10% ขึ้นอยู่กับฐานภาษีและจำนวนปีที่ถือครอง


สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...
การจัดเก็บภาษี จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา นิติบุคคล ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์
ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐโดยจัด เก็บจากราคาประเมินทุนทรัพย์ประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และห้องชุด
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยมีเพดานอัตราภาษีที่เรียกเก็บ 3 อัตรา คือ อัตราภาษีทั่วไปไม่เกิน ร้อยละ 0.5 ที่อยู่อาศัย
โดยไม่ประกอบเชิงพาณิชย์ไม่เกินร้อยละ 0.1 และที่เกษตรกรรมไม่เกินร้อยละ 0.05

สำหรับที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพที่ดิน ใน 3 ปีแรกให้เสียภาษีไม่ต่ำกว่า อัตรา
ภาษีทั่วไปที่คณะกรรมการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้กำหนดไว้ แต่ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของฐานภาษี ตามที่
กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และหากยังมิได้ทำประโยชน์อีกให้เสียเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าในทุก 3 ปี แต่ไม่เกินร้อยละ 2 ของฐานภาษี

ทั้งนี้ การกำหนดอัตราภาษีได้มีการปรับปรุงแก้ไขจากเดิมซึ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้กำหนดอัตราภาษี
เป็นให้ส่วนกลางเป็นผู้กำหนดอัตราภาษีโดยคณะกรรมการกำหนดอัตราภาษี เนื่องจากเห็น ว่าถ้าให้ อปท. เป็นผู้กำหนด
อาจกำหนดอัตราภาษีที่ต่ำมากเกินไป คณะกรรมการดังกล่าวจะพิจารณากำหนดอัตราภาษีจากข้อมูลการเสียภาษีและมูลค่า
ของทรัพย์สินที่เสียภาษีที่คณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลการจัดเก็บภาษีประจำจังหวัดส่งมาให้ กรณี อปท.
เห็นว่าอัตราภาษีที่คณะกรรมการกำหนดต่ำเกินไปก็สามารถกำหนดอัตราภาษีเพิ่มขึ้นแต่ไม่เกินเพดานที่กฎหมายกำหนด

ผลของการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะทำให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเองซึ่งปัจจุบันไม่ต้องเสีย
ภาษีบำรุงท้องที่ต้องเข้ามาอยู่ในระบบภาษี โดยผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ส่วนใหญ่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นเนื่องจากปัจจุบัน
จัดเก็บจากฐานราคาปานกลางของที่ดินปี 2521 ถึง ปี 2524 แต่จะมีผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน บางส่วนเสียภาษีลด
น้อยลงกว่าเดิม เพราะปัจจุบันจัดเก็บในอัตราที่สูงมากคือร้อยละ 12.5 ของค่าเช่าต่อปี

การยกเว้นทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษี เจตนาต้องการยกเว้นทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษี ให้น้อยที่สุด เช่น พระราชวัง
ทรัพย์สินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะ ทรัพย์สินที่เป็นศาสนสมบัติ ทรัพย์สินตาม ที่กำหนดโดยพระราช
กฤษฎีกา ทั้งนี้ได้ยกเว้นทรัพย์สินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนไม่เกินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำหนดโดยพระราช
กฤษฎีกา สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย และยกเว้นภาษีให้แก่เกษตรกรที่ใช้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของตนเพื่อประกอบ
เกษตรกรรมเป็นการทั่วไปไม่เกินมูลค่าที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา

นอกจากนี้ได้มีบทเฉพาะกาลให้มีการเตรียมความพร้อมเมื่อมีการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้ภายในระยะเวลา 2 ปี
ทั้งเรื่องการทำแผนที่ดิจิตอลให้ตรงกับโฉนดที่ดินเพื่อประเมินราคาที่ดินรายแปลง การเตรียมความพร้อมสำหรับ อปท.
ในการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเขตท้องถิ่นของตน การจัดทำบัญชีรายการที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างของผู้เสียภาษี

การบรรเทาภาระภาษีสำหรับผู้เสียภาษีซึ่งไม่เคยเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่มาก่อน (ที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้างที่ใช้อยู่อาศัยเอง) ให้เสียร้อยละ 50 ของภาษีที่ต้องเสียในปีแรก ร้อยละ 75 ของภาษีที่ต้องเสียในปีที่ 2 และ
เสียภาษีตามจำนวนเงินที่ต้องเสียในปีที่ 3 ส่วนผู้ที่เสียภาษีโรงเรือน และที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ปัจจุบัน หากมีภาษีที่ดิน
และสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นจากที่เคยเสีย ให้บรรเทาภาระภาษีเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นในปีแรก ร้อยละ 75 ของภาษีที่ต้องเสีย
เพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 ในปีที่ 2 และเสียภาษีเท่ากับจำนวน ที่ต้องเสียทั้งหมาดในปีที่ 3 ผลของการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะทำ
ให้ อปท. มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 40,000 ถึง 50,000 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ลดภาระด้านเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเท่ากับ
จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่