เทศกาลดิวาลี (Diwali)

เทศกาลดิวาลี (Diwali)

เริ่มโดย etatae333, 27 ตุลาคม 2014, 14:51:46

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

Diwali เทศกาลแห่งไฟ



จัดขึ้นที่ประเทศอินเดียเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน เป็นเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในปฏิทินของฮินดู
จะฉลองกันด้วยแสงไฟจากตะเกียงเทียน และพลุไฟจำนวนมาก และที่อินเดียนับจากวันนี้จะเป็นวันหยุดต่อเนื่องกันถึง 5 วัน
ในช่วงเทศกาลนี้ผู้คนจะตกแต่งบ้านเรือนด้วย ดิยา (Diya) ตะเกียงน้ำมันใบเล็กๆ ไว้ทั่วบ้านสร้างบรรยากาศแห่งความอบอุ่น
และวาดภาพรังโกลีด้วยทรายหลากสีสันไว้ที่ลานบ้านและประตูทางเข้า รวมทั้งแขวนดอกไม้และใบมะม่วงไว้ที่ประตูและหน้าต่าง
เพื่อเป็นการต้อนรับ สิ่งดีงาม ความรุ่งเรือง และความสุขเข้ามาสู่บ้าน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนของขวัญ ขนมหวานระหว่างญาติ
เพื่อน และเพื่อนบ้าน



เทศกาลดิวาลี หรือดิปาวาลี ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวฮินดู เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองกัน
ทั่วประเทศอินเดีย เทศกาลนี้มีความเกี่ยวข้องกับไฟ ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เทศกาลแห่งแสงไฟ (The Festival of Lights)
เมื่อถึงเวลาเทศกาลทุกบ้านเรือนจะมีการจุดบูชาไฟ โดยใช้ตะเกียงดินเผาใบเล็กทำเป็นภาชนะ หรือเรียกกันในชื่อว่า ดิยา (Diya)
ซึ่งเป็นตะเกียงดินเผาใบเล็ก ที่ใช้น้ำมันเนย หรือน้ำมันพืชเป็นเชื้อเพลิง มีฝ้ายเป็นไส้ตะเกียง และดิยานี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของ
เทศกาลดิวาลีอีกด้วย ผู้คนจึงนิยมซื้อหามาจุดกันในทุก ๆ ที่ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นหลังคาบ้าน ห้องรับแขก ห้องครัว แม้แต่ในห้องน้ำ
และทำลวดลายสัญลักษณ์รังโกลี (Rangoli) จากแป้งสี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับผู้มาเยือน ตามลานหน้าบ้าน หรือ
ทางด้านหน้าประตูของบ้าน อีกทั้งมีการแขวนดอกดาวเรืองและใบมะม่วงตามประตูและหน้าต่าง

ดิวาลี (Diwali) หมายถึง แถวของประทีปไฟ เทศกาลนี้จะเล่นกันอยู่ 5 วัน เริ่มต้นหลังจาก เดือนคาร์ติก้า (Kartika) หรือคืนเดือนมืด
ไป 15 วัน ตามปฏิทินชาวฮินดู หรือตามปฏิทินเกรโกเรียนเทศกาลดิวาลีจะตกในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในปีค.ศ. 2012 นี้
งานเทศกาลดิวาลีจะเริ่มในวันที่ 13 พฤศจิกายน และในปีถัดไปจะเริ่มงานเทศกาลดิวาลีอีกครั้งในวันที่ 3 พฤศิกายน


เทศกาลดิวาลีถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู มีการเฉลิมฉลองด้วยแสงไฟ จากตะเกียงดินเผา และเทียน รวมทั้งดอกไม้ไฟอีกด้วย
ผู้คนจะทำความสะอาดบ้าน และตกแต่งบ้านเรือนของพวกเขาอย่างสวยงามด้วยไฟกระพิบบ้าง ด้วยดิยาบ้าง มีการเล่นดอกไม้ไฟ
อย่างสนุกสนานในตอนกลางคืน และเป็นช่วงเวลาที่หาซื้อของขวัญโดยเฉพาะขนมหวานและผลไม้แห้งมาแลกเปลี่ยนกันระหว่าง
เพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง และเพื่อนบ้าน



เทศกาลนี้เป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองกันทุกรัฐของประเทศอินเดีย แต่เนื่องด้วยความใหญ่โตของประเทศอินเดีย ทำให้เทศกาลดิวาลี
มีการจัดและบูชาที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่คือ


บูชาพระแม่ลักษมีเทวี (ทั่วไป), พระราม พระสีดา (เมืองอโยธยา), พระกฤษณะ (เมืองวรินดาวัน และรัฐคุชราต), เจ้าแม่กาลี (รัฐเบงกอล)

เทศกาลจะมีพิธีกรรมทางศานาฮินดูที่เรียกว่า อารตี (Aarti) เป็นการแสดงความเคารพต่อทวยเทพและเทวีต่าง ๆ ของชาวฮินดู
เทศกาลนี้จะเฉลิมฉลองด้วยกัน 5 วัน เฉพาะทางรัฐทมิฬนาดูลและภาคใต้จะเฉลิมฉลองเทศกาลดิวาลีเพียง 2 วันเท่านั้น
ลักษณะเฉพาะของเทศกาลดิวาลีนี้จะมีการเฉลิมฉลองอยู่ด้วยกัน 5 วัน และแต่ละวันจะมีลักษณะความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปคือ

วันที่ 1 คือ ธนเตรส (Dhanteras หรือ Dhawantari Triodasi)



ในวันนี้จะมีการทำความสะอาดและซ่อมแซมบ้านเรือน ทางประตูเข้าบ้านจะประดับด้วยลวดลายสัญลักษณ์รังโกลีเพื่อที่จะอันเชิญ
เจ้าแม่ลักษมีเข้าบ้านตน ชาวฮินดูจะมีการซื้อสิ่งของที่เป็นเงินหรือทอง หรือภาชนะชิ้นใหม่สักหนึ่งหรือสองชิ้น เชื่อกันว่าเป็น
เครื่องหมายของความโชคดี ในช่วงตอนเย็นจะจุดไฟตะเกียงดินเผาเพื่อขับไล่วิญญาณร้ายทั้งหลาย และมีการสวดสรรเสริญ
เจ้าแม่ลักษมีด้วยบทเพลงบาจัน (Bhajans) หลังจากนั้นมีการถวายขนมหวานกับเทวี

ในพื้นที่รัฐมหารัฐมหาราษฏระจะใช้เมล็ดผักชีและน้ำตาลโตนดเป็นเครื่องถวายแทนขนมหวาน บ้านไหนมีวัวก็จะประดับตกแต่งและบูชา
โดยเฉพาะทางตอนใต้อินเดียมีการบูชาวัวเป็นพิเศษในวันนี้


วันที่ 2 คือ โชตี้ ดิวาลี (Choti Diwali หรือ Narak Chatursasi)



ในวันที่สองนี้จะบูชาเจ้าแม่ลักษมี พระราม และพระกฤษณะ ชาวฮินดูเชื่อกันว่าเป็นวันที่พระกฤษณะชนะมารร้ายนรกอสูร วันนี้เป็นวันที่เริ่มเล่น
อย่างสนุกสนาน และเล่นพลุไฟ ในทางอินเดียตอนใต้มีพิธีกรรมที่แปลกมากคือในตอนเช้าของวันนี้จะต้องลุกขึ้นมาก่อนที่พระอาทิตย์จะขึ้น
นำคัมคัม (Kumkum) แป้งสีแดงมาผสมกับน้ำมันพืช ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเลือด นำผลไม้รสขมมาตีให้แตก

เปรียบเสมือนพระกฤษณะทำลายศรีษะของจอมอสูร และนำแป้งสีแดงที่ผสมมาแต้มที่หน้าผาก จากนั้นอาบน้ำที่ผสมด้วยน้ำมันจันทร์

วันที่ 3 คือ ดิวาลี (Diwali)



วันนี้ถือเป็นวันเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นวันที่บูชาพระแม่ลักษมี ในอิเดียตอนเหนือและตะวันออกการทำความสะอาดบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด
เพราะพระแม่ลักษมีชอบความสะอาด บ้านหลังไหนที่สะอาดที่สุดพระแม่ลักษมีก็จะเยื่ยมบ้านนั้นเป็นบ้านแรก และนี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไม
ต้องบูชาไม้กวาดด้วยผงขมิ้นและชาด หลังจากพระอาทิตย์ตกดินมีการจุดตะเกียงดินเผาให้สว่างทั่วทั้งบริเวณบ้านเพื่อเป็นแสงนำทางให้
พระแม่ลักษมีเข้าบ้านเรือนตน อีกทั้งยังขับไล่สิ่งชั่วร้ายและความมืดออกจากบ้านด้วย คนในครอบครัวจะอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย
และใส่เสื้อผ้าชุดใหม่

คนอินเดียจะถือวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู มีการเล่นอย่างสนุกสนาน และมีการจุดพลุเล่นกันทั้งคืน


วันที่ 4 คือ ปัดวา (Padwa หรือ Govardhan Puja)



วันที่สี่เป็นงานบูชาพระกฤษณะ และทำบูชาเทพเจ้าที่ตนนับถือที่แม่น้ำ  ในวันนี้สำหรับชาวฮินดูที่เคร่งศาสนาจะไม่นอนหลับในคืนนี้
พวกเขาจะทำอาหาร 56 หรือ 108 ชนิดที่แตกต่างกันไป เรียกอาหารเหล่านั้นว่า โภค (Bhog) เพื่อนำไปถวายแด่พระกฤษณะ


วันที่ 5 คือ ไภทูช (Bhai Duj)



วันสุดท้ายนี้น้องสาวจะเจิมหน้าผากให้พี่ชายเพื่อให้มีความสุขและ อายุยืน มีความเจริญในหน้าที่การงาน ฝ่ายพี่ชายก็จะมอบของขวัญ
และสัญญาว่าจะปกป้องน้องสาวเป็นการตอบแทน สาระสำคัญของการฉลองวันนี้ เพื่อเสริมสร้างความรักระหว่างพี่ชายและน้องสาว
เป็นวันที่กินอาหารร่วมกัน มอบของขวัญให้กัน


มีตำนานเกี่ยวเทศกาลดิวาลีออกไปต่าง ๆ คือ


ตำนานแรก



เทศกาลดิวาลีนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อในมหากาพย์รามายณะ ตามประวัติกล่าวว่า พระราม (Rama) ซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์หรือวิษณุ
เป็นเทวดาในคราบมนุษย์ มีความดีสมบูรณ์แบบไม่มีด่างพร้อยเป็นโอรส ของพระเจ้าทศรถ ซึ่งครองโกศลประเทศ (Kosala) มีเมืองหลวง
ชื่อ อโยธยา (Ayotaya) พระบิดาของพระรามมีมเหสี ๓ พระนาง คือ เกาศัลยะ (Kaudalya), ไกเกยี (Kaikeyi) และสุมิตรา (Sumitra)
พระรามเป็นพระโอรสของนางเกาศัลยะ มีสิทธิ์อันชอบธรรมที่จะสืบทอดราชสมบัติต่อจากพระบิดา


ส่วนพระนางไกเกยี มีโอรสองค์หนึ่งชื่อ ภรต เกิดอิจฉาพอดีกับนางไกเกยีเคยได้รับพรพิเศษ 2 ข้อจากท้าวทศรถในคราวช่วยเหลือพระองค์
ให้รอดชีวิตจากศัตรูในสงครามจึงทูลขอราชสมบัติให้กับพระภรต ถือเป็นพรข้อแรกแต่ถูกพระเจ้าทศรถทักท้วงว่า จะให้เราเอาลูกรามของเรา
ไปไว้ไหนเล่า นางจึงขอพรข้อสองว่าให้พระรามไปอยู่ป่าสัก 14 ปี ระหว่างนี้ก็ให้พระภรตครองราชย์ไปก่อน กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ
แม้จะต้องระกำกับพรดังกล่าว

พระเจ้าทศ รถจำต้องทำตามพรที่ให้ไว้ แต่พระรามซึ่งรักษาเกียรติและพระดำรัสของพระบิดา ก็ยินดีรับและออกไปอยู่ป่ากับนางสีดามเหสีซึ่ง
เพิ่งแต่งงานกันพร้อมพระลักษมัน (Lak man) พระอนุชาต่างมารดา แม้จะได้รับการอ้อนวอนจากพระภรต ซึ่งไม่รู้ไม่เห็นกับการกระทำของ
พระชนนีว่าให้พี่รามครองราชย์เถิด แต่พระรามใจแข็งพูดคำไหนคำนั้น ยอมลำบากไปบำเพ็ญเพียรกัน 3 พระองค์ และได้ต่อสู้กับราวัณตาม
มหากาพย์รามายณะ จนกระทั่งอยู่ในป่าครบ 14 ปีที่รับปากไว้กับพระบิดา อโยธยาจึงจัดพิธีต้อนรับการกลับคืนมายังพระนครโดยการจัดประทีป
โคมไฟตั้งวางเรียงรายเป็นแถวตามถนนหนทาง ตามอาคารบ้านเรือนสว่างไสวไปทั่วทั้งเมืองเป็นที่มาของเทศกาลดิวาลีในที่สุด

สำหรับตำนานแรกชาวฮินดูจะเชื่อตามตำนานนี้มากที่สุด

ตำนานสอง



เชื่อกันว่าเป็นวันประสูติพระแม่ลักษมี คือ ถือกำเนิดจากการกวนเกษียรสมุทร บางแห่งบอกว่าวันประสูติพระแม่ลักษมีนั้นตามปฏิทินฮินดู
จะเป็นอีกวันหนึ่งคือ ราวเดือนมีนาคม เรียกกันว่า วันมหาลักษมีจยันติ


ตำนานสาม



เพื่อฉลองชัยที่พระกฤษณะ เอาชนะนรกสูร (Narakasura) เนื่องจากอสูรตนนี้อาศัยอยู่ในความมืดและเมื่อใดก็ตามมีผู้จุดตะเกียง
เพื่อใช้แสงสว่างเมื่อนั้นนรกสูรจะสังหารเสีย เมื่อพระกฤษณะทรงรับรู้ถึงเรื่องราวต่างๆ จึงฆ่านรกสูรเสีย ดังนั้นจึงเชื่อว่าการจุดประทีบ
เป็นการขับไล่นรกสูร (สิ่งไม่ดี) และเป็นการอัญเชิญ พระกฤษณะ หรือ เทพเจ้าต่างๆ (สิ่งดี) เข้ามาช่วยปัดเป่าสิ่งไม่ดีต่าง ๆ


credit :: tsa-bhu.org
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่