จับผิดสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

จับผิดสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

เริ่มโดย etatae333, 27 พฤษภาคม 2016, 11:14:59

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

จับผิดสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า



กล่าวขวัญถึงกันมากเหลือเกิน สำหรับสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า เชื่อว่าเราๆท่านๆคงคุ้นเคยชื่อนี้กันทุกคนนะครับ
ผมเลยเอาประวัติย่อๆ ของมันก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลักก่อนน่ะครับ




อาณาบริเวณของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า



สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าเป็นการลากเส้นสมมุติ เพื่อกำหนดอาณาบริเวณในน่านน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติค โดยการลากเส้นจากฟลอริด้า
สหรัฐอเมริกา สู่เกาะเบอร์มิวด้า สู่เปอร์โตริโก แล้วก็วกกลับมาที่ฟลอริด้าอีกทีนึงเป็นรูปสามเหลี่ยมพอดี และไอ้เจ้าบริเวณที่ว่านี้แหละครับ
ที่ถือเป็นปริศนาแห่งศตวรรษที่ 20 โดยแท้


อาณาบริเวณนี้กินกว้างจากฟลอริด้า-เปอร์โต ริโก-เกาะเบอร์มิวด้า มันกินพื้นที่ตั้งห้าแสนตารางไมล์ เพราะฉะนั้นการจะค้นหาอะไรๆ
จากสามเหลี่ยมเอบอร์มิวด้าจึงไม่ใช่เรื่องง่าย ถึงกระนั้น ทั้งองค์กรของรัฐ เอกชน ต่างก็ควานหากันอย่างสุดเหวี่ยง เผื่อจะเจอเงื่อนงำ
อะไรที่นำมาใช้ไขปริศนาของดินแดนมรณะนี้ได้

ที่มาของชื่อ



ศัพท์คำว่า "สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า" หรือ "Bermuda Triangle" นี้ มีที่มาจากบทความของ ชื่อ Vincent H. Gaddis แห่งนิตยสาร
อาร์กอสซี่ครับ เขานำเสนอเรื่องราวของเรือและเครื่องบินที่สาบสูญไปอย่างลึกลับโดยปราศจากคำอธิบายในนิตยสารดังกล่าว เมื่อปี 1964
ทว่า แกดดิสมิได้เป็นคนแรกหรอกครับที่สังเกตเรื่องนี้ เมื่อหลายปีก่อน (1952) ก็มีคนเสนอเรื่องทำนองนี้เช่นกันในนิตยสาร Fate
เนื้อหากล่าวถึงปริมาณของเรือและเครื่องบินที่สาบสูญไปอย่างผิดปกติในบริเวณน่านน้ำดังกล่าว ซึ่งยอดสูญหายนี้มันมากเกินไปที่จะใช้
คำว่าอุบัติเหตุมาอธิบาย คนเขียนบทความเค้าชื่อ George X. Sands


ถัดมาในปี 1969 นายวอลเลซ สเปนเซอร์ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยสามเหลี่ยมปริศนานี้โดยเฉพาะออกจำหน่ายในชื่อว่า "Limbo of the Lost"
ถัดจากนั้นก็มีหนังสือออกจำหน่ายตามมาอีกมากมายเกี่ยวกับความลับดำมืดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า ก็ขายดิบขายดีแทบทุกเล่มครับ
ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษคือบทความที่มีชื่อว่า "The Devil's Triangle" ตีพิมพ์ในปี 1974 ครับ เป็นที่น่าสังเกตคือ แทบทุกเล่มมุ่งประเด็น
ไปยังมุมมองที่ว่า เบื้องหลังของการสูญหายนี้ มาจากเทคโนโลยีของสิ่งทรงภูมิปัญญามากกว่าประเด็นอื่น ส่วนจะมาจากมนุษย์ต่างดาว
หรือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรบริเวณนั้น ต่างคนก็หาหลักฐานงัดทฤษฎีมาโต้กันสุดฤทธิ์ สนุกกันใหญ่ทั้งคนอ่านคนเขียน

แต่จนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีคำอธิบายใดที่น่าพอใจร้อยเปอร์เซ็นต์เลยครับ..



ทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆของสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้าก็มีแตกต่างกันไป บางคนก็โทษว่าเป็นฝีมือของวิญญาณ
หรือ สัตว์ลึกลับไปโน่นเลย เนื่องจากไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายเรื่องที่เกิดขึ้นได้ การที่เครื่องบินและเรือเดินสมุทรเกิดหายไป
อย่างฉับพลันในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า โดยปราศจากร่องรอยอยู่เสมอนั้น จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของมนุษย์ที่สุด
ในการที่จะแก้ปมปริศนาตรงนี้ นักวิชาการต่างเสนอทฤษฎีต่างๆกันไป บ้างก็ว่าเกิดจากสภาพอากาศที่แปรปรวน

บ้างก็ว่าเกิดจากความผิดปกติของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า บ้างก็ว่าเกิดจากอำนาจของสิ่งบินลึกลับ หรือ UFOs บางคนว่าเกิดจากแหล่ง
พลังงานลึกลับใต้มหาสมุทร รวมไปถึงทฤษฎีการแตกหักของโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้มหาสมุทร เป็นเวลาเนิ่นนานนับสิบๆปีแล้วครับ
ที่ผู้คนวิพากษ์ถกเถียงกันเรื่องสามเหลี่ยมเจ้ากรรมนี้ คำร่ำลือเกี่ยวกับความน่าสะพรึงกลัวของมันขจรขจายไปทั่วโลก
ในฐานะของดินแดนมรณะที่จะดูดกลืนชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่สัญจรผ่านบริเวณนั้น

แต่ทฤษฏีที่ร้ายที่สุดคือมันเป็นเรื่องโกหก

จับผิด



เรื่องของเรื่องคือหนังสือชื่อว่า The Bermuda Triangle ของชาร์ลส เบอร์ลิซ ซึ่งตีพิมพ์ในช่วงปี 1950
เป็นตัวจุดชนวนนำชื่อของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาโด่งดังไปทั่วโลก มีการนำเรื่องในหนังสือแนะนำผ่านสื่อต่างๆทั้งโทรทัศน์
และนิตยสาร ทั้งยังมีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์อีกด้วย  ....แต่ในภายหลัง เมื่อนักวิจัยได้ทำการตรวจสอบเรื่องที่เขียน
อยู่ในหนังสือก็พบว่าหนังสือเล่มดังกล่าวเขียนขึ้นโดยประกอบด้วยความเท็จ การบิดเบือนและการประโคมเรื่องเป็นจำนวนมาก
จนยากที่จะเรียกได้ว่าเป็นข้อเท็จจริง


และนี่เป็นส่วนหนึ่งเกี่ยวกับคดีและข้อค้านเกี่ยวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา


คดีเรือแมรี่เซเลสเต้




คดีของแมรี่เซเลสเต้เป็นคดีที่เรืออยู่แต่คนไม่อยู่นี้แหละครับ มีร่องรอยข้าวของเครื่องใช้อยู่พร้อมเพียง แต่มีการจับผิดว่าเกิดเหตุ
ดันอยู่ที่อ่าวโปรตุเกสซึ่งอยู่ห่างจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดามากกว่า 3000 กิโลเมตรเลยทีเดียว



คดีเรือเฟรย่า




ตุลาคมปี 1902 เรือเฟรย่าออกเดินทางจากแมนซานีโจ้ ประเทศคิวบา เพื่อไปยังพุนดาอานาเลส ประเทศชิลี ภายหลังถูกพบอับปาง
ที่มาซาโทรัน โดยที่ลูกเรือทั้งหมดหายตัวไป แต่ในความจริงแล้ว เรือเฟรย่าออกจากท่าแมนซานีโจ้ ประเทศเม็กซิโกต่างหากล่ะ
และแล่นเรืออยู่ในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งระหว่างเดินเรือได้พบกับแผ่นดินไหวใต้ทะเลในเขตน่านน้ำของเม็กซิโก
จึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจเจอคลื่นยักษ์มาซัดเอาลูกเรือไปก็เป็นได้มากกว่า




คดีเครื่องบินอังกฤษหายสาปสูญ




กุมภาพันธ์ปี 1953 เครื่องบินโดยสารของอังกฤษซึ่งบรรทุกพลทหารจำนวน 39 คนหายสาปสูญไม่พบร่องรอย แต่จากการตรวจสอบ
จุดที่เครื่องบินดังกล่าวหายไปอยู่ห่างไปทางเหนือจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาถึง 1400 กิโลเมตร มีสภาพอากาศขณะที่หายไปก็มี
ฝนหนักและลมแรงไม่แปลกที่เครื่องบินจะตก




คดีเรือดำน้ำสกอร์เปี้ยน




พฤษภาคมปี 1968 เรือดำน้ำพลังงานปรมาณูสกอร์เปี้ยนพร้อมลูกเรือ 99 คนอัปปางลงในน่านน้ำทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะอาโซเลส
มีการสำรวจแล้วแต่ไม่สามารถค้นพบซากเรือ แต่.......ในความจริงนั้น 5 เดือนให้หลังจากการอัปปาง เรือสำรวจก้นสมุทรไมเซอร์พบซากเรือ
สกอร์เปี้ยนที่ก้นทะเลซึ่งอยู่ห่างจากหมู่เกาะอาโซเลสไปทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะทางประมาณ 640 กิโลเมตรในสภาพถูกทำลายยับเยิน
การตรวจสอบพบว่าถูกยิงด้วยมิสไซล์ และน่านน้ำตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะอาโซเลสก็อยู่ห่างจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาถึง 1000 กิโลเมตร



คดีเรือเอเลนออสติน




ปี 1881 ระหว่างที่เรือเอเลนออสตินสัญชาติอังกฤษกำลังแล่นเรืออยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ได้พบกับเรือสคูเนอร์ (เรือที่มี 2 เสากระโดง)
ลอยลำอยู่โดยไม่มีลูกเรือ กัปตันจึงแบ่งลูกเรือ 2-3 คนขึ้นเรือลำดังกล่าวเพื่อนำเรือเข้าเทียบท่าเซนต์จอห์นด้วยกัน หากระหว่างนั้นก็พบกับ
พายุฝนและหมอกจนพลัดหลงจากกัน เมื่อพายุสงบและพบเรือสคูเนอร์อีกครั้ง ลูกเรือที่อยู่บนเรือก็หายสาปสูญไปอีกเสียแล้วกัปตันเรือเอเลนออสติน
จึงแบ่งลูกเรือขึ้นเรือลำดังกล่าวอีกครั้ง หากระหว่างทางก้พบกับพายุฝนอีก และคราวนี้ พวกเขาก็ไม่ได้พบเรือลำนั้นอีกเลย

แต่มีการตรวจสอบย้อนหลังถึงที่มาของคดีนี้ หากนอกจากที่บันทึกอยู่ในหนังสือ"เรื่องเล่าของนักฝัน"ของลูเพิร์ต กูลด์ซึ่งตีพิมพ์ในปี 1944 แล้ว
ก็ไม่ปรากฏว่ามีเรื่องนี้บันทึกอยู่ในเอกสารหรือหนังสือพิมพ์ใดๆเลย จึงมีความเป็นไปได้สูงว่านี่เป็นเรื่องที่กูลด์แต่งขึ้นเอง และในหนังสือของกูลด์
เรือสกูเนอร์หายไปเพียงครั้งเดียว แต่เมื่อมีการแปลและตีพิมพ์หลายครั้งก็ถูกเพิ่มกลายมาเป็น 2 ครั้ง





คดีกองเครื่องบินรบที่ 19 หายสาปสูญ


เป็นคดีที่มีชื่อเสียงที่สุดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา



วันที่ 5 ธันวาคม 1945 เครื่องบินจู่โจมแอดเวนเชอร์จำนวน 5 ลำบินออกจากฐานทัพกองทัพอากาศในฟลอริด้าเพื่อลาดตระเวณพื้นที่ฝั่งทะเล
ทางตะวันออกของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เครื่องบินทั้ง 5 ลำถูกตรวจเช็คก่อนออกตัวอย่างละเอียดว่าไม่มีปัญหาใดๆ ทั้งนักบินต่างก็มีประสบการณ์
ในระดับผู้เชี่ยวชาญ สภาพอากาศในวันนั้นแจ่มใส และมีกำหนดการว่าการลาดตระเวณจะเสร็จสิ้นใน 2 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงครึ่งหลังจากนั้น
ในเวลา 15.45น. นักบินแจ้งมาว่ากองเครื่องบินหลงจากคอสที่กำหนดไว้ และพวกเขามองไม่เห็นแผ่นดิน ศูนย์บังคับการออกคำสั่งให้นักบิน
หันหัวเครื่องไปทางทิศตะวันตก หากนักบินก็ตอบว่าพวกเขาไม่สามารถรู้ได้ว่าทิศไหนคือทิศตะวันตก ผู้บังคับการสันนิษฐานว่าอุปกรณ์นำทาง
อาจจะเสียหาย นักบินจึงหาเส้นทางบินไม่เจอ แต่หากในเวลานี้ ถ้าบินหันหัวไปตามดวงอาทิตย์ก็จะพบฝั่งในเวลาไม่ช้า แต่จากคำพูดของนักบินแล้ว
ฟังราวกับว่าพวกเขามองไม่เห็นกระทั่งดวงอาทิตย์ในไม่ช้า การติดต่อจากนักบินก็ขาดตอนไป ศูนย์จึงส่งเครื่องบินมาร์ตินมารีเนอร์ไปเพื่อค้นหา
และช่วยเหลือ แต่เครื่องบินช่วยเหลือก็หายสาปสูญไปเช่นกัน

แต่เรื่องข้างบนกล่าวว่า นักบินทั้ง 5 คนเป็นผู้มีประสบการณ์ก็จริง แต่ในความเป็นจริงนั้น นอกจากชารล์ส แครอล เทย์เลอร์ซึ่งเป็นหัวหน้ากองบิน
และผู้ช่วยอีกคนแล้ว นักบินอีก 3 คนยังเป็นเพียงนักเรียนฝึกหัดการบินอยู่ หนำซ้ำตัวเทย์เลอร์เองก็เพิ่งจะย้ายมายังฟลอริด้าเพียง 2 อาทิตย์
ก่อนที่เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นจึงยังไม่มีความชำนาญด้านเส้นทางบินนักในด้านสภาพอากาศนั้น จริงอยู่ที่ขณะที่ออกเครื่องไป ท้องฟ้ายังแจ่มใส
และมองเห็นพระอาทิตย์ได้อย่างชัดเจน แต่หลังจากนั้นสภาพอากาศก็แย่ลงอย่างกะทันหันและในตอนค่ำก็มีลมแรงถึง 16 เมตร




เป็นความจริงที่อุปกรณ์การนำทางเสียหาย หากโดยการตรวจสอบภายหลัง เทย์เล่อร์บินอยู่ในเส้นทางการบินที่ถูกต้องแล้วอยู่แล้ว
แต่เนื่องจากสับสนกับเข็มทิศที่พัง พวกเขาจึงเข้าใจผิดว่าตนเองหลุดออกมานอกเส้นทาง และมีการหันหัวเปลี่ยนทิศทางหลายครั้ง
จนเกิดอาการสับสนทิศขึ้นมาจริงๆพวกเขาบินเปะปะไปมาอย่างไม่รู้เหนือใต้เป็นเวลากว่า 4 ชั่วโมงก่อนที่น้ำมันจะหมดและต้องลงจอด
บนทะเลด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ต้องสงสัยว่าตัวเลขนี้มีความหมายเดียวกับคำว่าตายนั่นเอง

ส่วนเครื่องบินมาร์ตินมารีเนอร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีว่าไม่ได้มาตราฐานและมีน้ำมันรั่วบ่อยๆ ซึ่งถ้านักบินเผลอจุดบุหรี่สูบเมื่อไหร่ก็จะเกิด
การระเบิดได้ง่ายๆ ซึ่งในความจริงนั้น กล่าวว่ามีผู้เห็นการระเบิดกลางอากาศใรทิศทางที่มาร์ตินมารีเนอร์บินไปหลังจากออกจากฐาน
ไปได้ไม่นานนัก


credit :: cammy@dek-d.com
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่