Beatrice Cenci เสียงกรีดร้องของเบียทริเซ่

Beatrice Cenci เสียงกรีดร้องของเบียทริเซ่

เริ่มโดย etatae333, 10 มิถุนายน 2016, 12:18:57

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

Beatrice Cenci เสียงกรีดร้องของเบียทริเซ่

นี่คืออาญากรรมที่น่าเศร้าที่ถูกลิขิตให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรมที่โหดร้าย




เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ 16  ในวันที่ 11 กันยายน 1599 ทางการได้ประหารผู้หญิงสองคนคือ เบียทริเซ่ เซนซี 
อายุ 23 ปี และลูเครเซีย เพโทรนี่แม่เลี้ยงของเธอฐานฆาตกรรม ฐานฆาตกรรมฟรานเซสโก เซนซี ซึ่งเป็นพ่อของบีทริซ
และสามีของคนสองของลูเครเซีย ทั้งคู่ได้ฆ่าเขาด้วยการตอกประตูเข้าใส่ดวงตาทั้งสองข้างและตรงกลางกระหม่อม
และตรงคอหอย อีกทั้งยังทุบด้วยกระบองซ้ำ โดยพวกเธอสมคบพี่ชายสองคนและเจ้านาย ให้สองคนจัดฉากเหมือน
ตกระเบียงตายไปเอง


ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องโหดร้าย ลูกฆ่าพ่อแท้ๆ ของตนอย่างโหดเหี้ยม อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบประวัติของผู้ตาย
ฟรานเซสโก เซนซีแล้วก็พบเรื่องที่น่าตกใจ ฟรานเซสโก เซนซีเป็นลูกชายของโป๊ปปิรัสที่ 5 ผู้ร่ำรวย หลังบิดาตายแล้ว
เขาก็ได้ตำแหน่งและอำนาจจากบิดา

อย่างไรก็ตาม ฟรานเซสโกนั้นเป็นชายที่สมควรที่ถูกประณามมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เขาเป็นคนหลงใหลเงินและอำนาจ
และเป็นคนชอบเรื่องเพศแบบผิดศีลธรรม เขามักสั่งให้ลูกน้องเขาฉุดผู้หญิงอื่นโดยไม่สนว่าเธอมีสามีหรือเธอต้องการ
ให้ทำแบบนั้นหรือไม่ และเมื่อเขาย่ำยีผู้หญิงคนนั้นจนสาแก่ใจ ก็ทิ้งพวกเธออย่างไม่ใยดี และเมื่อเขาถูกจับ
เขาก็รอดได้ทุกครั้ง เพราะเงินและอำนาจจนทางการไม่สามารถเอาผิดเขา


ฟรานเซสโกนั้นมีลูกถึง 12 คน  จากภรรยาคนแรก แต่เขาเกลียดเด็กพวกทุกคน ว่ากันว่าลูกชายคนโตสองคนแรกตายไป
เซนซีไม่ร้องไห้สักหยด ที่น่าตกใจเขายังข่มขืนลูกสาวแท้ๆ ของตนก็คือ เบียทริเซ่  เซนซี  เป็นเวลานาน จึงไม่แปลกใจเลยว่า
ที่เธอจะตัดสินใจที่จะฆ่าเธออย่างโหดร้ายเพื่อเป็นการปกป้องสิทธิของพ่อ ดูแล้วน่าเห็นใจด้วยซ้ำ หากแต่เพราะความยุติธรรม
ของกฎหมายเธอกับพรรคพวกถูกทรมานอย่างโหดร้ายในการสอบสวนเพื่อหาความจริง แต่บีทริซยังคงแสดงความกล้าหาญ
และความมั่งคง และไม่แสดงความเสียใจในสิ่งที่ตนเคยทำลงไป

แม้ว่าเบียทริเซ่จะเสียชีวิตลงไปนานแล้ว แต่เรื่องราวของเธอก็ได้กลายเป็นสาวแห่งความบริสุทธิ์และเทพีแห่งความงาม
เรื่องราวของเธอได้ถูกนำมาเป็นแรงบันดาลใจแก่ภาพวาดและบทละครจนกลายเป็นตำนานเล่าขานที่มีชื่อเสียงของประเทศอิตาลี



บีทริซ เซนซี  (Beatrice Cenci)



เบียทริเซ่ เซนซี  (6 กุมภาพันธ์ 1577-11 กันยายน 1599) เป็นผู้หญิงชนชั้นสูงชาวอิตาเลียน
เธอมีชื่อเสียงจากการฆ่าของตนเองคือ ซึ่งเป็นขุนนางที่มีนิสัยโหดร้ายและมีพฤติกรรมผิดศิลธรรม แม้ว่าเหตุผล
ที่เธอฆ่าจะน่าเห็นใจ แต่สมเด็จพระสันตะปาปาแห่งกรุงโรมนั้นจำเป็นต้องทำตามกฎหมาย ด้วยการสั่งประหาร
เธอกับแม่เลี้ยง


ตามตำนานกล่าวว่าเบียทริเซ่อาศัยอยู่ในปราสาท La Rocca of Petrella Salto เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ของกรุงโรม โดยเธอมีพ่อชื่อฟรานเซสโก เซนซีเป็นขุนนางชั้นสูงที่มีนิสัยชอบทำร้ายภรรยาและลูก อีกทั้งยังร่วมประเวณี
ระหว่างพี่น้องกับเธอ แม้ว่าเขาจะได้การตัดสินจำคุกจากคดีอื่นๆ แต่เพราะมีฐานะความเป็นขุนนางทำให้ไม่มีใครกล้าลงโทษ
ทำให้เขาได้รับการปล่อยตัวออกมาทุกครั้ง แม้ว่าเบียทริเซ่จะพยายามแจ้งความแก่หน่วยงานหลายครั้งแต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แม้ว่าคนในเมืองจะทราบวีรกรรมชั่วของพ่อของนางก็ตาม

ต่อมาเมื่อฟรานเซสโกรู้ว่าลูกสาวของตนแอบเอาเรื่องของเขาไปแจ้งความเขาจึงพยายามส่งลูกสาวและลูเครเซียออก
จากปราสาทเพื่อไปอยู่ที่อื่น ส่งผลทำให้พวกเธอไม่มีทางเลือกจึงหาทางกำจัดฟรานเซสโก



ตามตำนานเล่าอีกว่า เบียทริเซ่เป็นสาวรุ่นที่มีความสวยสดงดงามมาก เป็นเหตุทำให้เป็นที่หลงใหลในชายหนุ่มมากมายในเมือง
ทุกวันจะมีคนมาสู่ขอเธอแต่งาน หากแต่สำหรับฟรานเซสโกไม่ชอบเรื่องนี้มักนัก มักปฏิเสธคนที่มาสู่ขอทุกทั้ง พร้อมประกาศว่า
เบียทริเซ่ลูกแท้ๆ ของเขามีความสัมพันธ์เกินกว่าพ่อลูก


แน่นอนเมื่อหลายคนได้ฟังแค่นี้ย่อมไม่พอใจ กูเออราก็เป็นหนึ่งในคนสู่ขอเบียทริเซ่(อีกตำนานบอกว่าเป็นคนรักลับของเบียทริเซ่)
ได้ไปถามเธอว่าเป็นจริงหรือไม่ เธอตอบว่าจริง กูเออราเลยโกรธแค้นและร่วมมือที่ร่วมมือสังหาร


กูเออราวางแผนฆาตกรรมเซนซี โดยมีแม่เลี้ยงของเบียทริเซ่ชื่อลูเครเซียพี่ชายสองคนของเธอที่ชื่อ จิอาโคโมและเบอร์นาโด
เข้าร่วมแผนฆาตกรรมนี้ด้วย นอกจากนั้นจิอาโคโมยังจ้างเจ้าหน้าที่ตำรวจสองนายคือ มาร์ซิโอ และโอลิมปิโอซึ่งเคยมีความแค้น
กับฟรานเซสโกอยู่ก่อนหน้าอยู่แล้วให้มาร่วมแผนนี้ด้วย

ในตอนเย็นของวันที่ 9 กันยายน ค.ศ.1598 เหตุการณ์ก็ได้เริ่มขึ้น พวกผู้หญิงได้ผสมฝิ่นเข้าไปในไวน์ให้เซนซีดื่ม
เซนซีดื่มในตอนนั้นดื่มหนักจนเขาเมาหลับไป หลังจากนั้นผู้ชายสองคนก็เข้ามาในห้องเพื่อฆ่าเขาด้วยการตอกประตู
เข้าใส่ดวงตาทั้งสองข้างและตรงกลางกระหม่อมและตรงคอหอย เซนซีซวนเซเจ็บปวดทรมานและตกระเบียงลงด้านล่าง
ทำให้การฆาตกรรมในครั้งนี้เสมือนกับว่าเขาเมาจนลื่นตกระเบียงตายไปเอง


เบียทริเซ่ถูกนำตัวไปสอบสวน



เวลาประมาณ 7 โมงเช้า ของวันที่ 9 กันยายน 1598  สาวใช้ผู้หญิงคนหนึ่งได้ยินเสียงโห่ร้องเรียกความช่วยเหลือ ในปราสาท
ซึ่งจับความได้ว่าขุนนางฟรานเซสโก อายุ 52 ปีได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุตกระเบียง และเมื่อเธอได้เห็นเบียทริเซ่มองเธอจากหน้าต่าง
ก็เรียกตัวเธอขึ้นมา เมื่อสาวใช้วิ่งไปดูเธอก็พบเบียทริเซ่อยู่ใกล้ศพของเธอของเธอ


ดูเผินๆ ขุนนางฟรานเซสโกนั้นเหมือนตกลงระเบียงไม้ชั้นบนของปราสาท (ประมาณ 13 เมตร) ซึ่งเวลานั้นเบียทริเซ่เงียบจนน่ากลัว
แตกต่างจากแม่เลี้ยงของเธอที่ส่งเสียงกรีดร้องลั่นไปทั่วปราสาท อย่างไนก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เชื่อเหตุการณ์ดั่งว่า และเนื่องด้วย
อำนาจของผู้ตาย ทำให้ทางการจึงสอบสอนแบบเข้มข้น สามพี่น้องและผู้เกี่ยวข้องของคดีถูกนำตัวไปทรมานเพื่อเอ่ยปากสารภาพ
เบียทริเซ่ถูกถอดเสื้อผ้าออกและจับมือไขว้หลังเอาไว้และถูกยกตัวสูงเหนือพื้น ก่อนที่จะทิ้งตัวเธอลงมากระแทกพื้นทุกครั้งที่เธอ
ไม่ยอมรับสารภาพ ส่วนพี่ชายสองคนนั้นใช้วิธีจี้ตัวด้วยคีมเหล็กเผาไฟ

ผลสรุปของการทรมานคือเบียทริเซ่ทนกว่าพี่ชายสองคนของเธอ โดยเบอร์นาโดยอมรับสารภาพก่อนใครๆ

แม้คำสารภาพสังคมต่างเหตุใจตัวบีทริซ แต่สุดท้ายบทลงโทษนั้นก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1599
สามพี่น้องถูกนำตัวไปประหาร โดยบีเบียทริเซ่ถูกตัดหัวออกเป็นคนแรก และเพชฌฆาตได้ยกหัวเธอขึ้นให้พยานได้ดูกันจ๊ะๆ กับตา



ต่อมาก็ตามด้วยลูเครเซียแม่เลี้ยงของเบียทริเซ่ในขณะที่จิอาโคโมถูกนำตัวไปประหารด้วยค้อนยักษ์ทุบหัว ส่วนเบอร์นาโด
ถูกลดหย่อนโทษในนาทีสุดท้ายจากความเห็นใจจากสังฆราชฯ เหลือเพียงโทษจำคุกตลอดชีวิต(ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวต่อมา
ส่วนมาร์ซิโอนั้นเสียชีวิตเพราะทรมานก่อนหน้าจะถูกนำตัวไปประหาร และจอมวางแผนการกูเออราสุดท้ายเขานี้รอดไปได้
และหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย (บ้างก็ว่าคนรักของเบียทริถูกทรมานและเสียชีวิตโดยไม่ต้องเปิดเผยความจริง)


เบียทริเซ่และแม่เลี้ยงถูกประห่ารท่ามกลางการประท้วงของคนทั้งกรุงโรมที่ได้ทราบสาเหตุการฆาตกรรม แม้ว่าทางศาล
จะมีการสั่งยกเลิกชั่วคราว แต่สมเด็กพระสัมตะปาปากลัวอิทธิพลตระกูลของฟรานเซสโก เซนซีทำให้จำใจประหารเบียทริเซ่
และแม่เลี้ยงเมื่อวันที่ 11 กันยายน 1599 ในบริเวณสะพานนั่งร้านสุสานของเฮเดรีย (หรือเป็นที่รู้จักกันในปราสาทเทวดา)

หลังเบียทริเซ่ถูกประหาร ศพของเธอถูกฝังในในโบสถ์ซานปิเอโตร มอนโตริโอ (San Pietro in Montorio) สำหรับ
คนกรุงโรมแล้ว เธอได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความต่อต้านที่มีต่อชนชั้นสูงหย่อหยิ่ง และนอกจากนี้ยังมีตำนานที่กล่าวว่า
ทุกคืนในวันที่เธอจะตาย เธอมักปรากฏตัวในสภาพไร้ศีรษะที่สะพานใกล้จุดที่เธอเสียชีวิต



HG Hosmer: Beatrice Cenci



เรื่องราวของบีทริซเซ่ยังคงอยู่ในความทรงจำของชาวกรุงโรม จนถูกนำมาสร้างเป็นวรรณกรรม ละครเวที โอเปร่า นิยาย ดนตรี
และศิลปะมากมาย ที่โดดเด่นคือภาพวาดบีทริซเซ่ วาดโดย กวีโด เรนี(1575–1642) ประติมากร HG Hosmer: Beatrice Cenci
ผลงานของแฮเรียต ฮอสเมอร์ นอกจากนี้ยังมีละครวิทยุ "The Cenci Family" (2004)

ทางด้านภาพยนตร์มีภาพยนตร์อิตาลีกำกับโดยลูชิโอ้ ฟูลชี่ "Beatrice Cenci "ที่ฉายในปี 1969 โดยภาพยนตร์จั่วหัวว่าเป็น
เรื่องราวของท่านผู้หญิงอิตาลีกับคนรักและครอบครัวของเธอร่วมมือฆ่าพ่อของเธอที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม นำไปสู่ความสับสน
วุ่นวายในสังคมชาวโรมันและโบสถ์คาทอลิกในอิตาลีศตวรรษที่ 16

https://www.youtube.com/v/r13hyJrALaU

อ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/Beatrice_Cenci

credit :: cammy@dek-d.com
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่