สิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบโดยบังเอิญแต่เปลี่ยนโลกได้อย่างไม่น่าเชื่อ

สิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบโดยบังเอิญแต่เปลี่ยนโลกได้อย่างไม่น่าเชื่อ

เริ่มโดย etatae333, 22 มีนาคม 2018, 17:26:15

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

สิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบโดยบังเอิญแต่เปลี่ยนโลกได้อย่างไม่น่าเชื่อ




บางครั้งความบังเอิญอาจเป็นสิ่งที่โชคดีมากกว่าโชคร้ายก็ได้ เมื่อความบังเอิญแต่ละเรื่องเกิดเปลี่ยนโลก
จากความผิดพลาดเล็กๆ กลับกลายเป็นว่าเป็นต้นกำเนิดสิ่งประดิษฐ์หรือผลิตภัณฑ์ทั้งหลาย ที่แต่ละอย่าง
จำเป็นในชีวิตประจำวันแทบทั้งสิ้น

และนี้คือตัวอย่างสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นอย่างบังเอิญและเปลี่ยนโลกอย่างไม่น่าเชื่อ

โคคา-โคล่า




เริ่มต้นจากปี 1886 เมื่อแพทย์และเภสัชกรนาม จอห์น เพมเบอร์ตัน เอาใบต้นโกโก้อเมริกาใต้มาผสมกับ
ผลของต้นโคลา ที่รู้กันดีว่ามีสรรพคุณในการบำรุงกำลัง และชิมดูแล้วเกิดติดใจ เขาเชื่อว่า หัวเชื้อน้ำเชื่อม
หรือไซรัปที่คิดค้นขึ้นมาได้โดยบังเอิญนี้จะช่วยบรรเทาความเครียด ความเหนื่อยล้า และอาการปวดฟันได้
เพมเบอร์ตันนำส่วนผสมนี้ไปยังร้านขายยาใหญ่ที่สุดในแอตแลนตา และจำหน่ายไซรัปครั้งแรกในราคา
แก้วละ 5 เซ็นต์ แต่แล้วเหตุการณ์กลับพลิกผันเมื่อพนักงานขายคนหนึ่งกดหัวฉีดผิด ดันไปผสมไซรัป
กับโซดาแทนที่จะเป็นน้ำเปล่า และนี่เองคือต้นกำเนิดของโคคา-โคล่า



คุกกี้ช็อกโกแลตชิป



คุกกี้ช็อกโกแลตชิปเป็นที่โปรดปรานของอเมริกันชนมาเนิ่นนาน ขนมนี้ปรากฏตัวครั้งแรกในทศวรรษ 1930
เมื่อรูท เวกฟิลด์ เจ้าของโรมแรมเล็กๆ แห่งหนึ่งในแมสซาชูเซตส์ ตัดสินใจสับช็อกโกแลตแท่งเป็นชิ้นเล็กๆ
และผสมลงในแป้งดิบที่เตรียมไว้ทำคุกกี้เนย เวกฟิลด์คิดว่า ช็อกโกแลตจะละลายและทำให้คุกกี้มีสีน้ำตาล
และมีรสชาติของช็อกโกแลต แต่กลับกลายเป็นว่า เธอประดิษฐ์คุกกี้ชนิดใหม่ที่มีเกล็ดช็อกโกแลตอยู่ข้างใน
ซึ่งได้รับความนิยมอย่างเหลือเชื่อ



กระดาษโน้ตโพสต์-อิต



กระดาษโน้ตโพสต์-อิต ก็เช่นเดียวกัน ผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลจากการทดลองที่โชคร้ายของสเปนเซอร์ ซิลเวอร์
จากบริษัท 3M ในปี 1968 ตอนนั้น สเปนเซอร์พยายามทำให้เทปที่มีใช้กันอยู่เหนียวติดทนนานยิ่งขึ้น
โดยใช้วัสดุที่หนาจนไม่ยอมจมลงในพื้นผิว ทำให้ไม่สามารถนำไปใช้ในการผลิตเทปได้ การค้นพบนี้ถูกลืมไป
จนกระทั่งวันหนึ่งเพื่อนร่วมงานของสเปนเซอร์นึกถึงวัสดุดังกล่าวขึ้นมา เพราะเกิดความรำคาญที่ที่คั่นหนังสือ
ชอบเลื่อนหล่นไปจากหน้าเพลงสรรเสริญพระเจ้าที่เขาไปร้องในโบสถ์ แต่เมื่อนำวัสดุของสเปนเซอร์มาใช้
ที่คั่นหนังสือก็ไม่เลื่อนหล่นหายอีก ปี 1980 โพสต์อิตเปิดตัวในตลาดครั้งแรก
   


ยางรถยนต์



ปี 1884 นักประดิษฐ์นาม ชาร์ลส์ กู๊ดเยียร์ ค้นพบวิธีนำกำมะถันไปผสมกับยางโดยบังเอิญ ทำให้ยางไม่อ่อนตัว
เมื่อเจออากาศร้อน และไม่เปราะในสภาพอากาศหนาวเย็น นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อวงการยานยนต์แล้ว
การค้นพบของกู๊ดเยียร์ยังมีคุณูปการอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่นำยางไปใช้เป็นฉนวน




เครื่องกระตุ้นหัวใจ



อีกหนึ่งการประดิษฐ์คิดค้นที่ดูเหมือนมาจากความผิดพลาดก็คือ เครื่องกระตุ้นหัวใจ ปี 1941 วิศวกรไฟฟ้า
นาม จอห์น ฮอปส์ ได้รับมอบหมายจากกองทัพเรือให้วิจัยปัญหาอุณหภูมิร่างกายต่ำผิดปกติ เขาพยายาม
ค้นคว้าหาวิธีที่ดียิ่งขึ้นในการปรับอุณหภูมิในร่างกายของคนที่อยู่ในน้ำหรือในอากาศหนาวเย็นนานๆ
ให้อบอุ่นอย่างรวดเร็ว ฮอปส์เลือกใช้การกระจายคลื่นวิทยุความถี่สูง

และทันใดนั้นเขาสังเกตว่า การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าทำให้หัวใจเต้นอีกครั้งหลังจากหยุดไปเพราะอากาศหนาวเย็นจัด
ในปี 1950 เครื่องกระตุ้นหัวใจเครื่องแรกถูกสร้างขึ้นโดยอิงกับการค้นพบของฮอปส์ แต่อุปกรณ์ดังกล่าว
เทอะทะเกินไป ซ้ำบางครั้งยังทำให้ผิวหนังคนไข้ไหม้

ดร.วิลสัน เกรตแบตช์ เป็นผู้ค้นพบโดยบังเอิญอีกเช่นกันในการพัฒนาอุปกรณ์บันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ
จากการสอดตัวต้านทานกระแสไฟฟ้าเข้าสู่อุปกรณ์ผิดตัว ทำให้สามารถจับจังหวะการสั่นของเครื่องวัดกำลัง
ไฟฟ้าที่คล้ายกับการเต้นของหัวใจ สองปีหลังจากนั้น เกรตแบตช์สร้างเครื่องกระตุ้นหัวใจแบบปลูกถ่ายใน
ร่างกายสำเร็จโดยนำความผิดพลาดนี้มาประยุกต์




รถเข็นซื้อสินค้า



ซิลแวน โกลด์แมน เจ้าของสแตนดาร์ด ฟูด มาร์เก็ตส์ในโอกลาโฮมา ซิตี้ สหรัฐฯ ประดิษฐ์รถเข็นซื้อสินค้า
เป็นรายแรกในปี 1936 จากการเห็นลูกค้ารายหนึ่งวางถุงของชำหนักอึ้งบนของเล่นที่ใช้เชือกลากของลูก
โกลด์แมนได้ไอเดียทันที เขานำล้อเล็กๆ มาติดกับตะกร้าจ่ายตลาดธรรมดา ก่อนจะคิดค้นต้นแบบรถเข็น
ทันสมัยโดยอาศัยความช่วยเหลือจากวิศวกรเครื่องจักรกล กระทั่งมีการผลิตรถเข็นสินค้ากันเป็นล่ำเป็นสัน
ในปี 1947




ถุงขยะ



แฮร์รี่ วาสิลิกประดิษฐ์ถุงขยะขึ้นมาครั้งแรกในปี 1950 เมื่อเทศบาลเมืองวินนิเพ็ก แคนาดา ขอให้วิศวกรรายนี้
ผลิตอะไรสักอย่างมาช่วยป้องกันไม่ให้ขยะหล่นร่วงเมื่อใช้เครื่องเก็บขยะ แรกทีเดียว วาสิลิกต้องการออกแบบ
เครื่องทำความสะอาดระบบสุญญากาศเพื่อเก็บขยะที่ยังร่วงจากเครื่องเก็บขยะ แต่ทันใดนั้นเขาได้ยินคนรู้จัก
ร้องว่าอยากได้ถุงขยะ เขาจึงตระหนักทันทีว่า ก่อนอื่นต้องเก็บขยะใส่ถุงโพลีเอทิลีน เพื่อให้เครื่องเก็บขยะ
ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



เตาไมโครเวฟ(The Microwave Oven)
เตาไมโครเวฟ คลื่นไมโครเวฟ ที่ใช้ในการอบข้าวโพดคั่วร้อนๆ นี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นอาวุธสงครามมาก่อน

เพอร์ซี สเปนเซอร์ (Percy LeBaron Spencer) เป็นวิศวกรทำงานด้านเทคโนโลยีเรดาร์ในบริษัทเรธีออน
(Raytheon) ตอนนั้นเขากำลังประดิษฐ์แมกนีตรอนสำหรับระบบเรดาห์เพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 



จนกระทั้งวันหนึ่งในขณะที่เขากำลังทำงานอยู่กับเรดาร์อยู่นั้น เขาเกิดสังเกตซ็อกโกแลตในกระเป๋าเสื้อของเขา
เกิดละลาย ซึ่งแทนทีเขาจะคิดว่าเพื่ออากาศร้อนมั้งที่ทำให้ละลาย เขากลับคิดว่าต้องมีรังสีที่ล่อนหนแน่ๆ
เลยที่ทำให้ "มันสุก" ทันใด

และแล้วเขาก็เริ่มทดลอง โดยอาหารชนิดแรกที่อบโดยตู้อบไมโครเวฟ คือ ข้าวโพดคั่ว และ ชนิดที่สองคือ ไข่ 
ผลทดลองปรากฏว่าได้ข้าวโพดคั่วอร่อยหอมกรุ่น ส่วนไข่นั้นเกิดระเบิดตูม!!!




ในปี ค.ศ. 1946 เรธีออน ได้จดสิทธิบัตรกระบวนการใช้คลื่นไมโครเวฟในการอบอาหาร ต่อมาในปี ค.ศ. 1947
เรธีออกก็ได้ผลิตเตาอบไมโครเวฟเครื่องแรก เพื่อการพาณิชย์ ชื่อ Radarange ซึ่งมีขนาดใหญ่ สูงถึง 6 ฟุต
(1.8 เมตร) และ หนัก 750 ปอนด์ (340 กิโลกรัม) ซึ่งสูงกว่าเตาอบไมโครเวฟที่เราใช้กันทุกวันนี้ ถึง 3 เท่า
การประดิษฐ์นี้ประสบความสำเร็จทางการตลาดมาก และพัฒนาจนเป็นเตาไมโครเวฟที่ใช้ในครัวเรือนจนถึงทุกวันนี้




กาวตราช้าง (Krazy Glue and/or Super Glue)


      
เรื่องราวของกาวตราช้างหรือไซยาโนอะคริเลต (cyanoacrylate) ไซยาโนอะคริเลตเป็นหนึ่งในสารยึดติด เริ่มขึ้น
ในปี 1942 แฮร์รี คูเวอร์ (Harry Coover) และอีสต์แมน โคแด็ก (Eastman Kodak) กำลังทำงานในโกดัง
ของบริษัทอาวุธแห่งหนึ่ง(น่าจะใช่) งานของพวกเขาคือวิจัยค้นคว้าการผลิตเลนส์พลาสติกสำหรับลำกล้องของ
อาวุธปืนเพื่อใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2

ทำงานดันผิดพลาดเล็กน้อยเมื่อวัสดุที่พวกเขาสร้างขึ้นกลายเป็นว่าทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่เคยบรรจุหรือจับวัสดุนั้น
ยึดติดกันหมด และไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องเลนส์เลย

ไซยาโนอะคริเลต ออกขายสู่ตลาดอุตสาหกรรมเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า
แฟลชกลู (Flash Glue) ซึ่งยังคงมีการขายอยู่กระทั่งปัจจุบัน




ไซยาโนอะคริเลตในฐานะกาวแบบแห้งเร็วได้รับการจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1956 และออกขายสู่ตลาดผู้อุปโภคบริโภค
ในชื่อ อีสต์แมน 910 ใน ค.ศ. 1958 กาวชนิดใหม่นี้ได้แสดงประสิทธิภาพ สู่สายตาสาธารณชนในรายการโทรทัศน์
I've Got a Secret โดยมี แกร์รี มัวร์ (Garry Moore) เป็นดารารับเชิญ ซึ่งมัวร์นั้นถูกดึงขึ้นกลางอากาศด้วย
แผ่นเหล็กกล้าสองแผ่นโดยใช้ อีสต์แมน 910 เพียงหนึ่งหยดเท่านั้น
   



กระจกนิรภัย(Safety Glass)



กระจกนิรภัยคือแก้วที่ใช้เป็นส่วนประกอบของรถยนต์และอาคารบ้านเรือน แนวคิดของกระจกที่แม้แต่กระสุนเจาะไม่เข้านี้
มาจากอุบัติเหตุแท้ๆ เมื่อค.ศ.1903 นักเคมีชาวฝรั่งเศสชื่อว่า นายเฮ็ดวาร์ด เบเนดิกตัส (Edouard Benedictus)
ชายคนหนึ่งที่ทำงานคล่องแคล่ว ก่อนที่จะมาสะดุดเมื่อเขาเกิดไปชนแก้วทดลองตกลงพื้น ขวดแก้วแตก แต่เหลือเชื่อ
เมื่อเขาสังเกตว่าชินส่วนของขวดแก้วกลับไม่แตกกระจายจากกันเลย

เบเนดิกตัสแปลกใจในสิ่งที่เห็นตรงหน้า เขาจึงวิเคราะห์ทันที จึงรู้ว่าขวดแก้วนี้ก่อนตกแตกนั้น ได้บรรจุสารละลาย
ของพลาสติกเหลว ซึ่งสารนี้ได้ระเหยไปในอากาศช้าๆ คงทิ้งพลาสติกเคลือบแก้วเอาไว้

เบเนดิกตัส นำผลการค้นคว้านี้ไปเสนอให้บริษัทรถยนต์แห่งหนึ่ง ให้สร้างกระจกหน้าของรถเป็นกระจกเคลือบพลาสติก
เพื่อช่วยลดอันตรายจากการอุบัติเหตุ แต่บริษัทรถยนต์แห่งนั้นไม่สนใจ เพราะคิดว่าอุบัติเหตุเป็นเรื่องของคนขับรถ
ไม่ใช่เรื่องของบริษัท อีกอย่างทางบริษัทก็ไม่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการลงทุน




ผลการค้นคว้าของเบเนดิกตัสเกือบลงหลุมแล้วแท้ๆ ถ้าไม่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้น เมื่อ กองทัพสหรัฐอเมริกา
ได้นำสารเคลือบพลาสติกมาเคลือบหน้ากากทหารเพื่อป้องกันหน้ากากแตก  นั่นแหละบริษัทรถยนต์แห่งนั้นจึงได้
ตระหนักถึงความผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ และสนใจเร่องกระจกนิรภัยอีกครั้ง จนพวกมันถูกนำมาติดกับรถใน ค.ศ.1918
และช่วยผู้คนนับหมื่นๆ ล้านรอดพ้นจากอุบัติเหตุจนถึงถึงปัจจุบัน




เพนนิซิลิน(Penicillin)


   
อเล็กซานเดอร์ เฟลนมิง(Alexander Fleming) นักวิจัยชุลชีววิทยาชาวสก็อต เขาอาจเป็นคนขี้หลงขี้ลืมนิดหน่อย
แต่กระนั้นเขาก็เป็นคนแรกที่ค้นพบสิ่งสุดยอดที่รู้จักกันมากที่สุดในศตวรรตที่ 20 นามเพเนซีลีนหรือยาปฏิชีวนะ

ในวันนั้นเป็นปี ค.ศ.1928 ที่ประเทศอังกฤษ ในขณะที่อเล็กซานเดอร์ เฟลนมิงกำลังเพาะเชื้อแบคทีเรียสแตฟไฟไลคอกโค
บนจานแก้วในห้องแล็บนั้น จู่ๆ เขาเกิดคิดได้ว่าเขาติดทำธุระบนชั้นสอง เขาออกไปข้างนอกโดยลืมที่จะทำความสะอาด
โต๊ะทำงานของเขาและลืมปิดฝาจานแก้วไว้ ทำให้เชื้อราชนิดหนึ่งที่เฟลนมิ่งเก็บไว้ บังเอิญปลิวลอยตามลมและตกลง
บนจานเพาะนั้น

วันรุ่งขึ้น เฟรนมิงพบว่าพื้นที่จุดหนึ่งบนจานว่างเปล่าไร้แบคทีเรียเมื่อวิเคราะห์ดูแล้วจึงรู้ว่าเพนนิซิลินในเชื้อราได้สังหาร
แบคทีเรียดังกล่าว และนี้คือ การค้นพบยาปฏิชีวนะขนานแรกของโลกซะงั้น

   



ไวอากร้า (Viagra)


   
แรกเดิมทีเดียว ยาไวอากร้ามีชื่อสามัญว่า Sildenafil ทางแผนกวิจัยของบริษัทไฟเซอร์ได้ผลิตขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์
ในการรักษาโรค Angina (เจ็บหน้าอก เนื่องจากเส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจตีบตัน) เพราะยาตัวนี้ช่วยขยายเส้นเลือด
ทำให้เลือดไหลผ่านไปได้ แต่ผลการทดลองปรากฏว่า ตัวยาไม่ขยายเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจให้ผลดังเป้าหมาย
แต่กลับไปขยายเส้นเลือดที่บริเวณองคชาตของผู้ชายทำให้เลือดไปคั่งบริเวณนั้น ยังผลให้เกิดการแข็งตัวอยู่นาน.....

และนื้คือจุดเริ่มต้นของไวอากร้า



นับจากนั้นเป็นต้นมาไวอากร้า กลายเป็นตัวยายอดนิยม ที่มีสถิติการจำหน่ายสูงสุดนำหน้ายาขนานอื่นในสหรัฐอเมริกาเอง
นับตั้งแต่การวางตลาดเมื่อวันที่ 10 เมษายน จนถึงสิ้นปี ค.ศ.1998 ประชาชนชาวอเมริกันซื้อยานี้หมดเงินมากกว่า
441 ล้านเหรียญ


friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่