งักฮุย (岳飞) แม่ทัพพิทักษ์แผ่นดิน

งักฮุย (岳飞) แม่ทัพพิทักษ์แผ่นดิน

เริ่มโดย etatae333, 15 พฤศจิกายน 2018, 17:37:47

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

งักฮุย (岳飞) แม่ทัพพิทักษ์แผ่นดิน



ขุนพลงักฮุย (岳飞) เทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ (ดั้งเดิม) เป็นขุนพลที่มีชีวิตจริงเกิดในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ
(หลังยุคสามก๊กประมาณ 700 กว่าปี และที่ผมพูดถึงยุคสามก๊ก เพราะบทความต่อไปผมจะเอางักฮุยมา
เปรียบเทียบกับกวนอูครับ) ในสมัยที่งักฮุยโตเป็นหนุ่มนั้น ฮ่องเต้ 2 พระองค์ของราชวงศ์ซ่งเหนือ
(ซ่งฮุยจง และซ่งชินจง) ได้ถูกพวกจิน (ชนเผ่าที่เข้ามารุกราน) จับตัวไปเป็นเชลยซึ่งเป็นเหตุให้ราชวงศ์
ซ่งเหนือล่มสลายลง งักฮุยจึงตั้งปณิธานว่าจะรับใช้ชาติและกอบกู้แผ่นดินกลับคืนมาให้ได้


งักฮุยเป็นอัจฉริยะทางการทหารอีกผู้หนึ่ง เพียบพร้อมทั้งบุ๋นบู๊ ชนิดที่ว่าไม่เป็นสองรองใครในแวดวงขุนศึก
โดยเฉพาะด้านยุทธพิชัยสงคราม สามารถใช้กำลังรบน้อยกว่ายันกับกองกำลังมหาศาลของกิมก๊กได้อย่าง
ไม่เป็นรอง แถมยังตีโต้กลับไปได้ด้วย ทำเอาแม่ทัพวู่ซู่แห่งกิมก๊กเสียหน้าครั้งแล้วครั้งเล่า

แต่ที่น่าสนใจกว่านั้นก็คือเกียรติประวัติของงักฮุยในประเทศไทยกลับไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักยิ่งเมื่อ
เปรียบกับกวนอูที่ได้รับการยกย่องจากชาวจีนในไทยให้เป็นถึงเทพเจ้าแต่งักฮุยกลับได้รับการยกย่องในฐานะ
ของนายทหารคนหนึ่งเท่านั้น จนกระทั่งในระยะหลัง เมื่อเกิดวิกฤตการเมืองในประเทศไทย ชื่อของ งักฮุย
จึงถูกยกขึ้นมา เปรียบเทียบกับสถานการณ์การเมืองไทยให้ได้ยินอยู่เนือง ๆ



งักฮุย เกิดในราชวงศ์ซ่งเหนือ บริเวณที่ปัจจุบันนี้ คือ อำภอทางยิง เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน เมื่อครั้งวัยเยาว์
ณ บ้าน เกิดของเขาเกิดอุทกภัยใหญ่ จากการแตกของเขื่อนกั้นแม่น้ำฮวงโห มารดาของงักฮุยต้อง อุ้มบุตรชายไว้
ในอ้อมกอดอาศัยซุกตัวอยู่ในโอ่งลอยตามน้ำไปเรื่อย ๆ เพื่อรักษาชีวิตให้รอด


เมื่อล่วงเข้าสู่วัยหนุ่มในภาวะที่ประเทศกำลังตกอยู่ในวิกฤต เนื่องจากฮ่องเต้สองพระองค์ของราชวงศ์ซ่งเหนือ คือ
ซ่งฮุยจง และ ซ่งชินจง ถูกพวกจินจับตัวไปเป็นเชลยศึก (ค.ศ. 1115 - ค.ศ. 1234) จนนำมาซึ่งจุดจบของราชวงศ์
ซ่งเหนือ งักฮุยเมื่อพบเห็นกับเหตุการณ์เช่นนี้จึงตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่าจะต้องกอบกู้ดินแดนที่สูญเสียกลับคืนมาให้ได้
ความตั้งใจนี้เมื่อประกอบกับการสนับสนุนของมารดา

เขาจึงสมัครเข้าเป็นทหารรับใช้ให้กับราชวงศ์ซ่งใต้ (ค.ศ. 1127-ค.ศ. 1279) ที่ขณะนั้นฮ่องเต้คือ ซ่งเกาจง ได้ย้าย
เมืองหลวงหนีมาทางใต้ จากเปี้ยนเหลียง (ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิง) มาอยู่ที่หลินอัน (ปัจจุบันคือเมืองหางโจว) ก่อนที่งักฮุย
จะออกจากบ้านไปรับใช้ชาติ มารดาได้สลักอักษรจีน 4 ตัวไว้ที่กลางแผ่นหลังของบุตรชาย ความว่า จิ้นจงเป้ากั๋ว
(รู้รักภักดี พลีชีพเพื่อชาติ)



เมื่อเข้ารับราชการทหาร งักฮุยที่พกความมุ่งมั่นไว้เต็มเปี่ยมก็แสดงความกล้าหาญ และความสามารถในการรบ สังหารข้าศึก
ไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งผลงานไปเข้าตาแม่ทัพนาม จงเจ๋อ (จงเส็ก) ต่อมาแม่ทัพจงเจ๋อ (จงเส็ก) นายทัพของเขา
เห็นภูมิปฏิภาณสติปัญญาและแววความสามารถของงักฮุยจึงได้มอบตำราพิชัยสงครามแก่งักฮุยด้วยหวังว่างักฮุยจะเป็น
กำลังสำคัญในการกอบกู้บ้านเมืองต่อไป


งักฮุยหาได้สร้างความผิดหวังแก่จงเจ๋อไม่ แม่ทัพหนุ่มผู้นี้สร้างผลงานโดดเด่นรบชนะกองทัพต้าจินอยู่หลายครั้งมีความก้าวหน้า
ในการรับราชการทหารเป็นลำดับจนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง "ชิงหย่วนจวินเจี๋ยตู้สื่อ (清远军节度使)"
หรือ ผู้บัญชาการมณฑลทหารเขตชิงหย่วน

กองทัพงักฮุยขึ้นชื่อเรื่องระเบียบวินัยอันเคร่งครัดผู้ใดฝ่าฝืน ลงโทษโดยไม่ละเว้นแม้ผู้นั้นจะเป็นบุตรชายของงักฮุยเองก็ตาม
กฎเหล็กที่งักฮุยบัญญัติไว้ก็คือ

"แม้ต้องหนาวตายก็ไม่ขอเบียดเบียนบ้านชาวประชา แม้ต้องอดตายก็จะไม่ปฏิบัติตัวเยี่ยงโจรขโมย"



ครั้งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าพลทหารขอเชือกปอ จากชาวบ้านหนึ่งเส้นเพื่อนำมามัดไม้ฟืน งักฮุยสั่งให้ลงโทษพลทหารผู้นั้นทันที
ยามเมื่อกองทัพของงักฮุยยาตราทัพผ่านไปยังหมู่บ้านใดก็จะตั้งค่ายพักผ่อนหลับนอนกันริมทาง แม้ชาวบ้านยินดีเชื้อเชิญให้
เหล่าทหารเข้าไปพักผ่อนในบ้านเพียงไรทหารเหล่านั้นก็ไม่ยินยอมด้วยเหตุนี้กองทัพของงักฮุยจึงสามารถครองใจชาวบ้านได้
ทำให้ส่วนหนึ่งของกองทัพงักฮุยมีชาวบ้านอาสามาร่วมรบด้วย


การศึกในครั้งนั้น งักฮุยสามารถทวงคืนดินแดนที่ถูกพวกต้าจิน (กิมก๊ก) ยึดไว้กลับคืนมาได้มากมายกองทัพงักฮุยบุกตะลุยต่อ
จนกระทั่งตั้งทัพอยู่ห่างจากเมืองหลวงเดิมคือไคฟงเพียง 20 กิโลเมตรเท่านั้น ณ เวลานั้นแม้ว่าสถานการณ์จะเป็นใจอย่างยิ่ง
ต่อการฟื้นฟูประเทศของอาณาจักรซ่งใต้

แต่ฮ่องเต้ซ่งเกาจงที่ได้รับคำแนะนำจากอัครมหาเสนาบดี (ตำแหน่งเทียบเท่านายก ฯ) นาม ฉินฮุ่ย หรือ ฉินไคว่ (秦桧)
กลับมีแนวนโยบายในการเจรจาสงบศึกกับอาณาจักรต้าจินโดยมองว่างักฮุยนั้นคืออุปสรรคของการเจรจา ทำให้มีการส่ง
ป้ายทองอาญาสิทธิ์ 12 ป้ายภายในวันเดียวเรียกให้งักฮุยถอนทัพกลับมาทางใต้



ภาพยนต์จีนยุคชอว์บราเดอร์ส์ เรื่อง 12 ป้ายทอง หยิบยกเอาเหตุการณ์ตอนฉินไขว้ ส่ง 12 ป้ายทองประกาศิต
เรียกตัวงักฮุยกลับมาเมืองหลวง แม้งักฮุยจะพยายามฝืนคำสั่งของราชสำนักเช่นไรแต่สุดท้ายก็ทัดทานไว้ไม่ไหว
ต้องยกทัพกลับเมืองหลวง ปล่อยให้กองทัพจินยึดดินแดนคืนกลับไป


หลังการถอนทัพกลับมายังเมืองหลวงไม่นานนักฉินฮุ่ย (ฉินไคว่) ก็ใส่ร้ายว่า งักฮุยนั้นมักใหญ่ใฝ่สูง คิดการใหญ่จะก่อกบฏล้มล้าง
ราชสำนักจนถูกส่งเข้าคุก ข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากเว็บไซต์ thaigoodview.com ระบุว่าหลังงักฮุยถูกใส่ความและถูกจับกุม
ราชสำนักซ่งก็บรรลุข้อตกลงในสัญญาสงบศึกกับอาณาจักรจิน สัญญาสงบศึกดังกล่าวลงนามกันในปี ค.ศ.1411 อันเป็นปีที่ 11
ของศักราชเส้าซิงทำให้ได้ชื่อว่าเป็น "สัญญาสงบศึกเส้าซิง"



สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่ซ่งใต้ เสียเปรียบจินเป็นอย่างมากเนื่องจากซ่งใต้ต้องยอมลดตัวเป็น 'บ่าว' ยกย่องจินไว้เป็น 'นาย'
ทุกปีอาณาจักรซ่งต้องส่งของบรรณาการไปจิ้มก้องให้กับจินเป็นเงิน 250,000 ตำลึงกับผ้าไหมจำนวน 250,000 พับ ทั้งต้อง
ยอมยกดินแดน ถังโจว (唐州) เติ้งโจว (邓州) ทั้งหมดรวมไปถึงพื้นที่ครึ่งหนึ่งของ ซังโจว (商州) และฉินโจว (秦州)
ให้กับจินด้วย

ภายหลังการเซ็นสัญญาสงบศึกดังกล่าวได้ไม่นาน...งักฮุยก็ต้องโทษ "อาจจะมีก็ได้ (莫须有)"
( ต้องรับโทษเพียงเพราะเชื่อว่าอาจจะกระทำ ) ถึงขั้นประหารชีวิต


หลังงักฮุยถึงแก่อสัญกรรมฮ่องเต้แห่งอาณาจักรซ่งใต้องค์ต่อ ๆ มาก็ยังมีการลงนามในสัญญาสันติภาพอีก 2 ครั้ง โดยมีความ
เปลี่ยนแปลงในเนื้อหาเล็กน้อยคือ ในสมัยฮ่องเต้ซ่งเสี้ยวจง (宋孝宗)จินกับซ่งเปลี่ยนสถานะ เป็นอากับหลาน โดยทุกๆ ปี
ซ่งต้องส่งเงิน 200,000 ตำลึง และผ้าไหมจำนวน 200,000 พับ ให้กับต้าจิน ลุถึงสมัยฮ่องเต้ซ่งหนิงจง (宋宁宗)
อาณาจักรต้าจินก็มีสถานะเป็นลุงของราชวงศ์ซ่งทุก ๆ ปีซ่งจะต้องส่งเงิน 300,000 ตำลึง และผ้าไหมจำนวน 300,000
พับให้กับจิน



ผลจากการ "ซื้อสันติภาพ" ดังกล่าวส่งผลให้ดินแดนทางภาคเหนือทั้งหมดหลุดไปจากความควบคุมของฮ่องเต้ซ่งใต้โดยเด็ดขาด
ภายใต้การปกครองของต้าจินชีวิตของชาวจีนทางภาคเหนือตกอยู่ภายใต้ความยากลำบากเป็นอย่างยิ่งเพราะชาวฮั่นที่เคยทำนาบนที่ดิน
ของตนเองนั้นต้องกลายสภาพเป็น "ชาวนาเช่า" ซึ่งต้องเช่าที่ดินจากชาวจิน (กิม) ขณะที่ในส่วนของราชวงศ์ซ่งใต้การสูญเสีย
ดินแดนทางภาคเหนือไปทำให้อาณาเขตการปกครองของซ่งใต้นั้นมีเนื้อที่เพียง 2 ใน 3ของอาณาจักรซ่งเหนือเท่านั้น


ถ้าว่ากันตามประวัติศาสตร์ และความเชื่อของชาวจีนตามที่หลักฐานปรากฏ จอมทัพงักฮุยคือผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่ง
ความซื่อสัตย์มาโดยตลอดจนกระทั่งในยุคราชวงศ์ชิง จึงมีการเปลี่ยนเป็นกวนอู ด้วยเหตุผลทางการเมือง เนื่องจากชาวแมนจู
ซึ่งเป็นผู้ปกครองในยุคราชวงศ์ชิงต้องการให้ชาวฮั่น ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ล้มเลิกอุดมการณ์ในการต่อต้านพวกตน แต่งักฮุยที่ชาวฮั่น
เคารพยกย่องนั้นมีศัตรูคู่แค้นคือ "ชนเผ่านอกด่าน"


ในขณะที่กวนอูและจ๊กก๊กไม่มีนโยบายเป็นศัตรูกับชนเผ่านอกด่านซ้ำบางครั้งกวนอูและจ๊กก๊กยังใช้ชนต่างเผ่าให้เป็นประโยชน์เสียด้วยซ้ำ
ควรกล่าวด้วยว่า แท้จริงแล้ว ราชวงศ์ชิงก็คือผู้สืบสายเลือด มาจากชนเผ่าต้าจินหรือกิมก๊กเดิมนั่นเอง



ครับ...นั่นคือประวัติโดยย่อ ของจอมทัพงักฮุย ก่อนที่จะถูก ฉินไคว่ใส่ความและถูกประหารชีวิต ซึ่งเป็นต้นทางแห่งตำนานปาท่องโก๋
อันลือลั่นจนถึงทุกวันนี้รายละเอียดในส่วนนี้ ผมเชื่อว่าทุกท่านพอจะทราบมาบ้างแล้วซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวถึง  แต่สิ่งที่ผมสนใจก็คือ
ผู้ร้ายในเรื่องนี้มีเพียงต้าจินกับสองสามีภรรยา แซ่ฉินเท่านั้นหรือ ?


เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปในสมัยอาณาจักรซ่งเหนือขณะที่เมืองหลวงยังตั้งอยู่ที่ไคฟงในเวลานั้น เมื่อต้าจิน(กิมก๊ก) ยกทัพรุกประชิด
เมืองหลวงไคฟงฮ่องเต้ซ่งฮุยจงจึงสละราชบัลลังก์ให้รัชทายาทขึ้นเป็นฮ่องเต้นาม "ซ่งชินจง"

ต้าซ่งตัดสินใจยก 3 เมืองพร้อมกับเงินทองทรัพย์สินจำนวนมากให้กับต้าจิน ทำให้ต้าจินยอมถอยทัพกลับไปแต่เนื่องจากประชาชนใน 3 เมือง
ไม่ยอมอยู่ในอาณัติและทำการสู้รบขัดขืนทำให้ทางต้าจินยกทัพมาเพื่อจะยึดเมืองไคฟงอีกครั้งโดยไม่ยอมเจรจาสงบศึกอีกเมื่อต้าจินบุกถึงไคฟง
ได้จับกุมตัวฮ่องเต้ซ่งฮุยจง ซ่งชินจง ฮองเฮา พระสนม เชื้อพระวงศ์ และขุนนางผู้ใหญ่กลับไปถึง 3,000 คน รวมถึงได้ทำการปล้นทรัพย์สิน
ในท้องพระคลังกลับไปจนหมดสิ้น จุดนี้ถือว่าเป็นการสิ้นสุดหรือล่มสลายของ ราชวงศ์ซ่งเหนือในปี ค.ศ.1127
(เหตุการณ์นี้เรียกว่าทุกขภัยแห่งจิ้งคัง)



หมายเหตุ : นี่คือที่มาแห่งชื่อของ ตัวละครหลักสองคนในวรรณกรรมจีน เรื่องมังกรหยกนั่นก็คือ ก๊วยเจ๋ง กับ เอี้ยคัง โดยกิมย้งแต่งเนื้อเรื่องให้
บิดาของทั้งสองถือเอาปีจิ้งคัง(อ่านแบบแต้จิ๋ว คือ เจ๋งคัง) มาตั้งเป็นชื่อบุตรชาย เพื่อมิให้ลืมความอัปยศในครั้งนั้น และหวังให้บุตรชายกอบกู้
บ้านเมืองในภายภาคหน้า


จากนั้นบรรดาเชื้อพระวงศ์ ขุนนาง และทหารที่เหลือ ได้พากันหลบหนีลงใต้  และเมื่อไปถึงเมืองอิ้งเทียน เหล่าขุนนางก็ได้ช่วยกันสถาปนา "จ้าวโก้ว"
หนึ่งในทายาทของตระกูลจ้าวขึ้นเป็นฮ่องเต้มีพระนามว่า "ซ่งเกาจง" หลังสถาปนาเสร็จสิ้น ก็เคลื่อนทัพหลบหนีต่อ จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์
จึงเป็นที่เข้าใจได้ว่า "จ้าวโก้ว" หรือ "ซ่งเกาจง" เป็นเพียงฮ่องเต้ขัดตาทัพเท่านั้น เมื่อใดที่งักฮุยล้มต้าจินทวงคืนบ้านเมืองได้ เมื่อนั้นผู้มีสิทธิเป็นฮ่องเต้
โดยชอบธรรมย่อมได้แก่ "ซ่งชินจง" อดีตฮ่องเต้ซึ่งถูกต้าจินจับกุมตัวไป


นี่อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ ซ่งเกาจงฮ่องเต้แกล้งโง่หลับหูหลับตาเชื่อฟังฉินไคว่ จนฉินไคว่ถึงกับกล้าประหารเสาหลักของบ้านเมืองอย่างงักฮุย
จะพูดให้ง่ายขึ้นก็คือ ซ่งเกาจงฮ่องเต้มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับนโยบายต่างประเทศด้านการทหารผลก็คือวีรกรรมของงักฮุย ที่เพียรพยายามกอบกู้
บ้านเมืองกลายเป็นเพียงหอกข้างแคร่ ความใจแคบ เห็นแก่ตัว และความเขลาของซ่งเกาจงฮ่องเต้ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จีน
แต่ก็ไม่ปรากฏว่าประวัติศาสตร์จีน หรือพงศาวดารจีนจะวิพากษ์วิจารณ์ ซ่งเกาจงอย่างที่ควรจะเป็นและเพื่อปกป้องมิให้ซ่งเกาจงฮ่องเต้ ต้องถูก
ประวัติศาสตร์พิพากษาอันจะส่งผลต่อเกียรติภูมิของชาติจีนด้วย

หน้าที่การตกเป็นแพะรับบาปทั้งหมดจึงต้องตกอยู่กับ ฉินไคว่ อย่างไม่ต้องสงสัย




ในความรู้สึกของผู้อ่านหลาย ๆ ท่านงักฮุยอาจตัดสินใจไม่ค่อยเหมาะสมนักเพราะความจงรักภักดีของขุนพลผู้นี้จึงเป็นเหตุให้ตัดสินใจสั่งถอนทัพ
ทำให้ประเทศเสียโอกาสมหาศาลแต่หากเข้าใจถึงบริบทของสังคมในยุคนั้นที่ประเด็นจารีตหรือประเด็นทางศีลธรรมยังผูกพันอยู่กับลัทธิหยู(ขงจื๊อ)
อย่างลึกซึ้ง จารีตแห่งลัทธิหยูในยุคนั้นปลูกฝังเรื่องความจงรักภักดีอย่างเข้มข้น และมีผลเสมือนกับวิถีชีวิต ทั้งยังมีความสำคัญสูงส่งเสมอด้วยชีพ
คนยุคนั้นที่สำคัญ มันเป็นพลังผลักดันให้งักฮุยสามารถต่อสู้ต่อไปอย่างไม่ลดละ หากขาดพลังผลักดันจาก ความยึดมั่นในความจงรักภักดี งักฮุยอาจ
ไม่มีพลังปลุกเร้าตนเองถึงขนาดนี้ ความเป็นขุนพลไร้พ่ายของงักฮุย จึงมิอาจแยกออกจากความจงรักภักดีได้

ดังนั้น อาณาจักรซ่งหาได้พินาศเพราะการตัดสินใจเยี่ยงนั้นของงักฮุยครับตรงกันข้าม หากขาดพลังแห่งความจงรักภักดีคอยเกื้อหนุนงักฮุยและ
อาณาจักรซ่งอาจมาได้ไม่ไกลถึงเพียงนี้


friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่