ปริศนาการตาย ‘หยางกุ้ยเฟย’ การสืบค้นที่ยังไม่มีข้อสรุป

ปริศนาการตาย ‘หยางกุ้ยเฟย’ การสืบค้นที่ยังไม่มีข้อสรุป

เริ่มโดย etatae333, 14 ธันวาคม 2018, 11:10:57

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

ปริศนาการตาย 'หยางกุ้ยเฟย' การสืบค้นที่ยังไม่มีข้อสรุป

ชื่อเสียงของสนมเอกผู้เลอโฉมแห่งราชวงศ์ถัง หยางกุ้ยเฟย หนึ่งในสี่สาวงามของแผ่นดินจีนผู้เขย่าบัลลังก์มังกร
นอกจากจะเป็นเรื่องเสน่ห์เย้ายวนที่ทำให้ฮ่องเต้ถังเสียนจงหลงใหลจนส่งผลให้ราชบัลลังก์ถังต้องล่มสลายแล้ว
เรื่องราวอีกด้านหนึ่งที่เกี่ยวกับการตายและสุสานที่ฝังศพของสนมเอกผู้นี้ ก็เป็นอีกปริศนาหนึ่งที่หลายฝ่ายยัง
เถียงกันไม่ตก เพราะการขุดคุ้ยหาความจริงของกรณีดังกล่าว ยังคงไร้หลักฐานยืนยันแน่ชัด





ปริศนาที่หนึ่ง : ความแตกต่างที่ปรากฏในบันทึก 2 ฉบับ

ในปีค.ศ.756 หลังเกิดกบฏอันลู่ซันและสื่อซือหมิง (安史之乱) เปลี่ยนราชวงศ์ถังอันรุ่งโรจน์ให้เข้าสู่ยุคเสื่อม
ระหว่างทางที่ฮ่องเต้ถังเสียนจงและสนมเอกหยางเดินทางลี้ภัยไปยังซื่อชวน (เสฉวน) ทหารรักษาพระองค์ได้
สังหารอัครมหาเสนาบดีหยางกั๋วจง ลูกพี่ลูกน้องของสนมเอกหยาง และบังคับให้ฮ่องเต้เสียนจงประหารนาง
ตามไปด้วย สนมเอกหยางผู้ซึ่งไร้ทายาทจึงถูกบังคับให้ผูกคอตายที่เนินหม่าเหวยนั้น
(ปัจจุบันอยู่ในเขตมณฑลส่านซี)

จนเมื่อค่ำวันหนึ่งกลางฤดูร้อนหลังจากนั้น 2 ปี จักรพรรดิเสียนจงก็มีบัญชาลับให้คนไปขุดศพของสนมเอกคู่พระทัยกลับมา
แต่คนงานกลับมารายงานว่าหาศพของนางไม่เจอ ได้แต่เพียง 'ถุงหอม' กลับมาถวายแทน



เกี่ยวกับกรณีการขุดสุสานหยางกุ้ยเฟยนี้มีบันทึกในหนังสือประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน 2 ฉบับ กล่าวคือ บันทึกราชวงศ์ถัง
ฉบับเก่า (旧唐书) บันทึกไว้ว่า "กล้ามเนื้อและผิวหนังเน่าเสียแล้ว ถุงหอมยังคงอยู่" แต่ใน บันทึกราชวงศ์ถังฉบับใหม่ (新唐书)
กลับบันทึกไว้เพียงประโยคหลังเท่านั้น  จึงมีการตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงมีข้อแตกต่างกันของบันทึกทั้งสองเล่ม ?
ศพของสนมเอกหยางจะถูกขโมยไปใช่หรือไม่ ?


ข้อสงสัยประการหลังถูกตัดออกไป เนื่องจากในช่วงที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะวิกฤติ เป็นไปไม่ได้ที่ชาวบ้านสามัญชนจะล่วงรู้ถึง
ที่ฝังศพของนางในทันที และหากมีการขโมยขุดหลุมฝังศพจริงโจรก็คงไม่ทิ้งถุงหอมเอาไว้  นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์จึง
ตั้งข้อสงสัยกับความแม่นยำน่าเชื่อถือของบันทึกทั้ง 2 ฉบับ

บันทึกราชวงศ์ถังฉบับเก่าเขียนโดยคนของราชสำนักถัง (ค.ศ.618 - 907) ส่วนฉบับใหม่เขียนโดยคนในราชสำนักซ่ง
(ค.ศ.960 -1279) อ้างอิงตามเหตุผลทั่วไปแล้วบันทึกฉบับแรกควรมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ฉะนั้นแล้ว คนที่บันทึก
ในราชวงศ์ต่อมาก็ยิ่งไม่สมควรลบประโยคแรกที่เป็นข้อความสำคัญออกไป นอกเสียจากว่าพวกเขามีเหตุผลบางอย่าง

ศาตราจารย์หลิวโฮ่วปิน แห่งคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยจงกั๋วเหรินหมิน แสดงความเห็นว่า

" ฮ่องเต้เสียนจงคงมีพระประสงค์จะประกาศออกไปว่าสนมเอกหยางได้ตายไปแล้ว ซึ่งหากบันทึกไว้ครึ่งๆกลางๆ
ก็จะเปิดช่องให้จินตนาการกันไปได้ ต่อมาในสมัยซ่งคนบันทึกหลบเลี่ยงไม่กล่าวถึงศพของสนมเอกหยางว่ามีหรือไม่
โดยไม่เขียนถึงเอาดื้อๆ "




ปริศนาที่สอง : ศพผู้หญิงในโลงไม้ที่ซื่อชวนระบุไม่ได้ว่าเป็นใคร..?

หลังจากวันที่หยางกุ้ยเฟยตายไปแล้ว 1,000 ปี 'ถุงหอม' ซึ่งเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายที่พบในหลุมฝังศพของนาง ก็มาตั้งแสดง
อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดฝ่าเหมิน คุณซ่งหัวหน้าพิพิธภัณฑ์อธิบายถึงถุงหอมนี้ว่า


" เรียกว่าถุงแต่มีลักษณะเหมือนลูกบอลภายในบรรจุลูกบาตรเล็กๆอยู่ ไม่ว่าจะพลิกคว่ำอย่างไรก็ไม่เอียง
น้ำหอมในถุงก็ไม่มีวันหกออกมา "




ปัจจุบัน ทางอำเภอหม่าเหวยยังมีการบูรณะหลุมศพของสนมเอกหยาง ซึ่งไม่เพียงมีหลุมศพที่สูง 3 เมตร ปูด้วยอิฐสีเขียว
แน่นหนาแล้ว ยังมีรูปสลักของนางตั้งอยู่ด้วย แต่หลุมที่เห็นในวันนี้แตกต่างจากเรื่องเล่าตกทอดเมื่อ 1,000 ปีก่อนของคน
ในหมู่บ้านหงเหมย เมืองตูเจียงเยี่ยนในเขตมณฑลซื่อชวน ว่า เดิมทีมันเป็นเพียงแท่นหินหน้าหลุมที่สลักอักษร 'หยาง'
เพียงตัวเดียว และเป็นหลุมศพลึกลับมานาน 1,000 ปีแล้ว

ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) แท่นหินนี้ได้หายไปอย่างไร้ร่องรอย พื้นที่ที่เป็นหลุมศพในวันนี้ถูกปล่อยรกร้าง
เต็มไปด้วยวัชพืช เหลือแต่แท่นบูชาหน้าหลุมที่แตกหักอนาถาเพียงก้อนเดียว จนเมื่อปีค.ศ.1997 มีการขุดค้นสุสานดังกล่าว
พบโลงไม้ยาว 1.7 เมตร กว้าง 45 เซนติเมตร ภายในบรรจุศพผู้หญิงที่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นใคร




ปริศนาที่สาม : หยางกุ้ยเฟยหนีไปญี่ปุ่น ตำนานแฝงในบทกวี

ข่าวในปีค.ศ.2002 เมื่อดาราสาวชื่อดังชาวญี่ปุ่น โมโมเอะ ยามากูชิ ออกมาอ้างว่าเป็นทายาทเชื้อสายของหยางกุ้ยเฟย
สร้างข้อกังขาให้กับชาวจีนอย่างอึกทึกครึกโครม




แท้จริงแล้วเมื่อราวปีทศวรรษที่ 20 แห่งศตวรรษที่แล้ว อี๋ว์ผิงป๋อ ผู้เชี่ยวชาญวรรณกรรมคลาสิก 'ความฝันในหอแดง' เคยหยิบยก
ความตอนหนึ่งใน 'ฉางเฮิ่นเกอ' (กำสรวลชั่วกาลปาวสาน)* มาตีความว่า หยางกุ้ยเฟยไม่ได้ตายที่เนินหม่าเหวย แต่หนีไปอยู่ที่ญี่ปุ่น 
ที่ซึ่งปัจจุบันเป็นหมู่บ้านริมทะเลชื่อ 'จิ่วจิน' (久津) ที่มีชื่อเสียงจากการเป็น 'หมู่บ้านของหยางกุ้ยเฟย'

โดยมีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า เมื่อถูกบังคับให้ฆ่าตัวตายที่หม่าเหวย สาวใช้นางหนึ่งยอมตายแทนนาง แล้วสนมเอกหยางก็ลงเรือ
รอนแรมหนีภัยไปจนถึงหมู่บ้านจิ่วจินในอำเภอซันโข่วบนเกาะญี่ปุ่นโดยความช่วยเหลือจากทูตของราชสำนักถัง หมู่บ้านแห่งนี้
เป็นถิ่นที่ต้นตระกูลของดาราสาวคนดังกล่าวอาศัยอยู่


นอกจากนี้ ยังมีวรรณคดีญี่ปุ่นอีก 2 เล่มที่พรรณนาถึงการกลับมาเกิดใหม่และการหนีออกนอกราชอาณาจักรถังของหยางกุ้ยเฟย ทั้งนี้
ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรมเปรียบเทียบ เหยียนเส้าเทา เชื่อว่า หลักฐานเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับ 'ฉางเฮิ่นเกอ' กวีนิพนธ์ของ ไป๋จีว์อี้
ที่พรรณนาถึงความรักของถังเสียนจงที่มีต่อหยางกุ้ยเฟย โดยหลายคนยังตีความท่อนท้ายของบทกวีดังกล่าวไว้ว่า

" เมื่อนางได้ถูกปลิดชีพไปแล้ว ดวงวิญญาณได้ล่องลอยไปสู่ 'เผิงไหลเซียนซัน' ซึ่งหมายถึง ที่อยู่ของเทพยดา
ซึ่งต่อมาได้มาประสบกับเต้าหยินผู้ซึ่งฮ่องเต้เสียนจงส่งมาที่นั่น " 


ทั้งนี้ชื่อเทือกเขาดังกล่าวมักปรากฏในวรรณกรรมของชาวญี่ปุ่น ใช้เรียกแทนประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง



นอกจากนี้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 นักประพันธ์หญิงคนแรกของญี่ปุ่นนามว่า มูราซาคิ ซึคิบุ (Murasaki Shikibu 973 - 1014 or 1025 )
ซึ่งเป็นพระอาจารย์ในวังหลวงสอนด้านวรรณคดีฮั่น ก็เคยใช้ 'ฉางเฮิ่นเกอ' เป็นแรงบันดาลใจประพันธ์นวนิยายที่มีความยาวที่สุดในโลก
'เรื่องของเกนจิ'( The Tales of Genji ) ที่กลายเป็นวรรณกรรมคลาสิกของญี่ปุ่น กล่าวถึง ชีวิตนางกำนัลในวัง ซึ่งมีชะตากรรมคล้ายคลึง
กับชีวิตจริงของหยางกุ้ยเฟย


อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นบันทึกการเดินทางทางทะเลที่ละเอียดและถูกต้องที่สุด คือ การเดินทางข้ามไปญี่ปุ่น
(东渡日本) เพื่อเผยแผ่ศาสนาของหลวงจีนเจี้ยนเจิน ( 鉴真和尚 มีชีวิตอยู่ในสมัยถัง 687 - 763) ที่ต้องใช้เวลา 11 ปี และล้มเหลว 5 ครั้ง
กว่าจะไปถึงญี่ปุ่น  สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากในการเดินทางในสมัยนั้น ส่งผลให้ข้อสันนิษฐานเรื่องการหลบหนีไปญี่ปุ่นของนาง
ในเช่นสนมเอกหยางเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยากในความเป็นจริง

ถึงกระนั้น ศาสตราจารย์หลิว แห่งคณะประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเหรินหมิน ก็แย้งว่า ในสมัยราชวงศ์ถังญี่ปุ่นและจีนมีการไปมาหาสู่
ติดต่อกันบ่อยครั้ง และที่ไม่เป็นทางการถึง 16 -17 ครั้ง เมื่อพิจารณาถึงความสามารถของกองเรือในสมัยนั้นแล้ว การเดินทางหนีไป
ญี่ปุ่นของสนมเอกหยางจึงไม่น่ามีปัญหา



และหากเป็นดังที่ศาสตราจารย์หลิวคาด หยางกุ้ยเฟยจะไปขึ้นเรือที่ใด ? ภายหลังที่นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์เปิดปูมเส้นทางคมนาคม
ทางเรือโบราณ พบว่า ถังเสียนจงเลือกเส้นทางหลบหนีพวกกบฏไปซื่อชวน  หยางกุ้ยเฟยอาจเลือกเส้นทางที่ตรงกันข้ามโดยล่องฉางเจียง
(แยงซีเกียง) ตอนล่างไปเมืองอู่ฮั่น  ทั้งนี้ มีเส้นทางน้ำที่น่าเป็นไปได้ 3 สายมุ่งสู่ 3 เมือง ได้แก่ หยังโจว ซูโจว และหมิงโจว
ซึ่งเป็นไปได้ที่นางจะลงเรือที่เมืองใดเมืองหนึ่ง เพื่อมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่หมู่บ้านซันโข่วในญี่ปุ่น



ปริศนาที่สี่ : ความเชื่อเรื่องการหนีไปซ่อนตัวบนเขาไท่เผิงซัน

ข้อสันนิษฐานประการสุดท้าย เชื่อว่า 'เขาเผิงไหลเซียนซัน' หรือที่อยู่ของเทพยดาที่กล่าวถึงใน 'ฉางเฮิ่นเกอ' คือภูเขาไท่เผิงซัน ที่ตั้งอยู่
ในอำเภออิ๋งซัน มณฑลซื่อชวน เนื่องจากมีความพิเศษที่ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงและอันตราย




นอกจากนี้ ตามที่ทราบกันดีว่า หยางกุ้ยเฟยโปรดปรานลิ้นจี่เป็นอย่างมาก ฮ่องเต้ถังเสียนจงถึงกับสร้างถนนปลูกต้นลิ้นจี่ขึ้นสายหนึ่งเพื่อนาง
เส้นทางดังกล่าวก็ตัดผ่านเขาแห่งนี้ด้วย  หากเป็นไปตามข้อสันนิษฐานข้างต้น  เขาไท่เผิงซันในซื่อชวนก็อาจจะเป็นสถานที่ที่หยางกุ้ยเฟย
เดินทางมาตามที่ปรากฏในบทกวีคลาสิกนี้ก็เป็นได้  อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ฉบับไหนยืนยันความเชื่อดังกล่าวอีกเช่นกัน

ศาสตราจารย์เฝิง ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์มณฑลซื่อชวน กล่าวสรุปว่า การสืบค้นเรื่องการตายของหยางกุ้ยเฟยยังคงเป็นปริศนาไม่มีข้อสรุป
เนื่องจากด้านหนึ่งเกิดจาการขาดตกบกพร่องในบันทึกทางประวัติศาสตร์ ด้านหนึ่งเกิดจากความหลงใหลในความโรแมนติกของวรรณกรรมคลาสิก
ถึงแม้ข้อสันนิษฐานทั้งหลายจะยังไม่มีหลักฐานชี้ชัด แต่นาม 'หยางกุ้ยเฟย' ก็กลายเป็นชื่อที่อยู่คู่กับราชวงศ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชนชาติจีน
และการตายของนางก็ยังคงมีคุณค่าต่อการค้นหาความจริงต่อไปไม่จบสิ้น .




เรียบเรียงจาก เป่ยจิงยูธเน็ต
*อ้างอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์จาก หนังสือ "ประวัติศาสตร์จีน" โดย ทวีป วรดิลก
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่