เงือกงู (มกร) อสูรกลืนพญานาค

เงือกงู (มกร) อสูรกลืนพญานาค

เริ่มโดย etatae333, 12 มิถุนายน 2024, 15:16:00

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

เงือกงู (มกร) อสูรกลืนพญานาค



ในแถบอุษาคเนย์ทั้งไทย ลาว เขมร และพม่า ต่างมีคติความเชื่อเกี่ยวกับการบูชางู
โดยเฉพาะงูใหญ่อย่าง "พญานาค" ที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่
ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา ซึ่งรูปร่างพญานาคตามอุดมคติของชาวบ้านในแต่ละ
พื้นที่อาจแตกต่างกัน


ในดินแดนล้านนา พญานาคมีปากคล้ายจระเข้ บ้างมีเขี้ยวยาวโค้ง เรียกกันว่า
"มกรคายนาค" (อ่านว่า มะ–กะ–ระ หรือ มะ–กอน) เป็นสัตว์จินตนาการในป่าหิมพานต์

มกรเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์เชิงเขาพระสุเมรุ ลักษณะภายนอกจะผสมระหว่างจระเข้กับพญานาค
กล่าวคือ มีลำตัวยาวเหยียดคล้ายพญานาค แต่มีขายื่นออกมาจากลำตัว และส่วนหัวที่คาย
พญานาคออกมานั้นเป็นปากจระเข้ คนโบราณจึงมักนำมกรไปเฝ้าอยู่ตามเชิงบันไดวัด
และที่สำคัญคือมีคนจำนวนไม่น้อยสับสนคิดว่า "ตัวมอม" เป็นสัตว์ชนิดเดียวกับตัว "มกร"
หรือ "เหรา" ที่เฝ้าอยู่ตรงราวบันไดศาสนสถานในภาคเหนือ แต่หากพิจารณาลักษณะภายนอก
ของมกรแล้วจะพบว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง




*ตัวมอม เป็นสัตว์ลูกผสมระหว่าง มกร และ สิงห์ อีกทีหนึ่ง แต่ลักษณะจะค่อนไปทาง
มกร มากกว่า โดยหัวจะคล้ายสิงห์ ข้อสังเกตคือตรงหัว มกรจะปากยื่นยาวคล้ายจรเข้


ลักษณะของเงือกงู หรือมกร



"เงือกงู" หรือ "มกร" (เบญจลักษณ์) บางครั้งเรียกว่า "เหลา" เชื่อว่าเป็นตนกำเนิดของคำแผลง
ที่กลายมาเป็นคำว่า "มังกร" ในปัจจุบัน บางครั้งเรียกว่า "เงือกกลืนนาค" บ้างเรียก "ตัวสำรอก"
เป็นสัตว์ในตำนานอีกประเภทหนึ่งที่ปรากฏตัวให้เห็นบ่อยครั้งในงานศิลปะและตามวัดวาอาราม
แต่คนทั่วไปกลับไม่รู้จัก และไม่ได้สังเกตเห็น


พวกมัน มีลักษณะคล้ายกับงูขนาดใหญ่ มีเท้าสั้นๆ อาศัยอยู่ในสายน้ำ (เชื่อว่าอยู่ในลำน้ำโขง)
แต่เชื่อว่าอาศัยอยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ มีความคล้ายคลึงผสมผสานระหว่างนาคกับจระเข้ 
กินเนื้อเป็นอาหาร  ส่วนสาเหตุที่ทำให้มันถูกเรียกว่าตัวสำรอก มาจากการที่เงือกงูมักจะคาย
หรือสำรอกเอาวัตถุบางอย่างออกมาทุกครั้ง เช่น พญานาค เป็นต้น ทำให้หลายครั้งที่มันถูก
เรียกว่า "มกรคายนาค" หรือ "ตัวกินนาค"



ในเทวตำนานของศาสนาฮินดูเงือกงู (Makara) เป็นสัตว์ประหลาดที่อาศัยอยู่ในท้องทะเล
มักอยู่ในรูปร่างที่ผ่านการผสมผสานของสัตว์หลายชนิด ครึ่งหน้าอาจเป็นสัตว์บก อาทิ ช้าง
จระเข้ หรือกวาง ส่วนร่างกายครึ่งหลัง (โดยเฉพาะส่วนหาง) เป็นสัตว์น้ำ เช่น ปลา แมวน้ำ
หรือบางครั้งอาจเป็นนกยูง เป็นต้น มักถูกสร้างประดับเอาไว้ตามปากทางเข้าของศาสนาฮินดู
และพุทธสถาน


เงือกงู หรือ มกร ยังเป็นหนึ่งในพาหนะของพระแม่คงคา และพระวรุณ เทพแห่งสายฝน และทะเล
ทำให้ในทางล้านนาของประเทศไทย ก็ยังมีการนำเงือกงูมาใช้ในพิธีขอฝนอีกด้วย นอกจากนี้เงือกงู
ยังปรากฏให้เห็นในธงของพระกามเทพที่มีชื่อว่า "การกะธวัช" และยังเป็นสัญลักษณ์ของราศีมังกร

จากบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวของป่าหิมพานต์พบว่า เงือกงู เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์
บริเวณเชิงเทือกเขาพระสุเมรุ ลักษณะภายนอกมีการผสมผสานระหว่างจระเข้กับพญานาค
มีลำตัวเหยียดคล้ายพญานาค แต่มีขายื่นออกมาจากลำตัว มีปากเหมือนจระเข้ ทำหน้าที่เฝ้าอยู่ที่
เชิงเขาพระสุเมรุไม่ให้มนุษย์ขึ้นไปทำการรบกวนเหล่าทวยเทพ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์


ตำนานเกี่ยวกับเงือกงู



เงือกงู ได้ปรากฏในตำนานการกำเนิด "แม่น้ำโขง" ที่เชื่อกันว่าที่จริงแล้วแม่น้ำที่รู้จักกันดีของ
ชาวอีสานแห่งนี้ เกิดขึ้นมาจากพญานาคสองตน มีนามว่า "พิณธโยนกวติ" และ "ธยะมูล"
ผู้อาศัยอยู่กับ "ชีวายะ" ผู้เป็นหลาน ที่ปกครองหนองน้ำขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า "หนองแสง"
อยู่คนละด้านเกิดความบาดหมางวิวาทกันอย่างรุนแรง


จนบรรดาเหล่าสรรพสัตว์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นพากันบาดเจ็บลงตายเป็นจำนวนมาก
พระอินทร์จึงทรงใช้ให้พระวิศวกรรมลงมาปราบ โดยเทพองค์นี้ได้ส่ง "ผีเปรตยักษ์"
และ "เงือกงู" ลงมาสู้รบขับไล่พญานาคเจ้าปัญหาทั้งสามตน พญานาคสู้ผีเปรตยักษ์
และเงือกงูไม่ได้เพราะกลัวถูกจับกินจึงพากันหลบหนีไปทิ้งร่องรอยการหลบเลื้อยหนี
ของพญานาคกลายมาเป็นแม่น้ำโขงอย่างที่เห็นกันในปัจจุบัน



นอกจากตำนานบทแรกที่ได้กล่าวถึงกันไปแล้ว ยังมีเรื่องเล่าว่า เงือกงูเป็นตัวแทนของความ
อิจฉาริษยาและหลงทะนงในตัวเอง เป็นสัตว์ที่มีความมักใหญ่ใฝ่สูงอยากเป็นเจ้าแห่งลำน้ำโขง
และอิจฉาพญานาคที่ได้รับชื่อทางธรรมให้ผู้คนที่มาขออุปสมบทต้องถูกเรียกว่า "นาค"
ก่อนบวชพระ ทำให้หาเรื่องเอาชนะ พญานาคด้วยการท้าทายประลองกำลัง พญานาคไม่อยาก
ให้เหล่าสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำเดือดร้อนจากการประลองจึงยื่นกติกาว่า หากเงือกงูสามารถกลืนกิน
พญานาคได้ทั้งตัว ให้ถือว่าเงือกงูเป็นฝ่ายชนะ


เงือกงูพยายามกลืนพญานาคตั้งแต่หางขึ้นไป กลับไม่สามารถกลืนกินส่วนหัวของพญานาค
ได้จึงเหลือส่วนหัวพ้นออกมา บางตำนานเล่าว่าพญานาคค่อยๆโผล่หัวออกมาจากปากของ
เงือกงูจนครบ 7 เศียร จนกระทั่งเงือกงูรู้สึกหิวโหย จึงยอมแพ้ไปเองในที่สุด ทำให้รูปปั้น
ของพญานาคในภาคเหนือ อีสานและประเทศลาวส่วนใหญ่ตามบันไดทางขึ้นของวิหารแม้
ส่วนหัวจะเป็นพญานาค แต่ส่วนของลำตัวกลับเป็นของเงือกงู

เชื่อกันว่าที่จริงแล้วเรื่องราวของเงือกงูเป็นหนึ่งในปริศนาธรรม ที่แสดงให้เห็นถึง
"ความดี ที่สามารถเอาชนะความชั่วได้ทั้งปวง"



ให้ทุกคนยิ้มเหมือนกับพญานาคที่แม้จะถูกเงือกงูพยายามกลืนกินก็ยังคงสามารถยิ้มรับได้ ให้ทิ้ง
ความทุกข์เอาไว้ที่ทางเข้าโบสถ์ วิหาร เพื่อที่จะได้พบกับความสงบร่มเย็นกลับไป ไม่เป็นทุกข์
หรือในทางพุทธศาสนานากงู หมายถึง "อุปทาน ความยึดติด ความลุ่มหลง" โดยปรากฏให้เห็น
กันอย่างชัดเจน ในวัดหลายแห่งทางภาคเหนือ อาทิเช่น  วัดพระธาตุดอยสุเทพ  วัดบุพพาราม
จังหวัดเชียงใหม่ วัดศรีคิรินทราราม จังหวัดแพร่  วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง เป็นต้น



เงือกงู กับแง่มุมทางประวัติศาสตร์



นักประวัติศาสตร์หลายคนเชื่อว่า เงือกงู หรือรูปปั้นมกรคายนาก เป็นเรื่องของการแสดงอำนาจของ
พม่าที่มีอยู่เหนือชาวล้านนา เพราะพญานาคเป็นสัญลักษณ์แห่งความเคารพศรัทธาของชาวล้านนา
ในขณะที่เงือกงูเป็นความเชื่อของชาวพม่า ที่พยายามกลืนกินพญานาคซึ่งแสดงให้เห็นถึงความ
พยายามของพม่าในการกลืนกินให้ล้านนากลายเป็นเมืองขึ้นของตัวเองนั่นเอง

ด้วยความหลากหลายของชื่อเรียกไม่ว่าจะเป็นเงือกงู เหลา มกร มังกรคายนาก ฯลฯ ทำให้เงือกงู
กลายมาเป็นหนึ่งในสัตว์ประหลาดที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักกันนัก แต่หลังจากที่อ่านบทความชิ้นนี้จนจบ
เชื่อว่าตอนนี้คุณผู้อ่านคงพอมองเห็นภาพแล้วว่าเงือกงู สัตว์ร้ายที่พญานาคหวาดกลัวหนักหนานั้น
มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร..



friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่