คู่มืออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้บริหาร

คู่มืออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้บริหาร

เริ่มโดย don, 12 กุมภาพันธ์ 2008, 23:56:56

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

don

 :D
คู่มืออินเตอร์เน็ตสำหรับผู้บริหาร
แม้ว่าประเทศไทยเราจะมีอินเตอร์เน็ตให้ประชาชนและธุรกิจทั่วไปได้ใช้กันมานานกว่า 7 ปีแล้ว แต่ยังคงมีนักธุรกิจและผู้บริหารอีกมากที่ยังไม่เข้าใจจริงๆ ถึงประโยชน์ที่เขาจะได้รับจากสื่อใหม่ชนิดนี้
เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้อ่านข้อเขียนของ มร.เดอ เลค ซึ่งสรุปถึง
จุดดีจุดด้อย ของอินเตอร์เน็ตในเชิงธุรกิจได้อย่างครบถ้วน จึงขอนำเอาบางประเด็นที่เห็นว่าน่าสนใจมาคุยให้ท่านผู้อ่านฟัง

อินเตอร์เน็ตไม่ใช่สื่อโฆษณา
ประเด็นแรกที่ มร.เดอ เลค และผู้รู้ทางอินเตอร์เน็ตทั้งหลายเตือนนักเตือนหนา ก็คือ อินเตอร์เน็ตไม่ใช่สื่อโฆษณา ซึ่งมีธุรกิจมากมายที่เข้าใจผิด คิดว่าอินเตอร์เน็ตก็คือ
สื่อโฆษณาชนิดหนึ่ง และใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเพียงสื่อที่จะเผยแพร่ข้อมูลสินค้าของตน
ความจริงสื่อชนิดนี้มีความแตกต่างจากสื่อโฆษณาในหลายๆ ด้าน และมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโทรศัพท์มากกว่าสื่อโฆษณา แม้แต่การทำโฆษณาของอินเตอร์เน็ตก็แตกต่างจากการโฆษณาในสื่ออื่นๆ นักธุรกิจจะต้องพยายามใช้คุณสมบัติต่างๆ ให้คุ้ม และมีประสิทธิภาพ เพราะสำหรับผู้บริโภคแล้ว
อินเตอร์เน็ตคือประสบการณ์ ไม่ใช่เพียงแค่สื่อชนิดหนึ่งเท่านั้น

อย่าปล่อยไก่ และอย่าน้อยหน้าคู่แข่งขัน
หน้าที่ของผู้บริหารคือ ต้องยอมเสียเวลาค้นดูว่า คู่แข่งขันทำอะไรกับเว็บของเขาบ้าง เขาใช้อินเตอร์เน็ตล้ำหน้าไปถึงไหนแล้ว คือต้องวิเคราะห์เว็บไซต์ของแต่ละคู่แข่งขัน ว่าเขาสื่อสารอะไรกับโลกภายนอกบ้าง มีลูกเล่นอะไร? บ้าง ใช้ง่ายหรือไม่? น่าสนุกเพลิดเพลินหรือไม่? มีการสร้างการบริการเพิ่มผ่านเว็บไซต์อย่างไรบ้าง? ทั้งนี้เว็บไซต์ของเราจะต้องดีกว่า หรือย่างน้อยก็เทียบเท่าเว็บไซต์ของคู่แข่งขัน เพราะผู้บริโภคจะมีการเปรียบเทียบตลอดเวลาด้วยการคลิกเมาส์ ในกี่ทีเท่านั้น

อย่าลืมวางแผนก่อนสร้างเว็บไซต์
ก่อนเริ่มทำเว็บไซต์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเขียนแผนธุรกิจของเว็บไซต์นั้นๆ นี่เป็นสิ่งที่นักธุรกิจไทยเรามองข้ามกันมาก ผมเคยได้ร่วมงานกับบริษัทระดับอินเตอร์ ซึ่งมีเครือข่ายไปทั่วโลก หากบริษัทเครือข่ายของเขา
ไม่ว่าจะในประเทศไหน จะทำเว็บไซต์ขึ้น แม้เป็นเพียงเว็บท้องถิ่นก็ตาม เขาจะบังคับเลยว่าจะต้องทำแผนธุรกิจส่งก่อน โดยเขาจะมีแบบฟอร์มมาให้เลยว่า Internet Business Plan นั้นต้องเขียนอะไรบ้าง ทั้งนี้มีเหตุผลง่ายๆ ว่า เว็บไซต์ที่เปิดแล้วเจ๊ง มีมากกว่าเว็บที่เปิดแล้วรุ่งเป็นไหนๆ โดยเว็บไซต์ที่ประสบความสำเร็จนั้นจะต้องมีวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่วัดผลได้ในอนาคต ต้องมีการวางแผนด้านกลยุทธ์ของเว็บไซต์ที่ดีและต้องเสริมซึ่งกันและกันกับกลยุทธ์ธุรกิจจริงของบริษัทด้วย

อย่าหลุดกรอบจากธุรกิจจริง
อันตรายอย่างหนึ่งของเว็บไซต์ก็คือ ต้องมีความสม่ำเสมอกับธุรกิจจริง เว็บไซต์ที่ดีต้องช่วยเสริมสร้างภาพพจน์ดังเดิมของแบรนด์ นั้นๆ ไม่ใช่ฉีกแนวไปเลย เช่น หากสินค้าของเรามีจุดเด่นที่ ใช้จ่ายŽ เว็บไซต์ของเราก็ควรจะเป็นอะไรที่ใช้ง่ายด้วย
กลยุทธ์อีเมล์นั้นดี...แต่ต้องระวัง
กลยุทธ์ที่แพร่หลายที่สุดในสมรภูมิ
อินเตอร์เน็ตก็คือ กลยุทธ์อีเมล์และความจริงเป็นกลยุทธ์ที่หากใช้ดีๆ และจะได้ผลอย่างยิ่ง ทำให้เราสามารถใกล้ชิดกับลูกค้าของเราได้อย่างมาก นอกจากนั้นจะเป็นกลยุทธ์หลักของไดเร็กต์มาร์เก็ตติ้งด้วย สิ่งที่พึงระวังคือ เราควรสร้างรายชื่อ เมลลิ่งลิสต์ของเราเอง เพราะเมลลิ่งลิสต์ที่เราได้จากที่อื่นมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้มาก เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอีเมล์กันบ่อยมาก และเราไม่ควรให้เช่าอีเมล์ของเรากับผู้อื่น เพราะผลที่ถูกด่าไม่คุ้มกับเงินที่ได้รับ ในขณะเดียวกันเราก็ไม่ควรสร้างความรำคาญให้ผู้บริโภคด้วยการ Spam ไม่ว่าในกรณีใดๆ อีเมล์์ที่ดีต้องพูดในสิ่งที่ผู้รับอีเมล์สนใจ

เว็บไซต์ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาด
การสร้างเว็บไซต์ไม่ใช่การสร้างกลยุทธ์เอกเทศ แต่เว็บไซต์ก็เป็นส่วนหนึ่งของการตลาดโดยรวมของบริษัท กลยุทธ์อินเตอร์เน็ตที่เสริมซึ่งกันและกัน กับกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ จะสามารถสร้างอินเตอร์เน็ตได้อย่างดีไม่ใช่เพียงเปิดเว็บไซต์เพื่อเอาเว็บแอดเดรสไปใส่ไว้เก๋ๆ บนแอดของบริษัทเท่านั้น สิ่งที่พบบ่อยๆ ก็คือ เว็บไซต์ซึ่งดูเป็นเอกเทศจากกลยุทธ์อื่นๆ ของบริษัท หรือไม่ก็เว็บไซต์ที่ดูแล้วไม่สม
ศักดิ์ศรี กับตัวบริษัทก็พบมากเช่นกัน

เจาะให้ตรงเป้าแม่นกลุ่ม
คุณสมบัติพิเศษของอินเตอร์เน็ตที่สื่ออื่นๆ ไม่มีทางเทียบได้ก็คือ การเจาะกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำอย่างยิ่ง ไม่ต้องมีงานวิจัยเป็นปึก ไม่ต้องมีรายชื่อลูกค้าเป็นตั้ง แต่อินเตอร์เน็ตก็มีเทคโนโลยี ที่จะทำให้เราสามารถเจาะตรงถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและละเอียดลออ ทำให้เราสามารถเขียนข้อความที่อยู่ในความสนใจของกลุ่มนั้นๆ ได้ รวมทั้งสามารถสร้างอารมณ์ร่วม ความกินใจ และความใกล้ชิดที่ดีกว่า
สร้างเสริมการบริการลูกค้าด้วยเว็บไซต์
คุณสมบัติที่ real-time และ interactive ของอินเตอร์เน็ต ทำให้สื่อนี้เป็นมากกว่าสื่อโฆษณา และกลายเป็นเครื่องมือที่สามารถดัดแปลงเป็น สถานบริการŽ ที่จะให้สำหรับทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่หลายบริษัท ใช้เว็บไซต์ของตนเป็นการบริการหลังการขายที่ดีเยี่ยม เพราะสามารถสนองปัญหาลูกค้าได้แทบจะทันทีทันควัน สามารถตอบคำถามที่ลูกค้าถาม ไม่ใช่เดาคำถามที่ลูกค้าถาม
เอาล่ะครับวันนี้ คงจะมีเนื้อที่คุยกันได้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ ยังมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจสำหรับผู้บริหาร ฉบับหน้าจะมาคุยต่อนะครับ
คู่มืออินเตอร์เน็ตสำหรับ ผู้บริหาร (ตอนที่ 2)
เรื่อง--กนกศักดิ์ ซิมตระกูล
kanoksak@yahoo.com

เรื่องพื้นฐานที่ผู้บริหารควรทราบในการเริ่มทำเว็บไซต์ขององค์กรของตนนั้น ยังมีที่น่าสนใจอีกหลายข้อ เราลองมาคุยกันต่ออีกหน่อยนะครับ
การพัฒนาเว็บไซต์ จำเป็นต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ
ผู้บริหารไม่ควรคิดว่าเว็บไซต์เป็นของง่ายที่พัฒนาเองได้ ในโลกของอินเตอร์เน็ตนั้น เราจะพบเว็บไซต์ธุรกิจที่ ไม่เอาไหนŽ มากมายเกินพอแล้ว อย่าปล่อยให้เว็บไซต์ของคุณเป็นหนึ่งในนั้น ดังนั้นการพัฒนาเว็บไซต์จึงควรจะยอมลงทุนพึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ ยอมเสียเงินเพิ่มอีกนิดหน่อย เพื่อให้ได้ของดีเถอะครับ

เว็บไซต์ที่ดี ไม่ใช่เพียงฝีมือดีไซเนอร์กับโปรแกรมเมอร์
เว็บไซต์ไม่ใช่สักแต่เป็นเพียงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้คุณติดต่อกับลูกค้าภายนอกเท่านั้น และไม่ใช่เน้นที่หน้าตาดูดีเพียงอย่างเดียว แต่เว็บไซต์ในเชิงธุรกิจนั้น เป็นเครื่องมือการตลาดอย่างแท้จริง การพัฒนาเว็บไซต์จึงไม่ควรคำนึงถึงเฉพาะความสวยงามและฟังก์ชั่นของมัน แต่ต้องให้มีผลสูงสุดเชิงการตลาด ดังนั้นหากคุณจะเลือกบริษัทผู้เชี่ยวชาญมาพัฒนาเว็บของคุณแล้วละก็ ควรเลือกบริษัทที่มีประสบการณ์ทางด้านการตลาดบนเว็บด้วย
การตลาดบนอินเตอร์เน็ตนั้นพัฒนาไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน ผู้ที่สามารถรู้เท่าทันเรื่องนี้ จะต้องติดตามและศึกษาอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ไม่ใช่ทำเป็นงานอดิเรกแน่ และจำไว้ว่านักการตลาดทั่วไป ก็คือนักการตลาดทั่วไป นักการตลาดอินเตอร์เน็ต ก็คือนักการตลาดอินเตอร์เน็ต

โปรโมทเว็บไซต์ ไม่ใช่ของถูก
ก่อนอื่นเมื่อเราพัฒนาเว็บไซต์ของบริษัทหรือองค์กรของเราขึ้นมา สิ่งที่เราต้องการเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ Traffic หรือการให้กลุ่มเป้าหมายของเราเข้ามาเยี่ยมชมใช้บริการเว็บของเรา ดังนั้นเราต้องไม่ลืมวางแผนที่จะโปรโมทให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักเว็บของเรา และเข้ามาใช้บริการด้วย เราจะเห็นเว็บไซต์มากมาย (กว่า 80%) ที่เปิดตัวขึ้นมาโดยลืมวางแผนโปรโมทที่ดี หรือโปรโมทน้อยเกินไปจนแทบไม่มีใครรู้จัก บางคนบอกว่าการเปิดเว็บไซต์ก็เหมือนการขอเบอร์โทรศัพท์ใหม่ แต่ไม่ลงเบอร์ไว้ในสมุดโทรศัพท์ (หน้าขาวและหน้าเหลือง) แล้วใครจะติดต่อเราได้ล่ะ
ในยุคนี้การโปรโมทโดยการลงทะเบียนเว็บไซต์ของเราใน Yahoo หรือเซิร์ชเอ็นจิ้นต่างๆ นั้น ไม่เพียงพอเสียแล้ว ตามสถิติบอกว่าเว็นไซต์ที่ประสบความสำเร็จสูงๆ นั้น มีการใช้งบโฆษณาบนสื่อทั่วๆ ไป ไม่ว่าจะเป็น ทางหนังสือพิมพ์ วิทยุ นิตยสาร บัสไซด์ บัสบอดี้ หรือแม้แต่ทางโทรทัศน์ก็ตาม
งบการเปิดเว็บไซต์อาจจะถูกลง เพราะ Host ถูกลง อุปกรณ์การต่อเชื่อมถูกลง บริษัทออกแบบเว็บก็ถูกลงเพราะมีการแข่งขันกันสูง แต่งบโปรโมทเว็บไซต์กลับไม่ใช่ของถูกอีกต่อไป และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนงานโฆษณาที่ดี ไม่อย่างนั้นการเปิดเว็บไซต์ก็เหมือนกับการโยนก้อนกรวดลงไปในเหวใหญ่ ที่ใครก็หาเราไม่เจอ

ร่อน URL ให้ทั่วเลย
URL หรือที่อยู่เว็บไซต์ของเรา ก็เปรียบเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่กลุ่มเป้าหมายจะไขประตูเข้ามาสู่เว็บไซต์ของเรา ดังนั้นพยายามพะ URL ของเราไว้ในทุกที่ที่เราทำได้ ไม่ว่าจะเป็น
บนหน้าโฆษณาของคุณ นามบัตรของคุณ
ที่หัวจดหมาย ซองจดหมาย บนตึกหรือโรงงานของคุณ และในทุกๆ ที่ที่จะทำได้ พร้อมทั้งอย่าลืมลงทะเบียนเว็บไซต์ของเราไว้ในเซิร์ชเอ็นจิ้นทุกๆ แห่งที่เราจะสามารถเสาะหาได้

ใช้โฆษณาบนอินเตอร์เน็ตช่วยเมื่อจำเป็น
อย่าลืมว่าโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นแบนเนอร์ หรืออื่นๆ เป็นได้ทั้งโฆษณา และเครื่องมือการตลาดโดยตรง (Direct Marketing)
ความแตกต่างอยู่ที่ว่า ธุรกิจของเราเป็น B2B หรือ B2B ซึ่งอย่างหลังจะมีความซับซ้อนในการใช้เครื่องมือตัวนี้ช่วย เพราะนอกจากจะมีวัตถุประสงค์ให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการแล้ว จึงมุ่งสร้างสัมพันธภาพในระยะยาวอีกด้วย ข้อดีของโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต คือ มีราคาค่อนข้างถูก และเป็นสื่อโดยตรงที่กลุ่มเป้าหมายจะต้องใช้เพื่อเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ถ้าหากเรารู้ว่ากลุ่มเป้าหมายชอบใช้บริการเว็บไซต์ใดแล้ว เราก็สามารถลงโฆษณาเข้าถึงเขาได้อย่างได้ผล

อย่าลืมทดลองการใช้เว็บไซต์ของเราเอง
เว็บไซต์ที่ดีต้องใช้ง่ายและตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นเราควรทดสอบการใช้งานของมันก่อนที่จะเปิดตัวจริง การทดสอบนี้ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นคนละหน่วยงานกับหน่วยงานที่สร้างสรรค์เว็บไซต์นั้นๆ

หลังเปิดแล้วต้องศึกษาและวิเคราะห์
เราต้องรู้จักผู้เข้าใช้บริการของเว็บไซต์ของเราอย่างดีที่สุด เช่น เขาเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราได้อย่างไร? เข้ามาแล้วทำอะไร? เข้าหน้าไหนออกหน้าไหน? ซึ่งเรื่องนี้ซอฟต์แวร์สถิติจะช่วยเราได้มาก โดยจะเก็บข้อมูลจำนวนผู้เข้าใช้บริการ
เขาเข้าที่หน้าใดบ้าง เขาเข้าสู่เว็บไซต์ของเราผ่านมาทางเซิร์สเอ็นจิ้นไหน และอื่นๆ อีกมาก ถ้าจำเป็นก็ต้องปรับปรุงรูปแบบของเว็บให้ตรงตามพฤติกรรมผู้ใช้

เตรียมพร้อมตอบคำถาม
สุดท้ายเมื่อเปิดเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อย
ก็ต้องเตรียมตัวรับกับ คำถาม คำติ คำชม ข้อสงสัย ซึ่งจะหลั่งไหลเข้ามามากกว่าที่เคยแน่นอน อีเมล์อาจเข้ามาวันหนึ่งเป็นสิบ เป็นร้อย หรือถ้าเว็บเราได้รับความนิยมมาก ก็อาจเป็นพันฉบับก็ได้ บางองค์กรไม่ได้เตรียมรับงานตรงนี้ก็กลายเป็นว่าละเลยลูกค้าที่มีความต้องการทราบข้อมูลบางอย่าง อย่าลืมว่าไม่มีใครอยากถามลมๆ แล้งๆ โดยที่ไม่ได้รับคำตอบ หรือได้รับคำตอบล่าช้าจนไม่ทันการที่จะใช้ เว็บไซต์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจตอบข้อซักถามของผู้เยี่ยมชม ไม่เชื่อก็ลองเข้าไปในเว็บสัก 10 เว็บ และส่งคำถามเข้าไป คาดว่าจะได้รับคำตอบกลับมาไม่ถึงครึ่งเป็นแน่
ความรู้พื้นฐานที่ผู้บริหารควรทราบในการเปิดเว็บไซต์ใหม่ก็เห็นจะมีเพียงแค่นี้ แต่อยากจะบอกว่าทั้งหมดนี้เป็นเพียงอุทาหรณ์หรือข้อพึงระวังที่พบเห็นบ่อยๆ เท่านั้น การสร้างสรรค์เว็บไซต์ที่ดีและประสบความสำเร็จนั้น เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนและต้องอาศัยความละเอียดอ่อนอย่างมาก
หนึ่งปีกันยาสยอง.. กับการพลิกโฉมตลาดอเมริกัน
แม้ว่าเหตุการณ์ก่อการร้ายบันลือโลก 11 กันยา จะครบรอบ 1 ปีไปแล้วก็ตาม แต่ภาพอันสะเทือนใจและสุดสยองนั้น ยังคงติดตาคนทั่วโลกอยู่อย่างไม่จืดจาง แต่ภาพหลอกหลอนเหล่านี้ยังไม่เท่าไร ผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวันและธุรกิจของคนอเมริกันและคนทั่วโลกซิครับ มีผลกระทบที่น่าตกใจกว่ามาก วันนี้เราลองมาวิเคราะห์และสรุปดูว่า เหตุการณ์ 11 กันยา มีผลอย่างไรกับการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะบนอินเตอร์เน็ตของชาวอเมริกันและคนทั่วโลก
ที่จริงแล้ว ว่ากันว่าหลังจากเกิดเหตุการณ์ 11 กันยาแล้ว นับเป็นจุดเปลี่ยนของการตลาดในอเมริกาและในโลกเลยทีเดียว ต้องยอมรับว่า เหตุการณ์อย่างวันที่ 11 กันยานั้น เป็นสิ่งที่สหรัฐอเมริกาไม่เคยเจอมาก่อน เหตุการณ์เดียวที่พอใกล้เคียงที่สุดก็คือ เพิร์ลฮาร์เบอร์ แต่ก็ยังห่างไกลกันมากในแง่ผลกระทบ โดยเฉพาะผลกระทบทางธุรกิจ เพราะนับตั้งแต่นี้เป้าหมายของการโจมตีไม่ใช่เป้าทางการทหารอีกต่อไป แต่เป็นเป้าหมายทางธุรกิจ เป้าหมายแห่งชัยชนะของประเทศอเมริกาเอง ก็ไม่ใช่เป้าหมายทางการทหาร แต่เป็นเป้าหมายที่จะคงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของคนอเมริกันเองให้ปกติสุขอยู่เช่นเดิมให้ได้เท่านั้น ทุกครั้งที่สหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงคราม สมรภูมิก็จะอยู่นอกประเทศทั้งสิ้น คนอเมริกันได้รับรู้สงครามก็แต่เพียงทางโทรทัศน์เท่านั้น แต่สงครามคราวนี้ สมรภูมิอยู่ในบ้านของอเมริกาเอง และคนอเมริกันไม่เพียงรับรู้สงครามทางโทรทัศน์เท่านั้น แต่อาจได้พบเห็นสงครามเพียงแค่เหลือบมองออกไปนอกหน้าต่างเท่านั้น (อย่างเช่น ชาวนิวยอร์กได้ประสบมาแล้วเมื่อ 1 ปีก่อน ผลกระทบคราวนี้จึงใหญ่หลวงนักสำหรับชาวอเมริกัน และจะส่งผลต่อชาวโลกในเวลาต่อไป เมื่อเร็วๆ นี้ มีการสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เปลี่ยนแปลงไปของชาวอเมริกัน พบว่ามีการใช้อินเตอร์เน็ตไปในด้านสร้างมนุษย์สัมพันธ์มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวน 19 ล้านคน (หรือ ราว 17 ของผู้ใช้ทั้งหมด) ได้ใช้อีเมล์ติดต่อสื่อสารกับ ญาติมิตรพี่น้องที่ไม่ได้พบกันมานานปี พฤติกรรมที่มีเพิ่มมากขึ้นอีก 2-3 อย่าง ก็คือ คนอเมริกันมีการใช้อีเมล์กันมากขึ้น มีการค้นหาและอ่านข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น รวมทั้งเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐบาลซึ่งปกติไม่ค่อยมีใครเข้าไป ก็กลับมีคนเข้าเยี่ยมชมกันหนาตามากขึ้น และสุดท้ายก็คือ คนอเมริกันนิยมการบริจาคช่วยเหลือผู้อื่น (โดยผ่านอินเตอร์เน็ต) กันมากขึ้น

สิ่งทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ผู้คนได้ใช้คุณสมบัติเด่นของอินเตอร์เน็ต 2 ประการคือ
1 ความรวดเร็วสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสารและเข้าถึงข้อมูล
2 พลังในการสร้างจิตสัมพันธ์แบบชุมชน(Sense of Community)
หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา มีการใช้ประโยชน์อินเตอร์เน็ตเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้อย่างกว้างขวาง อันแสดงให้เห็นถึงคุณค่าที่ยิ่งใหญ่ของสื่อชนิดนี้อย่างไม่เคยมีมาก่อน เกิดการบูมด้านการค้นหาและเจาะหาข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต และบรรดาห้องสนทนาก็คึกคักด้วยการพูดคุยและ วิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ทางด้านสิทธิเสรีภาพ ชาวลุงแซมก็มีความคิดเห็นที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีถึง 47% ของคนอเมริกันมีทัศนะเห็นดีด้วยที่รัฐบาลจะเข้ามาล้ำความเป็นส่วนตัวด้วยการตรวจสอบอีเมล์และการใช้งานอินเตอร์เน็ตของตน แม้ว่า 47% ยังคงไม่เห็นด้วยก็ตาม ซึ่งหากเป็นเมื่อก่อนหน้าเหตุการณ์ 11 กันยา หัวเด็ดตีนขาดคงไม่ยอมให้มาล่วงล้ำเสรีภาพในแง่นี้แน่ อีกอย่างหนึ่งคือ คนอเมริกันยินยอมให้รัฐบาลปิดข้อมูลเป็นความลับได้มากขึ้น หากรัฐบาลอ้างว่าข้อมูลนั้นจะเป็นประโยชน์กับผู้ก่อ การร้าย อย่างไรก็ตาม การสำรวจล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ ปรากฏว่าผู้ที่เห็นด้วยที่จะให้รัฐบาลตรวจสอบการใช้อินเตอร์เน็ตของตนได้นั้นได้ลดน้อยลงไปเป็นลำดับ คือ เมื่อหลังเหตุการณ์ 11 กันยาใหม่ๆ นั้นมีถึง 63% ที่เห็นชอบให้รัฐตรวจสอบการใช้ห้องแช็ตรูมหรือห้องสนทนาต่างๆ ได้ แต่เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวนนี้ลดเหลือ 55% และล่าสุดในเดือนกันยายน ลดเหลือ 42% เท่านั้น ส่วนผู้ที่เห็นด้วยให้รัฐเข้ามาตรวจสอบอีเมล์และการใช้โทรศัพท์มือถือได้ก็มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกัน คือลดจาก 54% เหลือ 44% และสุดท้าย 32% ตามลำดับ

อันที่จริงประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีอัตราเสี่ยงต่อการก่อการร้ายมากที่สุดประเทศหนึ่ง นอกจากจะเหตุผลที่ว่าเป็นประเทศเปิดและเสรีมาก จนผู้ก่อการร้ายสามารถแทรกซึมได้โดยไม่ยาก อย่างที่เกิดปฏิบัติการจี้เครื่องบินมาชนตึกเวิลด์เทรดได้สำเร็จมาแล้วนั้น ก็ยังมีความเสี่ยงอื่นๆ อาทิ
1 เป็นประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานแบบรวมศูนย์มากที่สุด นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว ประเทศโลกเสรีก็มีการปรับโครงสร้างให้เป็นแบบรวมศูนย์ หรือ Centralization เพราะแนวความคิดเรื่อง Economy of Scale ทำให้รู้ว่าการสร้างโรงงานเหล็กใหญ่ๆ 1 โรงงาน ย่อมสามารถสร้างกำไรได้ดีกว่าการสร้างโรงงานเล็กๆ หลายๆ แห่งเพื่อผลิตเหล็กในปริมาณเท่ากัน จึงเกิดการรวมศูนย์ทั้งในการสร้างโรงงานยักษ์ การสร้างอาคารสำนักงานขนาดมโหฬาร รวมไปถึงชุมชนเองก็ต้องรวมศูนย์ตามไปด้วย ดังนั้นจึงกลายเป็นเป้าใหญ่ในการโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้ง่ายกว่าโครงสร้างแบบกระจายศูนย์
2 ในช่วงสงครามเย็นกับรัสเซียนั้น มีการขมึงทึงของสงครามนิวเคลียร์ ซึ่งการกระทำใดๆ ของประเทศทั้งสองเพื่อการป้องกันตัวเองจากสงครามระเบิดมหาประลัยนั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะถือว่าเป็นการคุกคามทันที เช่น การสร้างอุโมงค์ใต้ดินหลบภัยนิวเคลียร์ หรือการสร้างระบบป้องกันขีปนาวุธ อีกฝ่ายหนึ่งจะถือว่าเป็นการเตรียมตัวเพื่อการโจมตีก่อน ซึ่งฝ่ายนั้นก็ต้องช่วงชิงโจมตีก่อนเช่นกัน ซึ่งทำให้เกิดการเสี่ยงที่จะมีสงครามนิวเคลียร์ ทั้งสองฝ่ายจึงหลีกเลี่ยงการกระทำดังกล่าว และการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นการกระจายศูนย์ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายชุมชน กระจายโรงงานการผลิต หรือระบบสาธารณูปโภค นั้นถือว่าเป็นการคุกคามทางนิวเคลียร์ทันที ทั้งสองประเทศจึงไม่มีใครกล้าปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานให้กระจายตัวออกไป พอมาในปัจจุบันที่สงครามเย็นซาลงไป กลายมาเป็นสงครามกับผู้ก่อการร้าย โครงสร้างของอเมริกาจึงอยู่ในอาการเสี่ยงอย่างยิ่งที่ผู้ก่อการร้ายจะสามารถโจมตีด้วยอาวุธเคมี อาวุธเชื้อโรค หรือแม้แต่อาวุธนิวเคลียร์ ในวันนี้สหรัฐอเมริกาเองหากต้องการชนะสงครามก่อการร้าย จะต้องพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวให้กระจายตัว มากขึ้น โดยเฉพาะระบบสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็นการประปา การไฟฟ้า หรือระบบการคมนาคมต่างๆ สหรัฐอเมริกายังถือว่าขาดการป้องกันตัวจากภัยก่อการร้ายอีกมาก เช่น ตามชุมชนต่างๆ มักไม่มีระบบการตุนน้ำดื่มที่มากพอ หรือตามบ้านเรือนเองก็ไม่มีการเตรียมระบบตุนน้ำที่ดีเลย ตามตึกรามบ้านช่องก็ไม่มีระบบป้องกันการรั่วซึมเข้าภายในของสารเคมีหรือเชื้อโรค ทำให้ผู้คนที่ไม่ว่าจะอยู่บ้านหรือออกไปทำงานที่สถานที่ทำงาน ต่างก็มีอัตราเสี่ยงต่อชีวิตหากเกิดการก่อการร้ายด้วยวิธีดังกล่าว ผ่าน 1 ปี ของเหตุการณ์กันยาสยอง ก็เกิดแนวธุรกิจใหม่ๆ ที่เข้ามาเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ป้องกันตัวจากการก่อการร้ายให้คนอเมริกัน เช่น ระบบสำรองไฟฟ้าเมื่อเกิดกรณีโรงไฟฟ้าถูกจารกรรม หรืออุปกรณ์ป้องกันตัวจาก สารเคมีและเชื้อโรค หรือแม้แต่ระบบปิดผนึกบ้านและอาคารจากการรั่วซึมจากภายนอก พร้อมทั้งระบบกรองอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ภายใน ซึ่งจะจำเป็นมากหากเกิดการก่อการร้ายขึ้นมา แนวธุรกิจเหล่านี้เพิ่งเริ่มต้นขึ้น และมี ผู้คาดการณ์ว่าจะเติบโตขึ้นไปมีขนาดเป็นหมื่นๆ ล้านเหรียญในอนาคตอันใกล้นี้ นับเป็นการ เปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ ยิ่งใหญ่ได้จริง
แนวโน้มใหม่ๆ ในอีคอมเมิร์ซ
วันนี้เรามาดูแนวโน้มล่าสุด และพฤติกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกของอินเตอร์เน็ตกันบ้างดีกว่า เป็นผลจากการวิจัยของค่ายต่างๆ ที่ได้ทำกันเมื่อเร็วๆ นี้ และสะท้อนให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปที่เกิดขึ้นบนโลกของไซเบอร์สเปซวันนี้เรามาดูแนวโน้มล่าสุด และพฤติกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกของอินเตอร์เน็ตกันบ้างดีกว่า เป็นผลจากการวิจัยของค่ายต่างๆ ที่ได้ทำกันเมื่อเร็วๆ นี้ และสะท้อนให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปที่เกิดขึ้นบนโลกของไซเบอร์สเปซ
เรามาเริ่มกันที่การเติบโตของตลาดธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตที่เรียกว่า B2B กันก่อน สำนักวิจัยชื่อ eMarketer สรุปว่าตลาดนี้มีการเติบโตที่ดีอยู่ คือ คาดว่า B2B ทั่วโลกจะเติบโตขึ้นไปมีมูลค่าถึงประมาณ 2.7 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2004 ปัจจุบันธุรกิจ B2B ในทวีปอเมริกาเหนือยังมาแรงที่สุด คือ คิดเป็นมูลค่าถึง 70% ของมูลค่าทั้งหมดที่มีการทำธุรกิจออนไลน์ในโลกใบนี้ แต่แนวโน้มก็คือ ภูมิภาคอื่นกำลังไล่ตามหลังมาอย่างรวดเร็ว และใกล้เข้ามาทุกที โดยในอีกสามปีต่อจากนี้ มูลค่าตลาดของยุโรปจะสูงถึงเกือบ 8 แสนล้านเหรียญ และเอเชียจะตามมาเป็นประมาณ 3 แสนล้านเหรียญ ปัจจุบันธุรกิจยักษ์อย่าง IBM มีการทำธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตสูงถึงปีละ 43,000 ล้านเหรียญ และค่ายโบอิ่ง มีการทำธุรกิจผ่านเว็บไซต์ของตนถึงวันละกว่า 20,000 รายการทีเดียว ค่ายยักษ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ฟอร์ด เยนเนอรัลอิเล็คทริก หรืออีสแมน (โกดัก) ต่างก็ผลักดันให้เครือข่ายของตนที่อยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกหันมาทำธุรกิจผ่านอินเตอร์เน็ตกันอย่างขะมักเขม้นทำให้ตลาด B2B ทั่วโลกพลอยเติบโตไปด้วย

ขณะนี้มีการสำรวจพบว่าธุรกิจในสหรัฐกว่า 78% ได้ทำการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว 81% ทำการซื้อสินค้าโดยตรงจากซัพพลายเออร์ผ่านทางเว็บไซต์ และอีก 35% ซื้อผ่านตลาดแลกเปลี่ยนบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งกำลังเป็นแนวโน้มใหม่ที่บูมมาก โดย AMR วิจัยพบว่าประมาณ 41% ของบริษัทต่างๆ บอกว่าตนจะเข้าร่วมใช้บริการของตลาดกลางแลกเปลี่ยน ซึ่งในขณะนี้มีประมาณ 16% ที่เข้าร่วมอยู่แล้ว

พฤติกรรม B2B
แต่อันที่จริงแล้ว ก็ยังมีบริษัทอีกมากที่ยังไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ตทำธุรกิจ หรือยังมีเพียงเว็บไซต์ง่ายๆ ที่ไม่ได้ช่วยให้เกิดมีการค้าขายอย่างจริงจัง คือ เป็นเพียงสิ่งที่เรียกว่า Brochureware หรือเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลข่าวสารของบริษัทนั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า การจัดสร้างเว็บไซต์เจ๋งๆ ในสหรัฐนั้นต้องใช้เงินมากโขอยู่ ซึ่งในปัจจุบันประมาณกันว่า เว็บดีๆ นั้นจะเสียค่าใช้จ่ายมากถึง 1 ล้านเหรียญต่อเว็บเป็นอย่างต่ำทีเดียว โดยแพงที่ตัวซอฟต์แวร์ และค่าออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ โชคดีที่เมืองไทยเรายังถูกกว่านี้มาก

อย่างไรก็ดี ประโยชน์มหาศาลของ อินเตอร์เน็ตในตลาด B2B นั้นก็คือ ช่วยให้บริษัทสามารถลดต้นทุนของระบบ Supply Chain อย่างเห็นได้ชัด ในหลายกรณี อีคอมเมิร์ซทำให้เราสามารถตัดช่องทางจัดจำหน่ายไปเกือบหมด จนเมื่อเร็วๆ นี้ ค่ายโฮมเดโปในสหรัฐได้ส่งจดหมายเวียนไปยังบรรดาซัพพลายเออร์ของตนว่า หากซัพพลายเออร์รายใดยังขืนทำการขายโดยตรงถึงผู้บริโภคผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว โฮมเดโปอาจพิจารณาหยุดทำธุรกิจกับซัพพลายเออร์รายนั้น
อีกเหตุผลหนึ่งที่ B2B จะต้องมาแรงในอนาคตแน่นอนก็คือ การประหยัดทั้งเงินทั้งเวลาสำหรับทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายขายที่เล็กลง รวมไปถึงการประหยัดกระดาษและแบบฟอร์ม อีกทั้งลดขั้นตอนการเก็บเงินที่เดิมยุ่งยากและเสียเวลาแรงงาน

บริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งในโลก เริ่มที่จะไม่อยากทำธุรกิจกับบริษัทที่ไม่มีระบบอีคอมเมิร์ซ เช่น เมื่อเร็วๆ นี้โรงงานผลิตอิเล็กทรอนิกส์หลายแห่งบอกกับซัพพลายเออร์ของตนว่า หากท่านยังไม่มีระบบอีคอมเมิร์ซในการทำธุรกิจอีกละก็ ท่านอาจถูกตัดออกจากรายชื่อซัพพลายเออร์ของเราไปเลย เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะบรรดาโรงงานเหล่านั้นทราบดีว่าการสร้างและพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซขึ้นมานั้น มีผลทำให้ลดต้นทุนของชิ้นส่วน แต่ก็เป็นขบวนการที่ต้องใช้เวลาพัฒนายาวนาน หากไม่เริ่มเสียเดี๋ยวนี้ก็อาจไม่ทันท่วงที

การทำธุรกิจในระดับโลก ระบบอีคอมเมิร์ซก็จะกลายเป็นมาตรฐานพื้นฐานที่ทุกคนต้องใช้ เช่นเดียวกับที่โทรศัพท์ แฟกซ์ และอีเมล์เคยเป็นมาแล้ว

พฤติกรรมผู้บริโภค
เราหันมาดูพฤติกรรมผู้บริโภคกันบ้าง เพราะผู้บริโภคทั่วโลกใช้บริการอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้นทุกที ไม่ว่าจะเป็นทวีปใดๆ แต่ในสหรัฐอเมริกาก็ยังมีความหนาแน่นสูงสุด การสำรวจล่าสุดพบว่าคนอเมริกันใช้อินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น โดยในปัจจุบันมีจำนวน 61% แล้วที่ใช้อินเตอร์เน็ต เทียบกับ 59% เมื่อสิ้นปี 2001 และมีแฟนประจำที่ใช้อินเตอร์เน็ตทุกวันมากถึง 35.3% มีผู้พึงพอใจในการใช้สื่อนี้ถึง 41.1% แต่กลับมีผู้เชื่อถือในอินเตอร์เน็ตน้อยลง คือ เมื่อปลายปี 2001 มีผู้เชื่อ 41.1% แต่ปัจจุบันมีเพียง 40.1% (ตารางที่ 1) จุดที่ผู้บริโภคไม่เชื่อก็คือ ไม่เชื่อว่าข้อมูลส่วนตัวของเขาจะปลอดภัยนั่นเอง แต่โดยเฉพาะช่วงนี้ เทศกาลของขวัญกำลังใกล้เข้ามา ผู้คนจะมีการจับจ่ายใช้สอยผ่านอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น การสำรวจล่าสุดในสหรัฐพบว่า ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเงินกันสูงขึ้นต่อหัว คือ จำนวนครั้งการซื้อไม่เพิ่มขึ้นเท่าไร แต่จำนวนเงินที่ใช้จ่ายแต่ละครั้งนั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ตารางที่ 2) สำหรับการใช้งานนั้น มีการใช้งานมากขึ้นในกลุ่ม การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าส่วนตัว จาก 18.7 ไปเป็น 19.2% การซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตเพิ่มจาก 2.6 เป็น 2.8% ส่วนที่ตกต่ำลงไปคือ การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารส่วนตัว ตกจาก 39.2 เป็น 36.4% และการเล่นเกมตกจาก 4.1 มาเป็น 4.0% แต่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก แม้แต่ในอเมริกาเอง ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ก็ยังเป็นกลุ่มคน ตลาดบนŽ อยู่ดี ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีกำลังซื้อสูงที่สุด แม้ว่าแนวโน้มระยะยาวตลาดนี้จะกำลังขยายตัวกว้างขวางขึ้นก็ตาม
มาใช้ e-Mail Marketing กันเถอะ
ในยุคที่การแข่งขันสูง การสื่อสารทางการตลาดย่อมเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และกลยุทธ์การสื่อสารที่มาแรงในยุคเศรษฐกิจตกต่ำนี้ เห็นจะไม่มีอะไรเกินกลยุทธ์ อีเมล์ หรือ e-Mail Marketing Campaign เพราะนอกจากจะถูกสตางค์แล้วยังได้ผลและคุ้มค่าเอามากๆ ด้วย
ความจริง e-Mail Marketing ก็คือ กลยุทธ์ไดเร็กต์เมล์ในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง โดยมีจุดที่เหมือนกันดังนี้
1. สามารถส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย ถ้าหากกระบวนการในการเลือกและจัดหาเมลลิ่งลิสต์ถูกต้อง ก็จะเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ตรงเป้าหมาย
2. สามารถทำรูปแบบให้แลดูสวยงามสะดุดตา เหมือนดั่งเช่นไดเร็กต์เมล์ที่สามารถออกแบบให้หวือหวาเตะตาเตะใจผู้รับอีเมล์ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ตัวอักษรเฉยๆ แต่สามารถสร้างด้วยภาษา html ให้มีภาพแสงสีที่สวยงาม และยังสามารถมีฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่เหนือกว่าไดเร็กต์เมล์ธรรมดา
3. ผู้รับสามารถโยนทิ้งได้ทันทีที่ได้รับ เพราะทั้งไดเร็กต์เมล์และอีเมล์ต่างก็มีสิ่งที่เรียกว่า Junk Mail หรือบรรดาเมล์ขยะด้วยกันทั้งสิ้น ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะรำคาญและรู้สึกเสียเวลาที่จะเปิดอ่าน แต่ที่อีเมล์ได้เปรียบกว่าไดเร็กต์เมล์อยู่หลายขุมก็คือ อีเมล์อาจทำหน้าที่แทนเซลส์ สามารถสร้างยอดขายและรายได้ให้ทันที

ในประเทศไทยเรา ตลาดที่สามารถใช้ e-Mail Marketing ได้ดีก็คือ ตลาด B2B กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มนักวิชาการนักการศึกษา

แนวโน้มการใช้กลยุทธ์อีเมล์แทนไดเร็กต์เมล์นั้นเห็นได้ชัดอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกาในปีนี้ จากการสำรวจวิจัยของค่าย Garnet แสดงให้เห็นว่า รายได้จากการโฆษณาด้วยอีเมล์นั้นเพิ่มขึ้นมาเป็น 1.26 พันล้านเหรียญในปีนี้ เปรียบเทียบกับปกลาย ซึ่งอยู่ที่เพียง 948 ล้านเหรียญ และในปี 2005 คาดว่าจะพุ่งขึ้นไปถึง 1.5 พันล้านเหรียญ

ที่จริงแล้ว อัตราการใช้ไดเร็กต์เมล์ในสหรัฐนั้น ได้ถึงจุดที่นิยมสูงสุดมาแล้ว คือเมื่อปีกลายนี้ ในจดหมาย 100 ฉบับที่ชาวอเมริกันได้รับ จะเป็นจดหมายไดเร็กต์เมล์เสีย 65 ฉบับ ซึ่งนับว่าสูงมาก พอมาในปี 2002 นี้อัตราลดลงเหลือ 50 ฉบับ ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นผลมาจากการที่ธุรกิจต่างๆ หันมาใช้กลยุทธ์อีเมล์กันมากขึ้นนั่นเอง

เมื่อผู้บริโภคคุ้นเคยกับการรับส่งอีเมล์กันมากขึ้น คืออีเมล์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเหมือนการรับส่งจดหมาย ผู้บริโภคก็จะยอมรับการโฆษณาทางอีเมล์มากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะเครื่องมือทางการตลาด อีเมล์ถือว่ามีประสิทธิภาพเหนือกว่าไดเร็กต์เมล์ และสามารถวัดผลได้ง่ายกว่าด้วย

ที่สำคัญคือใช้เวลาในการสัมฤทธิผลเร็วกว่า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแคมเปญไดเร็กต์เมล์จะใช้เวลาประมาณ 4 ถึง 6 สัปดาห์ที่จะเสร็จสมบูรณ์ แต่แคมเปญอีเมล์นั้นใช้เวลาเพียง 7 ถึง 10 วันทำงานเท่านั้น อีเมล์มีความได้เปรียบอีกอย่างในเรื่องของความรวดเร็วในการตอบกลับของผู้รับ โดยเฉลี่ยแล้วไดเร็กต์เมล์จะมีการตอบรับอยู่ภายใน 3 ถึง 6 อาทิตย์ แต่อีเมล์เฉลี่ยอยู่ที่ 3 วันเท่านั้นเอง

นักการตลาดยุคใหม่สนุกกับการใช้อินเตอร์ เน็ตให้เป็นประโยชน์สูงสุด ภายในสองสามวันที่เริ่ม Launch แคมเปญอีเมล์ เราก็เริ่มวัดผลได้ทันที เรียกว่ารู้ผลทันใจวัยรุ่น และเราสามารถประเมินผลและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ทันที สรุปแล้วระยะเวลาตั้งแต่เริ่มจนจบแคมเปญสั้นกว่าการใช้ไดเร็กต์เมล์ถึง 1 ใน 10 ที่เหนืออื่นใดก็คือ แคมเปญอีเมล์นั้นใช้ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าไดเร็กต์เมล์มาก การสำรวจในสหรัฐอเมริการะบุว่า Cost Per Thousand หรือค่าใช้จ่ายต่อหนึ่งพันหัวของอีเมล์นั้นตกอยู่ที่ 5-7 เหรียญ ในขณะที่ไดเร็กต์เมล์มีเสียค่าใช้จ่ายถึง 500-700 เหรียญต่อพันหัวทีเดียว
นอกจากนั้นสาเหตุที่ทำให้อีเมล์เริ่มเป็นที่นิยมแซงโค้งไดเร็กต์เมล์นั้น คือ อีเมล์สามารถสร้างยอดขายหรือรายได้ให้บริษัทได้ทันทีที่เริ่มแคมเปญ อีเมล์ยุคใหม่ไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงตัวอักษรแห้งๆ อีกต่อไป แต่สามารถสร้างเป็นเพจที่มีหน้าตาสีสัน และมีลูกเล่นได้ไม่แพ้เว็บเพจเลย สามารถมีคุณสมบัติ Interactive ได้เช่นเดียวกันเว็บเพจ สามารถมีจุดลิงค์ไปยัง เว็บไซต์ของบริษัทหรือที่อื่นๆ ได้เลย ทำให้เกิดความสะดวกสบายกับผู้รับ และเป็นการสร้างโอกาสขายสินค้าได้ทันที

แต่ข้อพึงระวังของการใช้อีเมล์ก็มี อันดับแรกคือ อย่าส่งอีเมล์ไปยังผู้ที่ไม่ปรารถนาที่จะได้รับอีเมล์ของเรา พูดง่ายๆ ก็คือต้องมีการขออนุญาตไม่ทางใดก็ทางหนึ่งก่อนส่งเสมอ จำไว้ว่าผู้รับต้องยินดีที่จะรับอีเมล์ของเรา ไม่อย่างนั้นอัตราการตอบกลับจะต่ำมาก อย่างเช่นในเว็บไซต์บางแห่งจะมีการให้สมัครสมาชิก และถามว่ายินดีจะรับเมล์ของบุคคลที่สามหรือไม่ อีเมล์ชนิดนี้เรียกกันว่า Permission-based e-Mail หรือเป็นอีเมล์ที่ได้รับการอนุญาตแล้ว ซึ่งผลการสำรวจในสหรัฐพบว่า อีเมล์ชนิดนี้ได้ผลในแง่ของการตอบกลับสูงมาก โดยหากเป็นไดเร็กต์เมล์ธรรมดาจะมีเรตการตอบกลับอยู่ที่เพียงประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งก็เท่าๆ กับเรตของอีเมล์ธรรมดาเช่นกัน แต่หากเป็น Permission-based แล้วอัตราดังกล่าวพุ่งขึ้นถึงระหว่าง 6-8 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว

ผลสำรวจคนอเมริกันพบว่า 70% ของผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเปิดอีเมล์แบบ Permission-based ส่วนผู้หญิงนิยมอีเมล์ที่ประเภทลดแลกแจกแถม โดย 64% บอกว่ามีแนวโน้มที่จะเปิดอีเมล์แบบนี้ที่ไม่ควรลืมอีกอย่างคือ ในอีเมล์ของเราต้องมีที่ๆ ให้ผู้สามารถบอกยกเลิกการรับได้เมื่อเขาไม่ต้องการรับข่าวสารจากเราแล้ว และในกรณีของอีเมล์ที่ส่งประจำ ไม่ควรจะส่งถึงผู้บริโภคคนเดียวกันเกินกว่า 2 ฉบับต่อวัน หรือ 3 ฉบับต่อเดือนสำหรับ B2B

ขอควรระวังอีกข้อคือ e-Mail address ที่เราได้มาต้องใหม่ เพราะ Mailing list ของอีเมล์นั้นล้าสมัยเร็วมาก คนทั่วไปจะเปลี่ยน e-Mail address กันค่อนข้างบ่อย จากการาสำรวจพบว่าภายใน 6 เดือนมีการเปลี่ยนกันกว่า 25% ทีเดียว ดังนั้นการทำงานกับอีเมล์แคมเปญจะต้องมีการ อัพเดทกันตลอดเวลา

สถิติล่าสุดในสหรัฐบอกว่า มีผู้ใช้อีเมล์มากถึง 65% ที่มีการสั่งซื้อสินค้าทางอินเตอร์เน็ตหลังจากที่ได้รับอีเมล์แล้ว และมีถึง 59% ที่ออกไปซื้อสินค้าจริงๆ(ไม่ได้สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต) โดยเป็นผลมาจากการที่ได้รับอีเมล์ เปรียบเทียบกับ 39% ที่ซื้อจากการได้รับไดเร็กต์เมล์หรือแคตตาล็อก

e-Mail Marketing จึงเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจมาก เด่นด้วยคุณสมบัติ ถูก เร็ว และดี ข้อสำคัญคือควรใช้อีเมล์แบบ Permission-based เป็นหลัก และไม่ควรทำตัวเป็น spam เสียเอง เพราะสิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้อีเมล์เกลียดที่สุดก็คือ Spam mail นี้แหล่ะครับ

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

babykop

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ละเอียดดี
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

AZURA3232

ว่าแต่ เน็ทเมืองไทยมันฝากชะตาชีวิตไว้ด้วยไม่ได้เลยนะ ขอบอก 
สิบโมงเช้า จะเทรดหุ้นซะหน่อย  ติดๆ ดับๆ อยู่นั่นแหละ  โทรไปแจ้งหลายหนก็ไม่คืบหน้าเลย เฮ้อ  wq l.jkljh
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

ZOIDS

ขอบคุณสำหรับ  ;kljj

สำหรับการแบ่งปันเรื่องดี ๆ
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions

shane

ขอบคุณครับ เหมาะสำหรับผู้บริหารอย่างผมมาก ::)
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions