เบนนิโต มุสโสลินี ผู้สถาปนาลัทธิ ฟาสซิสม์

เบนนิโต มุสโสลินี ผู้สถาปนาลัทธิ ฟาสซิสม์

เริ่มโดย etatae333, 01 กุมภาพันธ์ 2014, 10:56:58

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

etatae333

เบนนิโต มุสโสลินี ผู้สถาปนาลัทธิ ฟาสซิสม์



เบนนิโต  มุสโสลินี ( Benito  Mussolini ) เกิดเมื่อ  ค.ศ. 1833 ณ ตำบลโรมาญญา ( Romagna ) ในอิตาลีตอนกลาง 
บิดาของเขาเป็นนักสังคมนิยมหัวรุนแรงมีอาชีพเป็นช่างถลุงเหล็ก  มาดาเป็นครูใหญ่  ตัวมุสโสลินีหัวสังคมนิยมมาตั้งแต่เด็ก ๆ
เมื่ออายุได้ 18 ปี มุสโสลินีเดินทางไปสวิตเซอร์แลนด์เพื่อหนีการถูกเกณฑ์ทหาร   ได้เข้ายุยงกรรมกรอิตาเลียนที่อาศัย
ในสวิตเซอร์แลนด์ก่อความวุ่นวายในช่วง  ค.ศ. 1902 – 1904 และในออสเตรีย ค.ศ. 1909 ทำให้ถูกตำรวจขับไล่ออกนอกประเทศ 
หลังจากนั้นมุสโสลินีจึงกลับอิตาลีถูกขังคุก เนื่องจากคัดค้านสงครามระหว่างอิตาลีกับตุรกี  เรื่องดินแดนทริโปลีใน  ค.ศ. 1911 ค.ศ. 1912 
มุสโสลินีเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์แนวสังคมนิยมที่มีชื่อเสียงของอิตาลี ชื่ออวันตี ( The Aventi )


เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ มุสโสลีนีคัดค้านการที่อิตาลีจะเข้าร่วมสงคราม  เพราะเขาต้องการให้อิตาลีวางตัวเป็นกลาง 
เมื่อพรรคสังคมนิยมไม่เห็นด้วยกับเขา  เขาจึงลาออกจากการเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อวันตี หลังจากนี้เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1914
เขาตั้งหนังสือพิมพ์เอง ชื่อ The People of Milan ( ll Popolo d' Italia ) ในมิลาน ตอนนี้เองที่ความคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนจาก
นโยบายยึดความเป็นกลาง  เป็นการสนับสนุนให้อิตลีเข้าร่วมสงครามเข้าข้างฝ่านสัมพันธมิตร  เพราะเข้าเห็นว่าเป็นทางเดียวที่อิตาลี
จะได้ดินแดนต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ทำให้เขาถูกพรรคสังคมนิยมขับไล่ออกจากพรรค

ค.ศ. 1915 เมื่ออิตาลีเข้าร่วมสงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับสัมพันธมิตรมุสโสลินีอาสาสมัครไปรบจนได้รับบาดเจ็บอย่างหนักใน ค.ศ. 1917
ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่หลายเดือน  เมื่อออกจากโรงพยาบาลเขาก็เข้าเป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อีก เริ่มเผยแพร่แนวความคิด
แบบปฏิวัติและชาตินิยมอย่างแรงกล้า



เมื่อสงครามสงบท่ามกลางภาวะบ้านเมืองที่ประสบปัญหาหลายด้าน ค.ศ. 1919 มุสโสลินีได้ก่อตั้งพรรค Fasci di combattimento
ต่อมาชื่อว่าพรรคฟาสซิสต์ ( Fascism ) เป็นคณะเชิ้ตดำมีรูปมัดหวายกับขวานเป็นเครื่องหมายประจำคณะ  แสดงถึงความสามัคคีและความเข็มแข็ง
ดังนั้นความหมายของฟาสซิสต์  คือ สามัคคีคือพลัง  ตัวมุสโสลินีเป็นหัวหน้ามีวัตถุประสงค์ต้องการสถาปนาความรุ่งเรืองของประเทศ 
และช่วยประเทศชาติให้รอดพ้นจากภัยของลัทธิคอมมิวนิสต์


หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศต้องเผชิญกับปัญหาด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรง  การเมืองแตกแยกทางด้านเศรษฐกิจ
ต้องเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อ  คนว่างงานสูงเนื่องจากเจ้าของกิจการไม่มีเงินทุนหมุนเวียน  การเกษตรกรรมไม่ได้ผล  เกิดโจรผู้ร้ายชุกชุม
ชีวิตของประชาชนขาดความมั่งคง ระยะเวลาระหว่าง ค.ศ. 1919 – 1922 ต้องเปลี่ยนรัฐบาลถึง 5 ชุด ก่อนที่มุสโสลินีจะเข้ามาบริหาร 
รัฐบาลซึ่งมีนายลุยจิ  แฟกตา ( Luigi Facta ) เป็นนายกรัฐมนตรีไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ได้ กลุ่มการเมืองต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นพวกสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์  ต่อต้านรัฐบาลก่อความไม่สงบขึ้นโดยใช้วิธีการที่รุนแรง  สภาวะเช่นนี้ทำให้ประชาชนรู้สึก
เบื่อหน่ายต่อสภาพวุ่นวายของบ้านเมือง  ประชาชนเห็นความจำเป็นต้องมีรัฐบาลที่เข้มแข็งมาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และพร้อมจะให้ความ
สนับสนุนพรรคการเมืองที่สามารถมาบริหารประเทศ 

ในช่วงจังหวะนี้เองที่พรรคฟาสซิสต์มีนโยบายต่อต้านสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์รวมไปถึงขบวนการฝ่ายซ้ายทั้งหมด แต่พยายามเป็นไมตรี
กับกษัตริย์และสถาบันศาสนา  พรรคใหม่นี้จึงเป็นทางเลือกที่เป็นความหวังให้กับประชาชนเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้พรรคฟาสซิสต์ 
ของมุสโสลินีได้รับความนิยมจากประชาชน ทำให้มุสโสลินีเตรียมนำทัพเข้ากรุงโรม เพื่อยึดอำนาจการปกครอง นายกรัฐมนตรีลุยจิแฟคตา 
ได้เสนอให้พระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 3 ประกาศใช้กฎอัยการศึก  แต่พระองค์ปฏิเสธที่จะลงพระปรมาภิไธย  วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1922
พระเจ้าวิคเตอร์เอมมานูเอลที่ 3  ได้ทรงโทรเลขเรียกมุสโสลินีจากมิลานให้เดินทางสู่กรุงโรมเพื่อจัดตั้งรัฐบาล  มุสโสลินีเดินทางมาถึง
ในวันรุ่งขั้นคือวันที่ 30 ตุลาคม จัดตั้งรัฐบาลผสม คณะรัฐมนตรีมีรัฐมนตรีทั้งหมด 14 คน  เป็นรัฐมนตรีสังกัดพรรคฟาสซิสต์เพียง 4 คน 
มุสโสลินีได้เป็นนายกรัฐมนตรี  รัฐสภาออกเสียงให้รัฐบาลใหม่มีอำนาจเต็ม 1 ปี เพื่อรักษาความสงบ



เผด็จการฟาสซิสต์ ( The  Fascist Dictatorship )



เนื่องจากมุสโสลินีไม่เห็นด้วยกับการปกครองแบบประชาธิปไตย เขาเห็นว่าระบบนี้มีแต่การโต้เถียง 
ซึ่งนำไปสู่ความแตกแยก เป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพย์สินผลสุดท้ายไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ เมื่อได้อำนาจมุสโสลินี
ได้นำความคิดแบบเผด็จการมาใช้เริ่มจากการใช้โอกาสที่ได้อำนาจเต็ม  1  ปี  เพื่อจัดการบ้านเมืองให้กลับสู่ความเรียบร้อยนี้
ค่อย ๆ สถาปนาอำนาจการปกครองในรูปแบบเผด็จการ โดยดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยใช้อำนาจแต่งตั้งคนของตนเข้าไปนั่งในสภา
เพื่อเป็นเสียงสนับสนุนกับมุสโสลินีซึ่งเป็นวิธีการที่มุสโสลินีจะควบคุมสภาได้  มุสโสลินีจะเป็นผู้เรียกประชุมเอง กำหนดระเบียนวาระการประชุม
ยิ่งกว่านั้นมุสโสลินีเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกสภาสูงมีผลให้รัฐสภาให้อำนาจแก่มุสโสลินีในการออกกฎหมาย แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีและปลดออก
มุสโสลินียังรับผิดชอบต่อกษัตริย์พระองค์เดียว ยังคุมอำนาจทางศาลด้วย  ทำให้เขาสามารถเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งใหม่ 
เพื่อปูทางให้พรรคฟาสซิตส์ได้เสียงส่วนมากในสภาผู้แทน  ขั้นต่อมาคือทำลายพรรคการเมืองอื่น ๆ ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ
การลักพาตัวหรือฆาตกรรม  เช่น  ( Giacomo Matteotti ) ออกหนังสือชื่อ The Fascist Expored  โจมตีรัฐบาล


การคอร์ปชั่นของคณะรัฐมนตรี  วันที่ 10 มิถุนายน  ค.ศ. 1942  นายมัตเตโอติ ถูกลักตัวไปฆ่าและมีผู้พบศพของเขาในเวลาต่อมา  ในป่าแห่งหนึ่ง หลังจากนั้น
มุสโสลินีถือโอกาสเข้ามาเป็นผู้รักษากฎหมาย  และความสงบเรียนร้อยของประเทศด้วยตนเอง  ปรากฏว่าการหาตัวคนร้ายล้าช้ามาก
จนกระทั่งเดือน  มีนาคม ค.ศ. 1926  ไม่อาจจับตัวคนร้ายได้




พวกตัวแทนฝ่ายค้านไม่พอใจ ถอนตัวออกจากสภาและประกาศว่าจะไม่กลับมาจนกว่ารัฐบาลจะหาตัวฆาตกรนายมัตเตโอดิได้  และรัฐสภาต้องแสดง
ให้ประชาชนเห็นว่าเป็นผู้บริสุทธิ์  มุสโสลินีกลับดำเนินนโยบายเข้าควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด  ห้ามการชุมชุม  และใน ค.ศ. 1926 
เขาประกาศให้ที่นั่งของตัวแทนฝ่ายค้านที่ไม่กลับมาเป็นโมฆะ  มุสโสลินีดำเนินการแข็งกร้าว  รัฐบาลตั้งกองตำรวจลับ OVRA ทั้งในและนอกเครื่องแบบ
คอยจับกุมผู้ที่มีความเห็นขัดแย้งกับอุดมการณ์ของผู้นำปราบปรามผู้ที่คัดค้านรัฐบาล  ผู้ที่ต่อต้านหรือคัดค้านรัฐบาลจะถูกจับและเนรเทศ 
ในปีเดียวกันออกกฎหมายยกเลิกพรรคการเมืองต่าง ๆ  ทั้งหมดรวมไปถึงสมาคมลับต่าง ๆ ถูกยกเลิกหมด  มีการตั้งศาลพิเศษขั้นพิจารณา
ลงโทษทางการเมือง  ทำให้เหลือพรรคฟาสซิสต์เพียงพรรคเดียวที่ถูกต้องตามกฎหมาย 

ดังนั้นระบบการเลือกตั้งของอิตาลีจึงเปลี่ยนไปเนื่องจากมีเพียงพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ผู้ออกเสียงจึงลงคะแนนเพียง รับ หรือ ไม่รับ  เท่านั้น 
รัฐบาลมุสโสลินีนั้น  คณะทหารมีอำนาจสูงสุด  ตัวมุสโสลินีจะดำรงตำแหน่งผู้นำของพรรค ( Duce ) และตำแหน่งผู้นำของรัฐ (Chief Of state)
มีการจัดตั้งกองทัพ ( Militia ) ประกอบด้วยทหาร 200,000 คน ที่จงรักภัคดีต่อมุสโสลินีโดยตรง



ลักษณะของลัทธิฟาสซิสต์



1. เป็นการปกครองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ( Totalitarianism ) รัฐมีอำนาจสูงสุดรัฐเท่านั้นที่เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง   ควบคุมทุกชีวิตเพื่อก่อตั้งรัฐเบ็ดเสร็จ
รัฐมีหน้าที่วินิจฉัยว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก  คำว่า "ถูก" ดูที่ผลประโยชน์ต่อรัฐเป็นสิ่งสำคัญ  การจะเป็นรัฐเบ็ดเสร็จได้ต้องให้อำนาจอย่างสูงสุดกับผู้นำ 
ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามและเชื่อฟังผู้นำทุกอย่างโดยไม่มีข้อโต้แย้งประชาชนจะผูกพันกับผู้นำอย่างแน่นแฟ้น  เพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ดังคำขวัญ " จงเชื่อ  จงปฏิบัติตาม  จงต่อสู้ "

2. มีลักษณะชาตินิยมจัด (Ultra-nationalism) โดยยกย่องความยิ่งใหญ่ของประเทศสนับสนุนกการแสวงหาจักรวรรดินิยมในการสร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ 
เน้นถึงอำนาจทหารนิยมเป็นเครื่องแสดงออกถึงพละกำลัง โดยอำนาจทหารที่เข้มแข็งจะเป็นฐานในการทำสงครามเพื่อบรรจุถึงจุดหมายสำคัญ
คือการได้ปกครองโลก  เท่ากับเป็นการตอกย้ำกฎเหล็กแห่งธรรมชาติว่าผู้เข้มแข็งอยู่เหนือผู้อ่อนแอ ชาติที่เข็มแข็งจะได้ครองโลก

3. ต่อต้านประชาธิปไตยฟาสซิสต์ ถือว่าการปกครองแบบประชาธิปไตยที่เน้นในเสรีภาพส่วนบุคคล  และระบบที่มีพรรคการเมืองหลายพรรค
เป็นการปกครองที่อ่อนแอไร้ประสิทธิภาพไม่สามารถทำให้ประเทศยิ่งใหญ่ได้  ในความเป็นจริงแล้วในทัศนะของฟาสซิสต์บุคคลควรจะต้องเสียสละ
เสรีภาพส่วนบุคคลเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ  นอกจากต่อต้านประชาธิปไตยฟาแล้วฟาสซิสต์ยังต่อต้านสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์   
เพราะเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมก็คือเป้าหมายของพวกคอมมิวนิสต์นั้นเอง  ฟาสซิสต์ประณามหลักการของมาร์กซ์ที่ต่อต้านชาตินิยม


ด้านการศึกษา



แก้ปัญหาคนไม่รู้หนังสือให้เหลือน้อยที่สุด ออกกฎหมายบังคับให้เด็กเข้าโรงเรียนเปิดโรงเรียนมากขึ้นรองรับการศึกษาภาคบังคับ  อบรมครู 
รัฐบาลได้สอดแทรกการโฆษณาชวนเชื่อในลัทธิฟาสซิสต์เข้าไปในหนังสือเรียนทุกระดับ  จนถึงระดับมหาวิทยาลัย  ครูอาจารย์ต้องสอนให้เด็ก
เลื่อมใสในลัทธิฟาสซิสต์และชาตินิยม  โดยเน้นย้ำให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของชาติอิตาลีตั้งแต่ในยุคโบราณ  ปลุกใจให้คนรักชาติเพื่อสร้าง
ความยิ่งใหญ่ในอนาคต


ด้านการทหาร

รัฐบาลเพิ่มกำลังกองทัพบกเรือและอากาศ เพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นการเตรียมพร้อมที่จะทำสงคราม  และจัดให้มีการแสดงพลังของทหาร
และฝึกการใช้อาวุธทันสมัยอยู่เสมอเพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของกองทัพ  สร้างความมั่นใจให้กับทหารเพื่อเป็นรากฐานในการที่จะดำเนินนโยบาย
ขยายอาณานิคมต่อไป


นโยบายต่างประเทศ

มุสโสลินีมีนโยบายแผ่อิทธิพลในท้องทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อแสดงให้ชาวโลกเห็นว่าตัวเข้าเป็นทายาทของซีซาร์ ต้องการให้อิตาลี
เป็นเจ้าแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  แสวงหาอาณานิคมในแอฟริกา  ขยายอำนาจไปสู่บริเวณทะเลอาเดรียติก

การรุกทางทหาร



ในไม่ช้า  มุสโสลินีได้เปลี่ยนโยบายต่างประเทศจากการต่อต้านจักรวรรดินิยมแบบสันตินิยม  ที่นำเขาขึ้นมาสู่ตำแหน่งอำนาจ  มาสู่รูปการ
ของชาตินิยมที่ก้าวร้าวสุดขั้ว ตัวอย่างเบื่องต้นของนโยบายใหม่นี้ก็คือการระดมยิงกอร์ฟู (Corfu: เกาะของกรีซแห่งหนึ่ง ในทะเลไอโอเนียน) 

ในปี ค.ศ. 1923 ไม่นานหลังจากนั้น  เขาก็ประสบความสำเร็จในการสร้างระบบการปกครองหุ่นเชิดในแอลเบเนีย  และสร้างเสริมอำนาจของอิตาลี
ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นอย่างไร้ความปรานีในลีเบียซึ่งเป็นอาณานิคมแบบหลวม ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912  ความฝันของเขาก็คือการให้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
เป็น "มาเร  นอสตรุม-(ทะเลของเรา)"  และสร้างฐานทัพเรือขนาดใหญ่บนเกาะเลรอสของกรีซ  เพื่อสร้างกำลังในการยึดทางยุทธวิธี
เหนือทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก

ปี ค.ศ. 1935 ในที่ประชุมสเตรสา  เขาช่วยสร้างแนวต่อต้านฮิทเลอร์เพื่อปกป้องอิสรภาพของออสเตรีย  แต่สงครามที่ประสบชัยชนะของเขา
เหนือแอเบอลิเนีย(เอธิโอเปีย) ในปีค.ศ. 1935 -1936 ถูกสันนิบาตชาติคัดค้าน และจากการณ์นี้ทำให้ฮิทเลอร์หันมาสร้างพันธมิตรกับอิตาลีฟาสซิสต์
การรุกรานเอธิโอเปียบรรลุผลอย่างรวดเร็ว (การประกาศสถาปนาจักรวรรดิมีขึ้นในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1936 ) และพัวพันกับทารุณกรรมหลายครั้ง
หลายครา  อาทิ การใช้อาวุธเคมี-มัสเทิร์ด  แก๊สหรือแก๊สพิษร้ายแรงและฟาสจีน  และการสังหารประชาชนท้องถิ่นจำนวนมากอย่างไม่จำแนกแยกแยะ
เพียงเพื่อป้องกันการต่อต้าน

กองทัพจัดวางคลังสรรพาวุธอันประกอบด้วยลูกระเบิดมือและลูกระเบิดที่บรรจุมัสเทิร์ด  แก๊สซึ่งถูกทิ้งลงจากเครื่องบิน  สารนี้ยังถูกฉีดโดยตรง
จากข้างบนเช่นเดียวกับ "ยาฆ่าแมลง" ใส่นักรบและหมู่บ้านของศัตรู  มุสโสลินีเองที่มีอำนาจเด็ดขาดในการสั่งให้ใช้อาวุธเช่นนี้  มุสโสลินีกับแม่ทัพ
นายกกองต่างพยายามปกปิดยุทธการ  การสงครามเคมีเป็นความลับสุดยอด  แต่อาชญากรรมของกองทัพฟาสซิสต์ถูกเปิดเผยต่อชาวโลกจาการ
กล่าวโทษของกาชาดสากล และผู้สังเกตการณ์ชาวต่างประเทศจำนวนมาก 


ปฏิกิริยาของอิตาลีต่อการเปิดเผยเหล่านี้สำแดงออกมาในรูปการของการระดมยิง "ผิดพลาด " เข้าใส่เต็นท์ของกาชาดซึ่งตั้งในพื้นที่ค่ายทหาร
ฝ่ายต่อต้านของเอธิโอเปีย  คำสั่งของมุสโสลินีในเรื่องประชากรเอธิโอเปียนั้นปรากฏชัดเจนอย่างยิ่ง :

"โรม, 5มิถุนายน 1936 A.S.E. กราซีอานี.  กบฏทุกคนที่ถูกจับเป็นเชลยต้องถูกฆ่า "

"โรม 8กรกฎาคม 1936 A.S.E. กราซีอานี ข้าพเจ้าให้อำนาจอีกครั้งแก่ วี.อี. ในการเริ่มและดำเนินการเมืองอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการคุกคาม
และการจำกัดกบฏและประชากรผู้สมรู้ร่วมคิด  หากปราศจากการเคลื่อนที่เร็ว  ก็ไม่อาจรักษาการติดเชื้อได้ทันเวลา  รอการยืนยัน มุสโสลินี "


ส่วนที่เด่นชัดของการกดขี่ที่อิตาลีดำเนินการ  นอกเหนือจากการใช้ระเบิดที่บรรจุมัสเทิร์ด  แก๊สหรือแก๊สพิษร้ายแรงแล้ว  ยังมีการตั้งค่ายแรงงาน
บังคับกับตั้งกะแลงแกงหรือที่แขวนคอประหารสาธารณะ  ฆ่าตัวประกัน และหั่นศพศัทรู กราซีอานีสั่งให้กำจัดนักรบจรยุทธที่ถูกจับ  โดยการ
โยนลงจากเครื่องบินขณะที่บินอยู่กลางอากาศ  ทหารอิตาเลียนหลายคนได้ถ่ายภาพตนเองคู่กับซากศพที่แขวนจากตะแลงแกงหรือแขวนอยู่รอบหีบ
ที่เต็มไปด้วยศีรษะที่ถูกตัด  เหตุการณ์หนึ่งในการยึดครองเอธิโอเปียของอิตาลีก็คือการสังหารหมู่แอสดิส  อาบาบา ( เมืองหลวงเอธิโอเปีย )
เดือนกุมภาพันธ์ 1937  ซึ่งเกิดขึ้นหลังความพยายามลอบสังหารกราซีอานี  ในระหว่างพิธีอย่างเป็นทางการมีระเบิดลูกหนึ่งระเบิดขึ้นติดกับ
นายพลคนนี้  การโต้ตอบอุบัติขึ้นโดยฉับพลันและอย่างโหดร้ายทารุณ  ชาวเอธิโอเปียที่อยู่ในงานจำนวนสามสิบคนหรือกว่านั้นถูกแทงทะลุ
ด้วยดาบปลายปืนโดยทันที  หลังจากพลพรรคเชิ๊ตดำแห่งกองกำลังอาสาสมัครฟาสซิสต์ทะลักออกมาเต็มท้องถนนของเมืองแอดดิส   อาบาบา 
ที่ที่พวกเขาทรมานและเข่นฆ่าเรียบทั้งผู้ชาย  ผู้หญิง  กระทั่งเด็กซึ่งพวกเขาพบเห็นในเส้นทางผ่าน  นอกจากนั้นยังระดมยิงอาคารบ้านเรือน
เพื่อป้องกันมิให้ผู้อยู่อาศัยหลบหนีแล้วกวาดต้อนมารวมกันเพื่อสังหารหมู่กลุ่มละ 50- 100 คน

อักษะแห่งเลือดกับเหล็กกล้า



คำว่า "มหาอำนาจอักษะ" (Axis Power)  นั้นบัญญัติโดยมุสโสลินี  เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1936 เมื่อขากล่าวถึงอักษะโรม-เบอร์ลิน
เพื่อกล่าวอ้างถึงสนธิสัญญามิตรภาพที่ลงนามระหว่างอิตาลีกับเยอรมนี  เมื่อ 25 ตุลาคม  1936 "อักษะ" ของเขากับเยอรมนีได้รับการตอกย้ำยืนยัน 
เมื่อเขาทำสนธิสัญญาอีกฉบับหนึ่งกับเยอรมนีนาซีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1939  มุสโสลินีได้สาธยายสัมพันธภาพกับเยอรมนีฉบับนี้ว่าเป็น
"กติกาสัญญาเหล็ก" (Pact of Steel)  เช่นกับที่เขากล่าวอ้างสัญญาฉบับก่อนว่าเป็น "กติกาสัญญาเลือด" (Pact of Blood)
               
เป็นที่ชัดแจ้งว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหรือคู่กติสัญญาชั้นรองอย่างมุสโสลินีย่อมเดินตามนาซี  ทั้งยังต้องยอมรับนโยบายทางเชื้อชาติ  ซึ่งนำไปสู่การ
เบียดบีฑาชาวยิวหรือจูว์  และการสร้างการแยกผิวในจักรวรรดิอิตาลี  ก่อนหน้านี้  ชาวยิวไม่ถูกรัฐบาลมุสโสลินีเบียดบีฑาเป็นการเฉพาะทั้งยัง
ได้รับตำแหน่งสมาชิกระดับสูงของพรรคฟาสซิสต์อีกด้วย  ทั้งที่มีการเบียดบีฑาก็ตาม  ทว่ารัฐบาลของมุสโสลินีเองก็ยังปกป้องชาวยิว
อย่างแข็งขันควบคู่ไปด้วย 

สมาชิกกลุ่มต่อต้านฟาสซิสต์ของชาวสโลวีเนียน  วางแผนสังหารมุสโสลินีที่เมืองโคบาริดในปี 1938  แต่ไม่ประสบความสำเร็จ 
ห้วงนี้มีคำพูดที่อุโฆษของมุสโสลินีที่ถูกนำมาอ้างอยู่ชุดหนึ่ง ก็คือ

"หากข้าพเจ้าบุก  จงตามข้าพเจ้าไป หากข้าพเจ้าถอยจงฆ่าข้าพเจ้าเสีย หากข้าพเจ้าถอย  จงฆ่าข้าพเจ้าเสีย หากข้าพเจ้าตายจงแก้แค้นให้ข้าพเจ้าด้วย "

จริงๆแล้ว มุสโสลินีเองก็มิได้เห็นดีเห็นงามไปตามนโยบายของฮิตเลอร์ไปเสียทั้งหมด  และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1938 มุสโสลีนีได้เสนอแนะ
เป็นการส่วนตัวว่า  วาติกนควรพิจารณาตัดอาดอล์ฟ  ฮิทเลอร์ให้ขาดจากศาสนาโดยเร่งด่วน  จนกระทั่งทุกวันนี้  ก็ยังมิปรากฏชัดว่าคริสตจักรโรมัน
แคเธอลิคได้มีการพิจารณาตัดขาดจากศาสนาในกรณีของอิทเลอร์นั้น  เป็นการตัดสินที่มีเหตุผลเพียงใดหรือไม่


สงครามโลกครั้งที่ 2

ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II : การสู้รบที่เกิดจากความขัดแย้งทั่งโลกระหว่างมหาอำนาจพันธมิตรกับมหาอำนาจอักษะ 
ตั้งแต่ปี 1939 จนถึงปี1945 สงครามครั้งนั้นยุติลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายพันธมิตร)  ใกล้อุบัติ  มุสโสลินีประกาศเจตนาอันชัดแจ้งของเขา
ในการผนวกดินแดนของมอลตา, กอร์สีกา  และตูนิส  ขณะเดียวกันเขาก็พูดถึงการสร้าง "จักรวรรดิโรมันใหม่" หรือ "จักรวรรดิอิตาลี" 
ที่จะแผ่อาณาเขตด้านตะวันออกไปถึงปาเลสไตน์และด้านใต้ไปทั่วลิเบีย  อียิปต์  และเคนยา 


เมื่อเดือนเมษายน  1939  หลังสงครามอุบัติขั้นไม่นาน  เขาผนวกเอาดินแดนแอลเบเนียมาเป็นของอิตาลี  มุสโสลินีประกาศถึงการคงสถานะ
ไม่เป็นประเทศคู่สงครามกับประเทศใดในความขัดแย้งที่ใหญ่หลวงขึ้นทุกขณะ  อยู่จนกรทั่งเขาแน่ใจว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายชนะ

10 มิถุนายน ค.ศ. 1940  มุสโสลินีประกาศสงครามกบอังกฤษและฝรั่งเศส 



28 ตุลาคม ค.ศ. 1940  มุสโสลินีโจมตีกรีซ  แต่หลังจากประสบชัยชนะในรยะแรกเริ่มได้ไม่นาน  กองทัพอิตาเลียนก็ถูกการตีโต้
อย่างไม่ระย่อของทหารกรีก  ถูกบีบให้ถอยร่นจนต้องสูญเสียพี้นที่ครอบครองในแอลเบเนียถึงหนึ่งในสี่  จนกระทั่งฮิทเลอร์ถูกบังคับ
ให้ต้องกระโดดเข้าช่วยเขาโดยการโจมตีกรีซ  เดือนมิถุนายน ค.ศ.1941  มุสโสลินีประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต

ปี ค.ศ. 1943 หลังความปราชัยของอักษะในแอฟริกาเหนือ  นานาอุปสรรคที่แนวรบด้สนตะวันออกและการยกพลขึ้นบกของอังกฤษอเมริกัน
ที่เกาะสีศีลีหรือซิซิลี  เพื่อนร่วมงานคนสำคัญของมุสโสลินี (รวมทั้งเคาน์ท  กาเลอัซโซ  ชีอาโน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศและบุตรเขยของเขา)
หันมาต่อต้านเขาในที่ประชุมสภาใหญ่ฟาสซิสต์ 

เมื่อ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1943  พระเจ้าวิตตอรีโอ เอมานูเอเลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้มุสโสลีนีเข้าเฝ้าและปลดอำนาจอนล้นหลามของผู้เผด็จของเขา 
หลังจากออกจากพระราชวัง  มุสโสลินีถูกจับกุมโดยทันที  เขาถูกส่งตัวไปยังกราน  สัสโสที่พักตากอากาศบนภูเขาในภาคกลางของอิตาลี 
อันเป็นการโดดเดี่ยวและตัดขาดจากโลกภายนอกโดยสิ้นเชิง

ตำแหน่งของมุสโสลินีถูกแทนที่โดยจอมพลแห่งอิตาลี  ปีเอโตรบาโดกลีโอ (28 กันยายน 1871 – 1 พฤศจิกายน 1956 ; ทหารและนักการเมืองคนสำคัญ)
ผู้ประกาศตนอย่างเฉียบพลันด้วยสุนทรพจน์ที่มีชท่อเสียง

"สงครามดำเนินต่อไปโดยเคียงข้างพันธมิตรเยอรมนีของเรา"

แต่ทว่าเป็นการดำเนินการเจรจาเพื่อการยอมจำนนแทน  โดย 45 วันถัดมา (8 กันยายน) บาโดกลีโอได้ลงนามเพื่อการสงบศึกกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร 
บาโดกลีโอ เอมานูเอลที่ 3 กลัวการแก้แค้นของเยอนรมัน  จึงพากันหลบหนีออกจากกรุงโรม  ปล่อยให้กองทัพอิตาเลียนทั้งหมดตกอยู่ในภาวะไร้ระเบียบ 
หลายหน่วยถูกตีแตกกระจัดการจายอย่างง่ายดาย  บางหน่วยก็หนีไปตั้งอยู่ในเขตควบคุมของพันธมิตร  มีอยู่เพียงไม่กี่หน่วยที่ตัดสินใจ
เริ่มทำสงครามกู้ชาติต่อต้านนาซี  และอีกไม่กี่หน่วยไม่ยอมเปลี่ยนข้าง  และยังคงเป็นพันธมิตรที่เหนียวมั่นกับกองทัพเยอรมัน

ไม่กี่วันต่อมา   มีการช่วยชีวิตซึ่งวางแผนลักพาตัวโดยพลเอกคูร์ท  ฌทูเดินท์ (12 พฤษภาคม 1890 - 1 กรกฎาคม 1978  แม่ทัพแห่งกองทัพอากาศเยอรมนีนาซี 
ผู้นำการต่อสู้ทางภาคอากาศที่แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่ 1 และผู้บัญชาการทหารพลร่มระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 )
และปฏิบัติการโดยออทโท  สคอร์เซนี   มุสโสลินีจึงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐสังคมแห่งอิตาลี  รัฐบาลฟาสซิสต์ในตอนเหนือของอิตาลี
ในห้วงนี้เข้าพำนักที่การ์ญาโน  แต่ก็ตกอยู่ในสภาพของหุ่นเชิดภายใต้การคุ้มครองของบรรดาผู้ปลอดปล่อยชาติของเขาเท่านั้น 
ใน "สาธารณรัฐสาเลาะ" นี้ มุสโสลินีหวนกลับไปสู่ความคิดดั่งเดิมของเขาเกี่ยวกับสังคมนิยมและการรวมหมู่ เขายังประหารชีวิตผู้นำฟาสซิสต์ที่ทิ้งเขาไป 
รวมทั้งบุตรเขยของเขาเอง


ภริยาลับชาวยิวของมุสโสลินี



มาร์เกรีตา  สาร์ฟัตตี ( Margher  Sarfatti ) ลูกสาวของทนายความชาวยิวที่มั่งคั่ง  นางถูกยึดมั่นในความคิดสังคมนิยม  และหนีจากบ้านบิดามารดา
ตั้งแต่อายุ 18 ปี  โดยการแต่งงานกับเชสาเร  สาร์ฟัตตี  ทนายความจากปาดูอา ซึ่งอายุแก่กว่านางมาก ปี 1902 ทั้งคู่ได้ย้ายไปอยู่ที่มิแลนหรือมีลาโน   
ปี 1911  สาร์ฟัตตีเริ่มมีความสัมพันธ์แนวชู้สาวกับมุสโสลินี  จากสภานะของปัญญาชนที่มีการศึกษาสูงและมีความคิดอันปฏิวัติอันชัดเจน
นางมีความสำคัญอันโดดเด่นต่อความรุ่งเรืองของฟาสซิสต์อิตาลี  โดยเป็นผู้สนับสนุนและเพิ่มความคิดและนโยบายของมุสโสลินีหลายประการ 
ปี 1938 สาร์ฟัตตีทิ้งอิตาลีฟาสซิสต์ไปอยู่อาร์เจนตินาและกลับมาอีกครั้งในปี 1947 หลังจากอิตาลีพ่ายสงคราม


ความจริงแล้วมุสโสลินีและสาร์ฟัตตีต่างก็เป็นคนถือคติเชื้อชาติต่อชาวแอฟริกันและชาวเอเชีย  ดังนั้นคนทั้งสองจึงไม่มีอะไรติดข้องอยู่ภายในฟาสซิสต์ของอิตาลี 
โดยเฉพาะการต่อต้านชาวยิว  อย่างไรก็ตาม  เมื่ออิตาลีฟาสซิสต์พิชิตแอเบอสีเนีย(เอธิโอเปีย)  ก็ถูกสันนิบาตชาติ  ตำหนิอย่างรุนแรง  แต่มุสโสลินี
ได้รับการบรรเทาและการสนับสนุนจากอาดอล์ฟ ฮิทเลอร์และประเทศยุโรปที่ต่อต้านชาวยิว  เพื่อประจบสอพลอต่อฮิทเลอร์  กฎหมายเชื้อชาติทั้งหลาย
ของอิตาลีจึงผ่านอย่างรวดเร็วในปี 1938  สาร์ฟัตตีจึงจำเป็นต้องหย่าร้างห่างเตียงของมุสโสลินีในที่สุด

มตกรรม



บ่ายวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1945 ใกล้หมู่บ้านดอนโก (ทะเลสาบโกมา) ก่อนที่กองทัพพันธมิตรเคลื่อนทัพถึงมีลาโน  ขณะที่พวกเขามุ่งหน้าสู่กีอาเวนนา
เพื่อขึ้นเครื่องบินหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์  มุสโสลีนีกับภริยาลับของเขา กลาเรตตา หรือแคลรา  เปทัชชี  ถูกพลพรรคคอมมิวนิสต์อิตาเลียนจับตัวได้
หลังจากความพยายามที่ล้มเหลวหลายครั้งในการนำตัวไปยังโกโม  พวกเขาจึงถูกนำตัวไปยังเมซเซกรา  พวกเขาใช้เวลาคืนสุดท้ายในบ้านของตระกูลเด  มารีอา
วันต่อมา 28 เมษายน  มุสโสลินีกับภริยาลับของเขาถูกประหารชีวิตพร้อมกับอีกสิบห้าคน  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ
สาธารณรัฐสังคมอิตาเลียน



วันถัดมา  สาธารณะต่างพบกับร่างของมุสโสลินีกับภริยาลับถูกแขวนด้วยการมัดเท้า  ให้ศีรษะห้อยลงบนที่แขวนเนื้อสัตว์ที่จัตุรัสโลเรโตในเมืองมิแลนหรือมีลาโน 
พร้อมกับพลพรรคฟาสซิสต์คนอื่นๆ โดยเฉพาะรัฐมนตรีคนสำคัญในรัฐบาลของเขา  เพื่อแสดงให้ชาวอาณาประชาราษฎร์เห็นว่าจอมเผด็จผู้นี้เสียชีวิตแล้ว 
การณ์นี้ยังเป็นทั้งการปราบมิให้บรรดาพลพรรคฟาสซิสต์ต่อสู้อีกต่อไป  และเป็นปฏิบัติการแก้แค้นต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของฝ่ายอักษะที่แขวนคอ
พลพรรคกู้ชาติจำนวนมากในสถานที่เดียวกันนี้
 


credit :  Chuta Singhakham
friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
นวดกระปู๋ นวดกระปู๋เชียงใหม่ นวดกระษัย ไซด์ไลน์ Sideline นวดน้ำมัน นวดอโรมา นวดแผนโบราณ อาบอบนวด ออน การบ้าน เรื่องเสียว ลายแทง หนังโป๊ AV เชียงใหม่

โรคพิษสตรีเรื้อรัง

friendly
0
funny
0
informative
0
agree
0
disagree
0
pwnt
0
like
0
dislike
0
late
0
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions
No reactions